มิ.ย. 67 เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่? เบิกค่าทำฟันยังไง

มิ.ย. 67 เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่? เบิกค่าทำฟันยังไง

อัปเดต มิถุนายน 2567 “เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง พร้อมวิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์ ที่ใช้สิทธิทันตกรรมได้ฟรี 900 บาทต่อปี

มิถุนายน 2567 อัปเดต “เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมเท่าไหร่? ได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง ทั้งนายจ้างและลูกจ้าง พร้อม"วิธีเบิกค่าทำฟันออนไลน์" ที่ใช้สิทธิทันตกรรมได้ฟรี 900 บาทต่อปี

มิ.ย. 67 เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่? เบิกค่าทำฟันยังไง

จ่ายเงินประกันสังคม เดือนมิถุนายน 2567 ต้องจ่ายเท่าไหร่บ้าง?

ผู้ประกันตน มาตรา 33 (ม.33)

  • พนักงานประจำ พนักงานหรือลูกจ้างทุกระดับตำแหน่งที่สถานประกอบการจ้างให้ทำงานเป็นประจำ และเต็มเวลา ที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 33 ต้องจ่ายเงินสมทบเป็นจำนวน 5% ของรายได้ต่อเดือน คิดจากฐานค่าจ้างต่ำสุด 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ลูกจ้างและนายจ้าง จ่ายฝ่ายละ 5% เงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป ต้องจ่ายเงินสมทบ 750 บาทต่อเดือน

เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน ผู้ที่มีเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท จ่ายเงินสมทบรวมทั้งหมด 9,000 บาท

ผู้ประกันตน มาตรา 39 (ม.39)

  • บุคคลที่เคยทำงานในบริษัทเอกชน เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) มาก่อนแล้ว ได้ลาออกจากบริษัท แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัครใช้สิทธิในมาตรา 39 แทน โดยการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ม.39 นั้นสามารถทำได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม

ผู้ประกันตน ส่งเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39 ด้วยตนเอง เป็นจำนวน 432 บาท ต่อเดือน

เมื่อรวมเงินสมทบประกันสังคมที่จ่ายทั้งหมดตลอด 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 5,184 บาท 

ผู้ประกันตนมาตรา 40

ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และแรงงานนอกระบบ ฟรีแลนซ์ ที่มีอายุ 15 – 65 ปี ซึ่งต้องไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39

เงินสมทบที่ต้องนำส่งมี 3 ทางเลือก

ทางเลือกที่ 1 จ่ายในอัตรา 70 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย

จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 840 บาท

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ

จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 1,200 บาท   

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาทต่อเดือน

  • สิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร

จ่ายครบ 12 เดือน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 3,600 บาท

 

มิ.ย. 67 เงินประกันสังคม ม.33 - ม.39 - ม.40 ต้องจ่ายเท่าไหร่? เบิกค่าทำฟันยังไง

วิธีเบิกค่าทำฟันประกันสังคม ม.33 - ม. 39 ผ่านระบบออนไลน์ เดือนมิถุนายน 2567

  • เข้าสู่เว็บไซต์ www.sso.go.th 

  • เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน ด้วยรหัสของผู้ใช้งาน (เลขบัตรประจำตัวประชาชน) พร้อมรหัสผ่าน หากใครยังไม่มีสามารถสมัครสมาชิกได้
  • เลือกระบบทันตกรรม
  • เลือกบันทึกรับแจ้ง กรณีทันตกรรม
  • กรอกวันที่เข้ารับบริการทันตกรรม และสิทธิประโยชน์ จากนั้นเลือกตรวจสอบสิทธิ
  • ระบบจะขึ้นวงเงินคงเหลือ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่เลือกใช้สิทธิ และวันที่ใช้สิทธิ
  • ส่วน "สปส. รับผิดชอบ" ให้เลือกพื้นที่ประกันสังคมที่เราอยู่ จากนั้นกรอกข้อมูลส่วนตัวที่เราอยู่ให้เรียบร้อย
  • ข้อมูลของผู้รับสิทธิ และวิธีการรับสิทธิ

กรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัว ธนาคารสำหรับรับเงิน และแนบเอกสาร

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกที่มีชื่อและเลขบัญชีของผู้ประกันตน

เอกสารที่ต้องใช้ เบิกค่าทำฟัน

  • ใบเสร็จรับเงิน
  • ใบรับรองแพทย์
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ หน้าแรกมีชื่อ-เลขที่บัญชีของผู้ประกันตน

สิทธิทันตกรรมที่เบิกออนไลน์ได้

  • ถอนฟัน
  • อุดฟัน
  • ขูดหินปูน
  • ผ่าฟันคุด

ประกันสังคม ม.33 - ม.39 ทำฟันที่ไหนได้บ้าง ?

  • โรงพยาบาลรัฐ
  • โรงพยาบาลเอกชน
  • คลินิกทันตกรรมที่มีการลงทะเบียนเป็นคู่สัญญากับสำนักงานประกันสังคม

ทุกครั้งที่เข้ารับบริการ ผู้ประกันตนจำเป็นต้องนำบัตรประชาชนมาด้วย เพื่อยืนยันสิทธิในการเบิกจ่ายตรงจากสำนักงานประกันสังคม โดยผู้ประกันตน ม. 33 และม. 39 ไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บาท/ปี เหลือจ่ายแค่ส่วนที่เกินจากสิทธิที่ได้รับเท่านั้น

เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ม.33 - ม.39 ภายในกี่วัน?

  • ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการ

กี่วันถึงจะได้รับเงิน?

  • 1-2 สัปดาห์