แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี หลักบริหาร-วัฒนธรรม"ปุ้มปุ้ย"

แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี  หลักบริหาร-วัฒนธรรม"ปุ้มปุ้ย"

เอ่ยชื่อ “ปุ้มปุ้ย”และ “ปลายิ้ม”เชื่อว่าคนที่อายุ 40 ปี หรือ 50 ปีขึ้นไปต้องรู้จัก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปรุงรส ที่มาพร้อมคำสโลแกนอร่อยจนน้ำลายไหล

KEY

POINTS

  • พยายามให้พนักงานทุกคนเปิดใจและยอมรับในความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆ คือ การเปิดใจเหมือนกับการเปิดกระป๋องเมื่อทุกคนเปิดใจแล้วก็จะสามารถรับรู้และเข้าใจคนอื่นไปด้วย 
  • เพราะจริงๆแล้วแค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะเราทุกคนมีดีอยู่ในตัวและสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกันได้
  • การทำธุรกิจต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามกำลังที่สามารถทำได้

เอ่ยชื่อ “ปุ้มปุ้ย”และ “ปลายิ้ม”เชื่อว่าคนที่อายุ 40 ปี หรือ 50 ปีขึ้นไปต้องรู้จัก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ปลากระป๋องปรุงรส ที่มาพร้อมคำสโลแกนอร่อยจนน้ำลายไหล การทำให้คนรุ่นใหม่นึกถึงเป็นอันดับแรกหากต้องการซื้ออาหารสำเร็จรูปรสชาติอร่อยและมีคุณภาพ จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทาย "ปวิตา โตทับเที่ยง"หลังรับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืน และสื่อสารองค์กรบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน)  

การสื่อสารกับผู้บริโภค จึงต้องเน้นฐานลูกค้ากลุ่มคนรุ่นเก่าที่อยู่กับแบรนด์มาแล้ว 46 ปีไปพร้อมกับการขยายฐานกลุ่มคนรุ่นใหม่ หรือ Generation Z กลุ่มนักเรียน นักศึกษาและคนเริ่มต้นทำงาน อายุระหว่าง 10-25 ปี ที่ เกิดมาพร้อมอินเทอร์เน็ตจึงใช้งานได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถเข้าถึงและหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ได้เอง เป็นเจเนอเรชันที่มีอิทธิพลต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ เป็นกลุ่มค่อนข้างใหญ่ สัดส่วนกว่า 25% ของจำนวนประชากรโดยเฉพาะในไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เข้าใจตัวตนพนักงาน พัฒนาสู่เวอร์ชั่นที่ดีที่สุด

"คน คือ หัวใจสำคัญที่สุด" ในการเดินทางขององค์กร

"ปุ้มปุ้ย" ตอบทุกโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภค

การดึง “เขื่อน-ภัทรดนัย เสตสุวรรณ” มาเป็นพรีเซนเตอร์ คือหนึ่งในกลยุทธ์การสื่อสารที่ “ปวิตา” นำมาใช้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่ม GenZ มากขึ้น รวมทั้ง โครงการ Thailand’s Next Culinary Star by Pumpui  ที่เปิดโอกาสให้นิสิต นักศึกษามาเป็น Content Creator สร้างสรรค์เมนูอาหาร ชิงทุนการศึกษาเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ที่นิยมเสพคอนเทนต์วิดีโอสั้น (Reels)และมีโอกาสเข้าร่วมงานในโปรเจกต์ต่างๆ กับบริษัทในอนาคต

“ปวิตา” มองว่าปัจจุบันการใช้ชีวิตของผู้คน ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว หรือครอบครัวขนาดเล็ก ต้องการความสะดวกและรวดเร็วในการใช้ชีวิตทำให้ปุ้มปุ้ยสามารถตอบทุกโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้ เพราะแค่เปิดฝาหรือฉีกซองก็อร่อยได้ทันที ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อีกด้วย 

