เปิดท่าทีรัฐบาล ปมนักเรียนหญิง ป.6 ถูกรุมทำร้าย ไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิป

เปิดท่าทีรัฐบาล ปมนักเรียนหญิง ป.6 ถูกรุมทำร้าย ไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิป

เปิดท่าทีรัฐบาล ปมเด็กนักเรียนหญิง ป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกกลุ่มนักเรียนหญิงรุมทำร้ายร่างกายถึงห้องเรียน เนื่องจากไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิปในห้องน้ำ พร้อมแนะนำขั้นตอนดำเนินคดี ความรุนแรงในสถานศึกษา

เปิดท่าทีรัฐบาล ปม"นักเรียนหญิง ป.6 ถูกรุมทำร้าย" ไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิป โดย น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากกรณีเด็กนักเรียนหญิงชั้น ป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่งใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกกลุ่มนักเรียนหญิงรุมทำร้ายร่างกายถึงห้องเรียน เนื่องจากไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิปในห้องน้ำนั้น 

ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในส่วนของ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเอง ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจต่อเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเยาวชน 
 

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

โดย มอบหมายให้สำนักงานยุติธรรม จ.นครศรีธรรมราช ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ และได้แจ้งสิทธิและหลักเกณฑ์ในการยื่นขอรับค่าตอบแทนตาม พ.ร.บ.ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 

และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 เพื่อประสานแจ้งสิทธิและหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้กับผู้เสียหายทราบด้วยอีกทางหนึ่ง และให้ช่วยดำเนินการในส่วนของเอกสารทางคดีที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ผู้เสียหายต้องการจะยื่นขอรับความช่วยเหลือ

 

เปิดท่าทีรัฐบาล ปมนักเรียนหญิง ป.6 ถูกรุมทำร้าย ไม่ยอมให้แอบถ่ายคลิป

เปิดข้อแนะนำขั้นตอนดำเนินคดี กรณีความรุนแรงในสถานศึกษา ปมนักเรียนหญิง ป.6 ถูกรุมทำร้ายถึงห้องเรียน

น.ส.เกณิกา กล่าวต่อว่า กระทรวงยุติธรรม ยังได้ติดต่อไปถึงผู้ปกครองของผู้เสียหาย เพื่อสอบถามเหตุการณ์และให้กำลังใจแก่ครอบครัวของผู้เสียหาย พร้อมทั้งได้ให้คำปรึกษากฎหมายเกี่ยวกับขั้นตอนดำเนินคดี 

แนะนำช่องทางในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ซึ่งผู้เสียหายสามารถเรียกร้องให้คู่กรณีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.44/1

“ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ ผู้เสียหายซึ่งมีสิทธิที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน เพราะเหตุที่ตนได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาของจำเลย ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญาขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนก็ได้” 

และหากไม่ได้ดำเนินการเรียกค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.44/1 ก็สามารถฟ้องคดีแพ่งได้ภายในอายุความ 1 ปี
 
ทั้งนี้ หากกรณีผู้เสียหายไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ด้วยตนเอง เจ้าหน้าที่สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แนะนำการจัดเตรียมเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับความช่วยเหลือจากพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรมในกรณีขอค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลในการฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวด้วย

 

อ้างอิง : รัฐบาลไทย