“HR” เป็นศาสตร์และศิลป์ ทำให้คนรัก ภักดีองค์กร

“HR” เป็นศาสตร์และศิลป์ ทำให้คนรัก ภักดีองค์กร

ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก หรือองค์กรใหญ่ ล้วนต้องประกอบไปด้วยพนักงานทั้ง 4 Generation ตั้งแต่ Baby Boomer ,GenX ,GenY และกลุ่ม GenZ

KEY

POINTS

  • การบริหารคนกับบริหารงานต่างกัน ผู้นำในยุคนี้จะเป็นเพียงผู้สั่งงานไม่ได้ แต่ต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกชา 
  • HR ต้องมีศิลปะในการพูด โดยที่ต้องไม่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เป็นศาสตร์ที่ทำให้คนรักงาน รักผู้นำ รักเพื่อนร่วมงาน และรักองค์กร
  • “องค์กร”ควรเปิดโอกาสให้แก่คนรุ่นใหม่ ด้วยการจัดหมวดหมู่งาน และลักษณะของงานให้มีความชัดเจน ให้คนเข้าใจในเรื่องของงาน 

ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็ก หรือองค์กรใหญ่ ล้วนต้องประกอบไปด้วยพนักงานทั้ง 4 Generation ตั้งแต่ Baby Boomer กลุ่มคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนประมาณ 2-5% ในองค์กร ต่อด้วย Gen X กลุ่มคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป มีประมาณ 20-30% ,GenY กลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไป มีประมาณ 50 กว่า% และกลุ่ม GenZ เด็กจบใหม่ อายุ 20 ปีขึ้นไป มีประมาณ 20% ในองค์กร ซึ่งการมีพนักงานมาจากคนละGen กัน ย่อมมีความแตกต่าง แต่ความต่างเหล่านั้นถือเป็นพลังในการขับเคลื่อนองค์กร

คนทุกคนสามารถพัฒนาได้ ถ้า HR และผู้นำ หรือหัวหน้างานรู้ว่าแต่ละคนมีจุดแข็ง และจุดที่ควรปรับปรุง เพราะนอกจากเรื่องช่องว่างระหว่างวัยของ Gen แล้ว การเลี้ยงดูไม่เหมือนกัน ทักษะที่ได้รับ ประสบการณ์ก็แตกต่างกัน หน้าที่ของ HR และผู้นำ จึงจำเป็นต้องรู้ว่าจุดแข็ง จุดที่พนักงานต้องปรับปรุง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

Sheep ไม่นิยาม “ความสำเร็จ” “เด็กรุ่นใหม่”ต้องทำงานหลายขา

คนแบบไหน..เหมาะกับงานสไตล์ One Asia Ventures

งาน HR เป็นศาสตร์และศิลป์

“สุดคนึง ขัมภรัตน์” นายกสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย(PMAT) กล่าวว่า ในองค์กร HR เป็นการทำงานที่ต้องมีทั้งศาสตร์ (ความรู้ ทักษะ) และศิลป์(เข้าใจความเป็นคน) เพราะเป็นหน้าที่ที่ต้องทำงานกับคน ต้องใช้ศิลปะทั้งในการสื่อสาร และวิธีการ เช่น การจะทำให้พนักงานทำตามหลักการที่ถูกต้อง HR ต้องมีศิลปะในการพูด หรือศิลปะของวิธีการ โดยที่ต้องไม่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ต้องเอาหลักมาวางแต่ไม่ต้องเอามาพูด การสื่อสารกับคนในองค์กรต้องคำนึงถึงความเป็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

“HR ยุคใหม่ต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ซึ่งสิ่งที่ไม่ควรเปลี่ยน คือ หลักการในการดูแลองค์กรและพนักงาน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ แต่สิ่งที่ควรเปลี่ยนตลอดเวลา เป็นการอัปสกิล รีสกิลของตนเอง เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก เพื่อนำพาหลักการ และองค์กรให้ก้าวหน้าต่อไปได้ HR และผู้นำ ต้องเปลี่ยนมายเซต ไม่ใช่ข่มและชี้นิ้วให้ทำ แต่ต้องเข้าใจผู้คน เติมเต็มทักษะ และมีเครื่องมือเข้ามาช่วยให้คนมีความก้าวหน้าในการทำงาน ต้องเข้าใจตนเองและผู้อื่น” สุดคนึง กล่าว

