คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ'เชฟ' ผลักดันอาหารสู่ 'Soft Power'

คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ'เชฟ' ผลักดันอาหารสู่ 'Soft Power'

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มธบ. จัดเวิร์คช้อป 'A day with Chef Kapom @DPU' ส่งเสริมการเรียนรู้สู่การปฎิบัติจริง โลกของการทำงานจริง พร้อมผลักดันอาชีพ 'เชฟ-อาหาร'สู่'Soft Power' เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) ได้จัดกิจกรรม 'A day with Chef Kapom @DPU' เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2566 ที่ Chef Labs มธบ.  โดยได้เชิญ 'เชฟกะปอม' แชมป์จากรายการ Master Chef Thailand Season 2 และ  Youtuber ชื่อดังที่มีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคนในเวลาเพียง 11 เดือน สาธิตการทำอาหารจากพืชผักสวนครัวที่นักศึกษา คณะนิเทศศาสตร์ มธบ.ได้ปลูกไว้  เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ต่อยอดจากความรู้วิชาการด้านการประกอบอาหารที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้ขั้นตอนและเทคนิคการทำอาหารจากผู้มีประสบการณ์จริง

นางวสุกานต์ วิศาลสวัสดิ์ คณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่ามหาวิทยาลัยและคณะให้ความสำคัญในการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์จริง สถานที่จริง และผู้ประกอบการจริง ซึ่งการจัดกิจกรรม A day with Chef Kapom @DPU

คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ\'เชฟ\' ผลักดันอาหารสู่ \'Soft Power\'

เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะทำให้นักศึกษาหลักสูตร สาขาวิชาการโรงแรมและธุรกิจอาหาร ได้ลงมือปฏิบัติจริงกับเชฟดัง เชฟผู้เชี่ยวชาญ เพราะการได้ลงมือปฏิบัติพร้อมกัน ได้เห็นและได้รู้มากขึ้น ที่สำคัญการได้ชิมอาหาร ถือเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ เนื่องจากการทำอาหาร นอกจากการรู้สูตรทำอาหาร วิธีทำอาหารที่ถูกต้องแล้ว ต้องเข้าใจและรู้ถึงรสชาติ 'อร่อย'ถูกปากผู้บริโภคด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

คณะท่องเที่ยวฯ มธบ.เร่งปั้น นศ.ป้อนธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมหลังขาดแคลน

‘วิทยาลัยนานาชาติ’ DPU พร้อมก้าวสู่นานาประเทศ ตั้งเป้า Education and Travel

‘GenNX Model’ กลยุทธ์จ้างงานเน้น‘ทักษะ’ แก้วิกฤติขาดคนไอที

ไม่ตกเทรนด์! 'งานรุ่ง- งานร่วง' อาชีพไหนจะรอดในปี 2023

 

เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ ลงมือปฎิบัติจริง 

“เชฟกะปอม ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง และมีการทำสื่อออนไลน์ เป็นที่รู้จักของคนจำนวนกว่าล้านคน รวมถึงมีการทำอาหารจากการใช้เครื่องปรุง วัตถุดิบในท้องถิ่นของไทย ซึ่งจะแสดงให้นักศึกษาได้เห็นอย่างชัดเจนว่า วัตถุดิบในชุมชนท้องถิ่น สามารถนำมาประกอบอาหารให้มีรสชาติที่หลากหลายและอร่อยถูกใจผู้บริโภค ขณะเดียวกันทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพนี้ เป็นการจุดประกายความฝัน และความหวังของนักศึกษาในการเป็นเชฟที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพได้ เพราะอย่างเชฟกะปอม ก็เริ่มต้นจากงานด้านอื่น แต่ด้วยความรัก ความพยายาม ใฝ่รู้ ตั้งใจ ทำให้เขาประสบความสำเร็จมีชื่อเสียง ซึ่งนักศึกษาทุกคนมีโอกาสเป็นได้เหมือนกับเชฟกะปอม” คณบดีคณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. กล่าว

ทั้งนี้  หลังจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เรื่องของอาหารการกิน และการบริการด้านอาหาร แตกต่างไปจากเดิม มี platform ให้สั่งซื้ออาหารออนไลน์มากขึ้น ผู้คนคุ้นเคยกับการสั่งอาหารกล่องมากขึ้น และไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน สามารถขายออนไลน์ได้ นอกจากนี้ยังมีอาชีพ Youtuber เกี่ยวกับอาหาร Food Design ฉะนั้น ธุรกิจอาหาร และเชฟ จึงเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่มีการปรับตัวและอยู่รอด

คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ\'เชฟ\' ผลักดันอาหารสู่ \'Soft Power\'

นางวสุกานต์ กล่าวต่อว่า อาหาร เป็นซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ ที่จะนำความเป็นไทยไปสู่การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ การพัฒนาอาหารให้มีเสน่ห์ น่าทาน ถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ เป็นเรื่องที่นักศึกษาต้องรู้ ต้องเข้าใจ อย่าง อาหารอร่อย ซึ่งต้องเข้าใจว่าลูกค้าอร่อยนั้นเป็นอย่างไร และทำอย่างไรให้อาหารอร่อย ต้องสนใจความต้องการของลูกค้า รวมถึงต้องสามารถสร้างจุดขาย การตลาด สร้างคอนเทนต์เพื่อนำเสนออาหารร่วมด้วย

