ก้าวสู่ปีที่ 2 'CSR 4+1 โครงการพัฒน์' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

ก้าวสู่ปีที่ 2 'CSR 4+1 โครงการพัฒน์' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

เดินทางเข้าสู่ปีที่ 2 ของโครงการพัฒน์ (PLUS) ภายใต้มูลนิธิดั่งพ่อสอน ที่ได้ร่วมกับภาคธุรกิจ SMEs กว่า 50 ธุรกิจ รวมพลังสานต่อโครงการ “CSR 4+1” ปีที่ 2 เพื่อช่วยเหลือสังคม แก้ไขปัญหาด้านการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก

ตั้งแต่ปี 2565 ที่ผ่านมากลุ่ม SME กว่า 50 บริษัท ได้ร่วมกลุ่มในโครงการพัฒน์ โครงการ CSR 4+1 ดำเนินกิจกรรมใน 5 โครงการหลัก ได้แก่ 1.โครงการก่อร่างสร้างครัว มุ่งแก้ปัญหาอาหารกลางวันเด็ก 2.โครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว  แก้ปัญหาการขาดแคลนเสื้อผ้าและเครื่องแบบนักเรียน 3.โครงการคบเด็กสร้างโรงพยาบาล แก้ปัญหาสุขภาพของนักเรียน 4.โครงการปลูกโรงเรียนตามใจผู้อยู่ เพื่อแก้ไขและปรับสภาวะแวดล้อมให้มีความปลอดภัย 5.โครงการอยู่ดีมีครู แก้ปัญหาการขาดแคลนครู

ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมาทั้ง 5 โครงการได้มีการลงพื้นที่ ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล และรวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยน้อมนําหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่มาใช้เป็นแนวทางต้นแบบ

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

"กนกภรณ์ มิตสุโมโต้" ผู้อํานวยการโครงการพัฒน์  เล่าว่าหลายคนอาจจะสงสัยว่าโครงการ CSR 4+1 ทำไมต้อง 4+1 ซึ่ง 4 ในที่นี้หมายถึงปัจจัย 4 ที่เด็กควรได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ อาหาร เสื้อผ้า สุขภาพ โรงเรียนที่ปลอดภัย และ 1 ในที่นี้ คือ ครู อีกทั้งจุดแข็งของโครงการดังกล่าว เป็นการรวมตัวของSME กว่า 50 ธุรกิจที่ต้องการช่วยเหลือ พัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็ก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"อยู่ดีมีครู"ไอเดียผู้ประกอบการ SME แก้ปัญหาขาดแคลนครูด้วยพลังชุมชน

4+1 แก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กพิเศษ พึ่งพาตนเองได้

กว่า 50 ผู้ประกอบการรุ่นใหม่มุ่งแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก

"ตัดเสื้อน้องแต่พอตัว" แก้ปมเด็กไทยขาดชุดนักเรียน ลดความเหลื่อมล้ำ

 

SME กว่า 50 ธุรกิจ พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตเด็ก

“ตอนนี้แม้จะมีหลายหน่วยงาน และภาครัฐให้การสนับสนุนทางการศึกษาในหลายๆ ด้าน แต่เรื่องของการศึกษามีความสำคัญอย่างมาก  เพราะถ้าเด็กได้รับการศึกษาที่ดี เขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ และธุรกิจ SME ถึงจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมกลุ่มกันก็สามารถสร้างสรรค์ ขับเคลื่อนพัฒนาเด็กได้ และโรงเรียนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน หากไม่ได้รับการพัฒนา หรือทำให้พวกเขาอยู่ได้อย่างยั่งยืนอาจถูกควบรวมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่งผลให้เด็กกลุ่มหนึ่งไม่ได้เรียนหนังสือ หากเขาไม่ได้รับโอกาสทางการศึกษาย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของพวกเขา” น.ส.กนกภรณ์ กล่าว