"อยากให้ทุกคนนึกถึงปุ้มปุ้ยทุกครั้งเวลาหิว  เพราะเป็นปลากระป่องปรุงรส ที่สามารถทานได้ทันทีหรือทุกครั้งที่ต้องการนำไปเป็นส่วนประกอบในเมนูต่างๆ ฉะนั้นคุณภาพและรสชาด จึงเป็นสิ่งแรกที่เราให้ความสำคัญมาก่อน ยึดหลักการทำงานโดยคำนึงถึงลูกค้าเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดเสมอ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ทันยุคทันสมัย ตลอดเวลา" 

แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี  หลักบริหาร-วัฒนธรรม\"ปุ้มปุ้ย\"

ทุกคนในองค์กรสำคัญเท่าเทียม

สำหรับการทำงาน “ปวิตา” มีความเชื่อว่า การที่องค์กรจะสำเร็จลุล่วงไปได้นั้น ไม่สามารถทำได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว ทุกคนในองค์กรมีความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน เมื่อรวมเป็นหนึ่งเดียวแล้วจะเกิดเป็นความแข็งแกร่ง และความสุขที่เกิดขึ้นในการทำงานจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้กับลูกค้าต่อไป

จึงต้องสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในองค์กรให้เกิดขึ้น  การมีเป้าหมายชัดเจนที่ไปในทิศทางเดียวกัน การสื่อสารจึงมีความสำคัญมาก ทุกครั้งที่มีการออกสินค้าใหม่จะมีการ Launch Product ภายในออฟฟิศคือ เปิดตัวกันภายในก่อนไปเปิดตัวข้างนอก ด้วยการสร้างกิจกรรมที่ Relate กับสินค้านั้น ๆ เพื่อให้คนข้างในได้รู้จักกับตัวสินค้า สามารถอธิบายได้ว่าคืออะไร มีจุดเด่นตรงไหนบ้าง

"การเอา เขื่อน” (ภัทรดนัย เสตสุวรรณ) ซึ่งเป็น Existential psychotherapy มาเป็นพรีเซนเตอร์ ทำให้สามารถดึงเขาเข้ามาใกล้ชิดกับพนักงานได้ มีการ Talk ภายในมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องจิตวิทยา เป็นการพูดคุยกับพนักงานอย่างใกล้ชิดไม่ใช่เป็นแค่พรีเซนเตอร์ที่พนักงานเห็นแค่โฆษณาในบิลบอร์ดอย่างเดียว ทำให้พนักงานมีความใกล้ชิดกันมากขึ้น" 

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในองค์กรมีคนต่างเจเนอเรชันที่จะต้องหลอมรวมวิธีคิดกันให้ได้คนเก่ามีความถนัด ในสิ่งที่เคยทํามา หรือมีความละเอียดในบางเรื่อง ส่วน Gen ใหม่จะมีความ Active มีความรู้เรื่อง Digital มากขึ้น ผู้บริหารต้องสร้างความเป็นทีม รวมทั้งการเปิดรับทั้งความคิดเห็นใหม่ ๆมาหลอมรวมกันนําพาองค์กรให้ไปถึงเป้าหมายได้

แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี  หลักบริหาร-วัฒนธรรม\"ปุ้มปุ้ย\"

แตกต่าง-อยู่ร่วมอย่างสร้างสรรค์

สิ่งที่พยายามทำเป็นโครงการต่อเนื่องคือ พยายามให้พนักงานทุกคนเปิดใจและยอมรับในความแตกต่างและอยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆคือการเปิดใจเหมือนกันการเปิดกระป๋อง Open the can, open your mind

"เมื่อทุกคนเปิดใจแล้วก็จะสามารถรับรู้และเข้าใจคนอื่นไปด้วย โดยยึดหลักว่า Can hear - ให้ความรู้กับพนักงานเรื่อง DISC ให้เข้าใจตัวเองและเพื่อนร่วมงาน Can do - ให้ความรู้เชิงจิตวิทยา เป็นเปิดรับและทัศนคติเชิงบวก Can grow - growth mindset ให้ทุกคนรับรู้ร่วมกันว่าเพราะจริงๆแล้วแค่เปิด..ก็เปลี่ยน เพราะเราทุกคนมีดีอยู่ในตัว และสามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานร่วมกันได้แล้ว" 