 

Service mind หลักการบริการที่เชฟต้องมี

 

“การที่นักศึกษาได้สัมผัสกับเชฟเก่ง ผู้เชี่ยวชาญ ได้เห็นของจริง เรียนรู้จากประสบการณ์จริง และได้เรียนรู้ วิธีการทำอาหารที่ถูกต้อง อร่อย สะอาด รวดเร็วนั้นต้องทำอย่างไร ซึ่งเชฟกะปอมมีจุดแข็งในการทำอาหารได้เร็วมาก นักศึกษาได้สัมผัสกับผู้ที่ประความสำเร็จก็จะเกิดแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้เกิดการฝึกฝนพัฒนาตนเอง เมื่อทำซ้ำๆ ด้วยใจรักก็จะเกิดความชำนาญ และทำอาหารได้ดี อีกทั้งการร่วมทำ Work shop จะทำให้นักศึกษาเกิดความสนุก มีความสุขในการเรียน และการเกิดความกระตือรือร้นสนใจการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม เป็นคณะที่ต้องเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติให้นักศึกษามีความสุข อยากเรียน อยากรู้ และมีจิตใจบริการ Service mindที่ดี อยากบริการอยากทำอาหาร ทำอาหารให้มีความอร่อยๆ และรวดเร็วให้แก่ลูกค้าได้ทาน”นางวสุกานต์ กล่าว

นอกจากนั้น หลังจากนี้ ทางคณะจะมีการจัดกิจกรรมอีก ให้ทั้งนักศึกษาหลักสูตรการท่องเที่ยวและธุรกิจอีเวนต์ และสาขาวิชาการโรงแรมและธุรกิจอาหารได้เข้าร่วม เพื่อให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง เช่น ทดลองเป็นไกด์ ต้องดูแลลูกทัวร์จริงๆ เพื่อให้ได้รู้จักการบริการ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เข้าสู่โลกของการทำงานจริงๆ ซึ่งล้วนแต่ต้องใช้ Service mind

คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ\'เชฟ\' ผลักดันอาหารสู่ \'Soft Power\'

เชฟกะปอม นายอิศรา ดรลีเคน แชมป์จากรายการ Master Chef Thailand Season 2 กล่าวว่าปกติแล้วไม่ค่อยได้รับงานสาธิตในการทำอาหารให้แก่มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เนื่องจากงานประจำของตนเองก็มีจำนวนมาก ซึ่งผู้จัดการได้แนะนำให้นำความรู้ที่มีมาแบ่งปันให้แก่ผู้อื่น และการพบเจอผู้อื่น คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่จะทำให้ได้เห็นมุมมองความคิด และเปิดโลกของตนเองมากขึ้น เมื่อทางคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม มธบ.ติดต่อมา จึงตัดสินใจมาทำการสาธิตการทำอาหารให้แก่น้อง ๆ นักศึกษา

“การได้มาลงพื้นที่ปฎิบัติจริง สาธิตการทำอาหารให้แก่น้อง ๆ ทำให้ได้เห็นมุมมองความคิด วิธีทำอาหาร ความพยายามและวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ น้อง ๆ เป็นเชฟที่มีความคิด กล้าสอบถาม ยอมรับความคิดเห็น ข้อเสนอแนะต่างๆ และกล้าที่จะพูด ทำให้มุมมองของพวกเขาและผมเปลี่ยนแปลงไป น้อง ๆ ขยัน อดทน และพร้อมเรียนรู้ พยายามค้นหาวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งเหมาะกับอาชีพเชฟ ที่ในปัจจุบันไม่ใช่เพียงทำอาหาร แต่ต้องนำวัตถุดิบที่มีมาใช้ให้มีคุณค่า และปรุงอาหารที่ถูกใจถูกปากผู้บริโภค” เชฟกะปอม กล่าว

คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ\'เชฟ\' ผลักดันอาหารสู่ \'Soft Power\' คณะการท่องเที่ยวฯ มธบ. ปั้นอาชีพ\'เชฟ\' ผลักดันอาหารสู่ \'Soft Power\'

อย่างไรก็ตาม เรื่องของอาหาร ใครๆ ก็สามารถทำได้เพียงแต่การทำอย่างถูกวิธี รู้จักเลือก ใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม และทำอาหารให้อร่อย รวดเร็ว สะอาด ถูกปากผู้บริโภค การฝึกฝน ทำบ่อยๆ ซ้ำๆ มีความจำเป็นอย่างมาก ยิ่งเมื่อได้มาเรียนรู้หลักการ ได้มาลองปฏิบัติจริงโดยมีประสบการณ์จากเชฟตัวจริง เชฟที่ประสบความสำเร็จ เสมือนเป็นช่องทางลัดที่ทำให้ทุกคนเป็นเชฟคุณภาพ เชฟที่ใครๆ ก็ต้องการได้มากกว่าการไปลองผิดลองถูกด้วยตนเอง