“HR” เป็นศาสตร์และศิลป์ ทำให้คนรัก ภักดีองค์กร

ทุกคนพัฒนาได้ หากรู้จุดแข็ง-จุดอ่อน

ทั้งนี้คนทุกคนสามารถพัฒนาได้ ถ้า HR และผู้นำ หรือหัวหน้างานรู้ว่าแต่ละคนมีจุดแข็ง และจุดที่เขาควรปรับปรุงอย่างไรบ้าง เพราะนอกจากเรื่องช่องว่างระหว่างวัยของ Gen แล้ว การเลี้ยงดู ทักษะที่ได้รับ ประสบการณ์ก็แตกต่างกัน หน้าที่ของ HR และผู้นำ จึงจำเป็นต้องรู้ว่าจุดแข็ง จุดที่พนักงานต้องปรับปรุง คืออะไร มีวิธีการทำให้เด็กรุ่นใหม่เข้าใจตัวเอง

“เด็กยุคใหม่เขามีความเป็นตัวตน มีความอิสระ และเขาเติบโตมากับเทคโนโลยี กล้าคิด กล้าแสดงออก สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดแข็งของพวกเขา หาก HR ขององค์กรรู้ ก็สามารถจัดกิจกรรม อบรม เสริมทักษะจุดแข็ง และจุดที่ต้องปรับปรุง จะทำให้เขามีPassion ในการจะทำสิ่งนั้นได้ดีขึ้น”สุดคนึง กล่าว

“HR” เป็นศาสตร์และศิลป์ ทำให้คนรัก ภักดีองค์กร

องค์กร”ควรเปิดโอกาสให้แก่คนรุ่นใหม่ ด้วยการจัดหมวดหมู่งาน และลักษณะของงานให้มีความชัดเจน ให้คนเข้าใจในเรื่องของงาน การรับคนรุ่นใหม่เข้าทำงานเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะพวกเขาเก่งเทคโนโลยี ก้าวทันเทรนด์ใหม่ๆ ผู้นำ ผู้มีประสบการณ์ในองค์กรอาจจะต้องแบ่งปันประสบการณ์ เวลาบางส่วนไปสอนพวกเขา พัฒนาพวกเขา และเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ จากพวกเขา หากทุกองค์กรผสมผสานคนทุกGen เข้าด้วยกัน เชื่อว่าองค์กรจะมีชีวิต และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

งานHR เป็นศาสตร์ที่ทำให้คนมีความรัก HR ต้องรู้จักและรักองค์กรด้วยความเข้าใจ และต้องรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจดำเนินต่อไปอย่างยั่งยืน มีระบบงานที่ดี และพาองค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ขณะที่การคัดเลือกคน HR และผู้นำ ต้องช่วยกันคัดเลือกคนดี คนเก่งตรงกับความต้องการขององค์กร และรักษาคนเหล่านั้นให้สามารถทำงานกับองค์กรไปตลอด หรือคนที่มีสามารถทำงานอยู่ในองค์กร จะพัฒนาอย่างไรให้พวกเขาเติบโตไปพร้อมบริษัท มีอนาคต มีความก้าวหน้า ฉะนั้น HR จึงเป็นศาสตร์ที่ทำให้คนมีความรัก ทั้งรักงาน รักผู้นำ รักเพื่อนร่วมงาน และรักองค์กร

ไม่ใช่เน้นเฉพาะเรื่องของกำไร 

“สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย(PMAT)” จะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยงทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อที่จะทำให้งานเกิดการพัฒนา และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์กร คนจะต้องเก่งขึ้น ก้าวหน้าในอาชีพมากขึ้น ผลักดันเป้าหมายขององค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืนและทำให้องค์กรเกิดการขับเคลื่อนตามเป้าหมาย ที่ไม่ใช่เน้นเฉพาะเรื่องของกำไร แต่ต้องมีเรื่องของความเป็นอยู่ที่ดี คุณภาพชีวิตที่ดี มีความก้าวหน้า มั่นคงในองค์กรมีแรงบันดาลใจในการดูแลพนักงานของตนเอง

