เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม เช็กที่นี่อัปเดตโอนเงิน
ตรวจสอบ เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม เช็กที่นี่อัปเดตโอนเงินวันไหนบ้าง หาคำตอบให้ กรณีคำนวณเงินชราภาพ เช็คเงินชราภาพประกันสังคม
ความคืบหน้ากรณี เงินบำนาญชราภาพ ประกันสังคม อัปเดตจาก นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งถึงการดำเนินงานพัฒนาระบบการจ่ายประโยชน์ทดแทนบำนาญชราภาพ ว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้เปลี่ยนแปลงระบบการจ่ายประโยชน์ทดแทนบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตน ได้รับสิทธิได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
จากเดิม โอนเงินให้ผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพในเดือนถัดไป เปลี่ยนเป็นโอนเงินของเดือนที่ได้รับสิทธิ ในวันที่ 25 ของทุกเดือน แต่หากวันที่ 25 ตรงกับวันหยุดราชการ สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินให้ในวันทำการก่อนวันหยุดราชการ “แบบจ่ายเดือนตรงเดือน”
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2566 เป็นต้นไป สำหรับ ผู้ที่มีสิทธิรับบำนาญชราภาพเดิม จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในวันที่ 23 มิถุนายน 2566 เป็นจำนวน 2 เดือน คือ สิทธิของเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2566
สำหรับผู้มีสิทธิรับบำนาญชราภาพรายใหม่ที่ได้รับการอนุมัติภายในวันที่ 4 ของเดือน จะได้รับสิทธิในงวดเดือนนั้น แต่หากมีการอนุมัติหลังวันที่ 4 ของเดือน จะได้รับสิทธิในเดือนถัดไปรวมงวดเดือนปัจจุบันอีกด้วย
- เงินบํานาญประกันสังคม ได้เท่าไหร่
เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินที่สำนักงานประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยมีเงื่อนไขการเกิดสิทธิ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ผู้ประกันตนจะได้รับบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากส่งเงินสมทบเกิน 180 เดือน จะได้รับบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
ในกรณีผู้มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือน (5 ปี) นับจากเดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ทายาทผู้มีสิทธิจะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนเสียชีวิตคูณด้วยจำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน
- โปรแกรม คำนวณเงินชราภาพ ประกันสังคม มาตรา 33
- กรณีผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายค่าจ้างอยู่ที่ 10,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,000-2,750 บาท
- กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ย 12,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 2,400-3,300 บาท
- กรณีผู้ประกันตนส่งเงินสมทบค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุด 15,000 บาท ส่งเงินสมทบ 15-20 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 3,000-4,125 บาท
- กรณีส่งเงินสมทบ 21-25 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 4,350-5,250 บาท กรณีส่งเงินสมทบ 26-30 ปี เงินบำนาญที่จะได้รับอยู่ที่ 5,475-6,375 บาท
สำหรับ ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพ มาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน ครบอายุ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)
ตัวอย่างที่ 1
20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย = 20 x 13,000 ÷ 100 = 2,600
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 2,600 บาท ไปจนตลอดชีวิต
การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือ นำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้าย รวมกันแล้วหารด้วย 60
ค่าจ้างเฉลี่ย = ผลรวมของค่าจ้าง 60 เดือน จำนวนเดือน (60 เดือน)
กรณีที่จ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีกในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน สำหรับระยะเวลาที่จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือน
เช่น จ่ายเงินสมทบมาได้ 193 เดือน จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 21.5% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย เป็นต้น
ผู้ประกันตนมาตรา 39 ส่งเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ โดยสูตรคำนวณอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานคำนวณ ซึ่งปัจจุบันฐานคำนวณค่าจ้างสูงสุดอยู่ที่ 4,800 บาท เท่ากับจะได้รับเงินบำนาญชราภาพ 960 บาทต่อเดือน ทั้งนี้เมื่อเกิดสิทธิรับบำนาญชราภาพแล้ว ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบต่อเนื่อง ประกันสังคมจะบวกเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุกๆ 12 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนได้รับเงินบำนาญชราภาพเพิ่มขึ้น
เช็คเงินชราภาพประกันสังคม
ผู้ประกันตนมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของการขอรับเงินชราภาพดังกล่าวข้างต้น สามารถยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านระบบ e-Self Service ที่ www.sso.go.th คลิก
- ขอรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชน
- หากมีข้อสงสัยติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ หรือ สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
อ้างอิง สำนักงานประกันสังคม