'การให้' ไม่จำเป็นต้องรวย หรือมีเงินมหาศาลถึงจะให้ได้ เพียงแต่รู้จักการแบ่งปัน มีจิตสาธารณะ อยากทำสิ่งดีๆ มอบสิ่งของ หรือช่วยเหลือแก่ผู้อื่น  ยิ่งเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสเด็กคนหนึ่งให้เติบโตขึ้นได้ถือเป็นการให้ที่ดีที่สุด

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

“เราคิดว่าการที่จะทำอะไรก็ตาม ต้องมีการให้ การเสียสละก่อน ถ้าเรามีเป้ามายในการทำอะไรสักอย่าง ต้องมีใจที่จะทำและพร้อมเดินไปด้วยกัน ซึ่งโครงการ CSR 4+1 เป็นการรวมกลุ่มของนักธุรกิจ 60-70 คน ที่มีจิตสาธารณะในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่เด็กในโรงเรียนขนาดเล็ก ดังนั้น หากนักธุรกิจขนาดเล็ก หรือผู้ประกอบการสนใจอยากเข้าร่วมโครงการพัฒน์ ในโครงการCSR 4+1  สามารถเข้ามาร่วมในหลักสูตรได้” น.ส.กนกภรณ์ กล่าว

 

CSR 4+1 แก้ปัญหาปัจจัย 4 ดูแลครู ช่วยเด็กรร.ขนาดเล็ก

ทั้งนี้ โครงการ CSR 4+1 แต่ละโครงการได้ดําเนินการประสาน กับโรงเรียนต้นแบบ เพื่อทดลองใช้โมเดลการแก้ไขปัญหาด้วยรูปแบบของตนเอง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากโรงเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มาร่วมด้วยช่วยกัน จนเกิดผลเป็นรูปธรรม  ซึ่งแต่ละโครงการจะมีรูปแบบโมเดลการแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน แต่จะอยู่ภายใต้กรอบความคิดเดียวกันคือ 'สืบสาน สร้างสรรค์ และส่งเสริม'

โดยจะเป็นการสืบสานพระราชดํารัสของใน หลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแรงบันดาลใจในการ สร้างสรรค์ โมเดลเพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมทั้ง ส่งเสริม ให้กําลังใจบุคคลที่เสียสละใน ด้านต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของแต่ละโครงการ ซึ่งการดําเนินโครงการในปีที่ 2 นี้ แต่ละโครงการยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง และมีการดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากขึ้น เพื่อจะทําให้เกิดความยั่งยืน และยังเตรียมขยายผลไปสู่โรงเรียนขนาดเล็ก เพิ่มขึ้นอีกด้วย

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

ชวนรร.ทั่วประเทศ เข้าร่วมเวทีก่อร่างสร้างครัว Award

“วรัสชญาน์ จรัสธรรมภัสร์” แห่งแบรนด์ P'Liv คณะทำงานก่อร่างสร้างครัว  กล่าวว่าจากการดำเนินงานโครงการในปี2565 ที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการลงพื้นที่ ศึกษาหาข้อมูลถึงปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก และได้มีการนำโมเดลปลูก ปรุง แปร แล้วเปลี่ยน ซึ่งเป็นโมเดลที่ได้มาจากแรงบันดาลใจของโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนวัดสมานมิตรมงคล จังหวัดสระบุรี ทดลองสร้างแปลง ปลูกแล้วเปลี่ยน... ขึ้นภายในโรงเรียน โดยความร่วมมือของเด็กนักเรียน ครู คนในชุมชน นักธุรกิจ และภาคส่วนอื่น ๆ ที่ให้การ สนับสนุน และมีการดูแลแปลงปลูกพืชร่วมกัน