ขณะเดียวกันการทำธุรกิจต้องควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมตามกำลังที่สามารถทำได้ ตอนนี้กำลังทำโครงการ "พาน้องพะยูนกลับบ้าน" เพราะเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศทางทะเล แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันทั้งโลกร้อนส่งผลให้หญ้าทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญลดลง ทำให้พะยูน จึงย้ายถิ่นฐานออกไปในพื้นที่ที่มีเรือท่องเที่ยวและประมงหนาแน่น ส่งผลกระทบทำให้พะยูนได้รับบาดเจ็บและสูญเสียจากอุบัติเหตุ

แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี  หลักบริหาร-วัฒนธรรม\"ปุ้มปุ้ย\"

โครงการพี่ปุ้มปุ้ยพาน้องพะยูนกลับบ้าน จึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างความหวังที่จะทำให้พะยูนและสัตว์ทะเลหายากอยู่คู่ท้องทะเลไทยต่อไป ซึ่งได้ร่วมกับผศ.ดร.ธรณ์  ธำรงนาวาสวัสดิ์ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบิ๊กซี จัดโครงการ พี่ปุ้มปุ้ย..พาน้องพะยูนกลับบ้านร่วมสมทบทุน…ช่วยรักษาน้องพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก ที่บิ๊กซี ทุกสาขาตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2567 ถึง วันที่ 30 ตุลาคม 2567

ซึ่งรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายเพื่อนำ ไปช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลหายากผ่าน 3 ช่องทาง ดังนี้1. First Aid สนับสนุนอุปกรณ์ช่วยเหลือพะยูนและสัตว์ทะเลหายากเบื้องต้นกับเครือข่ายอนุรักษ์พะยูนและชุมชนในพื้นที่2. Medical Treatment and Rehabilitation สนับสนุนการรักษาพยาบาลพะยูนและสัตว์ทะเลหายากอย่างต่อเนื่อง และ3. Survey and Research สนับสนุนการสำรวจและศึกษาวิจัยประชากรพะยูน สัตว์ทะเลหายาก และแหล่งอาหาร

สำหรับ ปุ้มปุ้ยมีมาร์เก็ตแชร์กลุ่มสินค้าปลากระป๋องปรุงรสประมาณ 80% มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 ในตลาดรวมของปลากระป๋องซึ่งมีมูลค่าตลาดรวม 7,000-9,000 ล้านบาท มีสัดส่วนการขายในประเทศ 80% โดยขายผ่านร้านค้าทั่วไป รวมไปถึงโมเดิร์นเทรด ไม่ว่าจะเป็นร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึงร้านค้าท้องถิ่น และส่งออกไปขายต่างประเทศ 20% ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Smiling Fish” ในกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กัมพูชา, สปป. ลาว, เมียนมา และ เวียดนาม) ยุโรปและอเมริกา โดยตลาดส่งออกหลัก คือ1.มาเลเซีย 2.ฮ่องกง 3.ยุโรป

ปัจจุบันมีสินค้าประมาณ 50 รายการ ส่วนใหญ่ปรุงรสชาติแบบที่คนไทยนิยมรับประทาน โดยปลาที่ใช้ในผลิต 70 %เป็นปลาแมคเคอเรล 70% ปลาซาร์ดีน 30% ส่วนหนึ่งนำเข้ามาจากญี่ปุ่น เพราะปลาในประเทศไม่เพียงพอต่อการผลิตและความต้องการของผู้บริโภค

แค่เปิด..ก็เปลี่ยนเพราะทุกคนมีดี  หลักบริหาร-วัฒนธรรม\"ปุ้มปุ้ย\"