ดังนั้น พนักงานที่จะมาทำงานกับสมาคมฯเริ่มแรกต้องเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร มีจิตใจอยากทำเพื่อสังคม เพื่อผู้อื่น ต้องมีมายเซต มีใจในเรื่องนี้อย่างเต็มร้อย มีความสามารถในรูปแบบสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร และรู้จักการแลกเปลี่ยน สานสัมพันธ์กับสมาชิกขอความร่วมมือจากเครือข่ายในการจัดกิจกรรม การอบรม การให้คำปรึกษา สัมมนา ให้เกิดการเรียนรู้ ต้องทำให้ผู้บริหารในองค์กรต่างๆเข้าใจหลักการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อที่จะทำให้งานเกิดการพัฒนา และสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่องค์กร

"ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่กว่า 20 คนดูแลสมาชิกเกือบ 4,000 คนเป็นองค์กรที่ทำเพื่อสังคมเป็นหลักพนักงานที่จะมาทำงานต้องเข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร มีจิตใจอยากทำเพื่อสังคม เพื่อผู้อื่น ต้องมีมายเซต มีความสามารถในรูปแบบสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร และรู้จักการแลกเปลี่ยน สานสัมพันธ์กับสมาชิก มีความร่วมมือจากเครือข่ายในการจัดกิจกรรมต่างๆ"

“HR” เป็นศาสตร์และศิลป์ ทำให้คนรัก ภักดีองค์กร

บริหารคน บริหารงานต่างกัน

“สุดคนึง” เล่าด้วยว่าองค์กรต้องมีคน 4 Gen เข้าด้วยกัน ได้แก่ Baby Boomer อาจจะเป็นผู้บริหารระดับสูง CEO หรือที่ปรึกษา เป็นช่วงการเปลี่ยนผ่านในองค์กร 2-5% พวกเขาเติบโตยุคสงครามโลกจะมีความจงรักภักดี และมุมมองในการบริหารงานที่ดีต่อองค์กร คนGenX อายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นผู้บริหารระดับสูง ยึดงาน ชีวิต เป้าหมาย อยากประสบความสำเร็จ คน GenY อายุ 30 ปีเป็นต้นไป ผู้บริหารระดับสูงในองค์กรเล็ก ชอบอะไรที่ท้าทาย สื่อสาร และคน Gen Z น้องๆ ที่พึ่งจบจนถึงอายุ 20 กว่าปีขึ้นไป เริ่มมีจำนวนมากขึ้น อยากอยู่ในที่ที่ปลอดภัย และในโลกดิจิทัล อยากกลับบ้านตามเวลา

 “การบริหารคนกับบริหารงานต่างกัน ผู้นำในยุคนี้จะเป็นเพียงผู้สั่งงานไม่ได้ แต่ต้องมีหลักพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา ผู้นำต้องมีความเมตตา ความรักความปรารถนาดีต่อ กรุณา ผู้นำต้องช่วยแก้อุปสรรคในการทำงาน ต้องเข้าใจปัญหา และร่วมแก้ไขไปกับพนักงาน ไม่ชี้ว่าใครผิดหรือถูกที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง มุทิตา ความชื่นชมยินดี เมื่อพนักงานทำผลงานดี ต้องได้รับการโปรโมท และ อุเบกขา การทำงานของมนุษย์เงินเดือน มีความวิตกกังวล ความเครียดและสะสมทำให้พนักงานจำนวนมากเป็นโรคซึมเศร้า ผู้นำต้องทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเต็มที่แต่อย่าคาดหวังว่าที่ทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองถูกกดดัน ต้องสร้างบรรยากาศให้ทุกคนทำงานออกมาให้ดีที่สุดและปล่อยวาง” สุดคนึงกล่าว

นอกจากนั้นคนที่เป็นผู้นำ ให้คุณ ให้โทษ เมื่อได้รับอำนาจต้องมาพร้อมกับความรับผิดชอบ ผู้นำต้องรู้จักสามารถใช้คนอื่นได้ ต้องเข้าใจความแตกต่างของคน และรู้ถึงบทบาทของตนเอง Skillset ต้องมีการบริหารจัดการคนที่หลากหลายด้วยเครื่องมือในการบริหารคนใหม่ๆ