ต่อจากนั้นทีมงานได้มีการลงพื้นที่โรงเรียนเพื่อทํากิจกรรม ปรุงแล้วเปลี่ยน ซึ่งเป็นการนําผลผลิตในแปลงปลูกมาสร้างสรรค์เป็นเมนูอาหารกลางวันที่มีสารอาหารครบ5หมู่ใช้วัตถุดิบที่หลากหลายปรุงโดยแม่ครัว ของโรงเรียน ซึ่งเป็นครู และยังได้รับการสนับสนุนจากเชฟเริญ (จําเริญ สุธรรมโกศล) มาร่วมคิดค้นสูตรอาหารกลางวันที่เหมาะสมกับเด็ก ๆ เพื่อมอบให้โรงเรียนได้นําไปใช้

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

กิจกรรมถัดมาคือ แปรแล้วเปลี่ยน.... โดยนําวัตถุดิบท้องถิ่นในชุมชน หรือในแปลงผักของโรงเรียน มาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ให้กับโรงเรียน โดยการสนับสนุนจากดีไซเนอร์ในการออกแบบแพ็กเกจและสร้างแบรนด์ให้กับโรงเรียน นั่นคือแบรนด์ 'สมาน มิตร' พร้อมทั้งการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างคอนเทนต์ให้แก่บุคลากรของโรงเรียน โดยทีมงานที่มีประสบการณ์ เพื่อจะได้นํา ความรู้ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์สินค้าของโรงเรียนด้วย

“ในปีที่ 2 นี้ จะให้ความสำคัญในเรื่องของการปรุง แปร แล้วเปลี่ยน โดยสร้างเวทีก่อร่างสร้างครัว Award เพื่อให้คนรู้จักโครงการก่อร่างสร้างครัว มากขึ้น และเป็นการสร้างมาตรฐานรางวัลขึ้นมาให้กำลังใจ ส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์จากสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น เพราะหากทำให้ทุกคนรู้จัก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน ผู้ประกอบการ สตาร์ทอัพ  ผู้เข้ามาสนับสนุน และชุมชนก็จะเข้ามาสนับสนุนและเล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำอาหารกลางวันที่ได้มาตรฐาน มีโภชนาการที่เหมาะ และขยายโมเดลปลูก ปรุง แปรได้อย่างครบวงจรต่อไป”วรัสชญาน์ กล่าว

ทั้งนี้ โครงการก่อร่างสร้างครัว ปี 2 จะแจกอาหารกลางวันให้แก่ 15 โรงเรียนทั่วประเทศ และมอบทุนสนับสนุน1,500 บาท แก่โรงเรียน 100 แห่ง ที่พร้อมเข้าร่วมในเวทีก่อร่างสร้างครัว Award เพื่อจัดทำคลิปวิดีโออาหารกลางวัน ก่อนจะมีการคัดสรรเลือกการจัดทำอาหารกลางวันที่ตรงตามเกณฑ์มากที่สุด 18 โรงเรียน และจะทำการสนับสนุนโรงเรียนเข้าสู่กระบวนการก่อร่างสร้างครัว จัดทำโมเด ปลูก ปรุง แปรแล้วเปลี่ยน นำไปสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบแก่โรงเรียนอื่นๆ

ขยายผลสหกรณ์ออมชุด เด็กไทยได้ใส่ชุดนักเรียน

นอกจากนั้น ยังมี 'โครงการตัดเสื้อน้องแต่พอตัว' ซึ่งเป็นโครงการที่นํารูปแบบสหกรณ์มาเป็นต้นแบบในการสร้างสรรค์ 'สหกรณ์ออมชุด' ภายใต้คอนเซ็ปต์ การจัดสรรทรัพยากรร่วมกันให้ ‘พอดี’ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชุดนักเรียนอย่างยั่งยืน โดยใช้รูปแบบการยืม–คืนชุดนักเรียน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมสินค้า โรงเรียน โดยร่วมกับแพลตฟอร์ม อีคอมเมิร์ซ สร้างช่องทางการจัดจําหน่าย และสนับสนุนองค์ความรู้ให้แก่โรงเรียน

'คบเด็กสร้างโรงพยาบาล'ส่งเสริมสุขภาพเด็ก

'โครงการคบเด็กสร้างโรงพยาบาล' เป็นโครงการที่สืบสานแนวคิดจากโครงการโรงเรียนคุณธรรม โดยมุ่งหวังปลูกฝังเยาวชนให้เห็นถึงความสําคัญของ วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และส่งเสริมให้ใช้ความสามารถของตนเองในการช่วยเหลือสังคม

โดยในปีนี้มีเป้าหมายในการทํากิจกรรม โรงเรียนสานสุข กับโรงเรียน ต้นแบบอย่างต่อเนื่อง ด้วยการเป็นพี่เลี้ยงให้โรงเรียนสามารถทํางานต่อได้ด้วยตัวเอง และขยายโครงการออกสู่ชุมชน โดยโรงเรียน จะเข้าไปช่วยสนับสนุนโรงพยาบาลท่าวุ้งในการจัดซื้อเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) มูลค่า 150,000 บาท และช่วยระดมทุนต่างๆ

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

ตั้งร้าน 'ช่างคิด ช่างทำ' สร้างโรงเรียนต้นแบบ

'โครงการปลูกโรงเรียนตามใจผู้อยู่' ได้นำแนวคิดจาก โครงการพระดาบส มาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์โมเดล 'ช่างคิดส์ ช่างทํา' เพื่อสร้างให้เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับงานช่างในพื้นที่ชุนชน และต่อยอดไปเป็นอาชีพ

โดยในปีที่ 2 ทางโครงการฯ จะจัดตั้งร้าน 'ช่างคิดส์ ช่างทํา' ในโรงเรียนต้นแบบ คือ โรงเรียนบ้าน ปง (วัฒนาวิทยาคาร) จังหวัดแพร่ ให้แล้วเสร็จ โดยจะมีการสร้างสินค้าภายใต้แบรนด์ 'คิดส์บวก' เพื่อจัดจําหน่าย หาทุนมา สนับสนุนการทํางาน และขยายผลกับ โรงเรียนอื่น ๆ

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

หนุนสินค้า 100 ชิ้น ช่วยครูได้ 1 คน

'โครงการอยู่ดีมีครู' แรงบันดาลใจของการดําเนินโครงการนี้มาจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดําริ จังหวัด สกลนคร ที่มุ่งหวังให้ชาวบ้านได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และกลายมาเป็นการสร้างสรรค์โมเดล 'ศิลป์ สาน สร้าง' ที่ นําเอาภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่นมาออกแบบใหม่ร่วมกับดีไซเนอร์ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีดีไซน์ และตอบโจทย์ ผู้บริโภคยุคใหม่มากยิ่งขึ้น และนํารายได้จากการจําหน่ายผลิตภัณฑ์มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูหรือบุคลากร ทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก

ก้าวสู่ปีที่ 2 \'CSR 4+1 โครงการพัฒน์\' รวมพลัง SME ส่งต่อโอกาสเด็กรร.ขนาดเล็ก

นอกจากนี้ยังมีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อนําไปจําหน่ายและนํารายได้ไปใช้สนับสนุนการจดัจ้างครูผ่านการสร้างแบรนด์X-KRUSIVEและกลยุทธ์สินค้าจํากัดจํานวน (Limited Product) ซึ่งได้มีการออกสินค้า Collection แรกเป็น กระเป๋ากระจูด ที่ผลิตจากวัสดุท้องถิ่น และมีจํานวนขายจํากัด เพียง 100 ชิ้นเท่านั้น ซึ่งเป้าหมายของการผลิตสินค้า 1 Collection นั้น จะสามารถสร้างรายได้เพื่อนําไปใช้ในว่าจ้างครูได้ จํานวน 1 คน เป็นระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งจะส่งเสริมครูตัวอย่างที่ อุทิศตนในการดูแลเด็กเล็กและผู้นําต้นแบบที่ส่งเสริมการรวมกลุ่มคนในชุมชนเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้วก่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชน