เช็ก '10 ทักษะจำเป็น' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

เช็ก '10 ทักษะจำเป็น' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

โลกของการทำงานในปัจจุบันกำลังถูกท้าทายด้วยการแทนที่ของ “ปัญญาประดิษฐ์ AI และเทคโนโลยีใหม่” ที่ใครหลายๆ คนกำลังหวั่นวิตก

KEY

POINTS

  • ทักษะที่จำเป็นในอนาคตที่แรงงานต้องมี ได้แก่ ทักษะ AI และ Big Data คิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างสร้างสรรค์ เครือข่ายและความปลอดภัยทางข้อมูล ความเป็นผู้นำ ปรับตัวไว เห็นอกเห็นใจ เข้าใจตนเอง บริหารจัดการคนเก่ง และใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต 
  • โลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกของ AI สิ่งที่จะชนะปัญญาประดิษฐ์ คือ ปัญญาที่ไม่ได้ประดิษฐ์ แต่เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากคนๆ นั้นที่เข้าใจโลก เป็นปัญญาที่สร้างขึ้น "ปัญญาสัญชาตญาณ"
  • การทรานฟอร์มการศึกษาต้องไม่สอนความรู้แต่ต้องสอนความฉลาด เพราะความรู้ล้าสมัยได้  สมองของคนไม่ได้บรรจุความรู้แต่บรรจุความฉลาด

โลกของการทำงานในปัจจุบันกำลังถูกท้าทายด้วยการแทนที่ของ “ปัญญาประดิษฐ์ AI และเทคโนโลยีใหม่” ที่ใครหลายๆ คนกำลังหวั่นวิตก ขณะเดียวกัน การผันผวนของเศรษฐกิจ  การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และประชากร คนเกษียณอายุช้าลง  รวมถึงการแบ่งแยกระหว่างเศรษฐกิจของประเทศ ค่าครองชีพที่สูงมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นตัวเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานอย่างรวดเร็ว ทำให้ทั้งคนไทยและคนทั่วโลกต้องเกิดการปรับตัว ไม่ใช่เพียงการก้าวทันแต่ต้องเป็นการก้าวนำ

“The Future of Jobs 2025” งานวิจัยระดับโลกภายใต้ความร่วมมือระหว่าง  “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ World Economic Forum” เพื่อเสนอทักษะ แนวทาง และกลยุทธ์ในการสร้างมนุษย์แห่งอนาคต(Future Human)  หรือคนพันธุ์ใหม่ สำหรับประเทศไทย รองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในระหว่างปี พ.ศ. 2568–2573

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ส่อง!!แนวโน้มการปรับขึ้นเงินเดือน ค่าตอบแทนบัณฑิตจบใหม่ ปี 2568

3 ทักษะที่ 'ตลาดงาน' ต้องการ กับโจทย์ของ 'ภาคการศึกษา' ที่ต้องปรับตัว

5 ปัจจัยที่ทำให้ตลาดงานเปลี่ยนไป

ศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข้อมูลรายงาน " Future of Jobs 2025" เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2568 โดยรายงานดังกล่าวอ้างอิงจากการสำรวจ 1,000 บริษัท ครอบคลุมพนักงาน 14 ล้านคน ใน 22 อุตสาหกรรม จาก 55 ประเทศทั่วโลก  9 ทวีปทั่วโลก พบว่าเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี  ระบบอัตโนมัติ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม จะทำให้หลังจากนี้มี 92 ล้านตำแหน่งงานที่หายไป และมี 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยการเติบโตสุทธิของการจ้างงานคิดเป็น 7% หรือเท่ากับ 78 ล้านตำแหน่งงานทั่วโลก

“5 ปัจจัยที่ทำให้ตลาดงานเปลี่ยนไปในปี 2573 ได้แก่ 1.การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี AI หุ่นยนต์ และนวัตกรรมด้านพลังงาน 67.6 คะแนน 2.การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระตุ้นความต้องการวิศวกรสิ่งแวดล้อมและพลังงานหมุนเวียน 64.9 คะแนน 3.ความผันผวนทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นและการชะลอตัวทางเศรษฐกิจเป็นความท้าทายสำคัญ 52.3คะแนน 4.การเปลี่ยนแปลงด้านประชากร ประชากรสูงอายุในประเทศรายได้สูงและแรงงานขยายตัวในประเทศรายได้ต่ำปรับเปลี่ยนตลาดแรงงาน 43.3 คะแนน และ5.การแบ่งแยกทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ข้อจำกัดทางการค้าและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ส่งผลต่อรูปแบบธุรกิจ 25.8 คะแนน” ศ.ดร.วิเลิศ กล่าว

เช็ก \'10 ทักษะจำเป็น\' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

งานรุ่ง-งานร่วง ที่คนทำงานต้องรู้

ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวต่อว่าด้วยเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก งานดาวรุ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยเฉพาะ AI และBigData

5 งานดาวรุ่งในอนาคต ได้แก่

1. ผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Specialists)

2. วิศวกรด้านการเงินดิจิทัล (FinTech Engineers)

3.ผู้เชี่ยวชาญ AI และการเรียนรู้เครื่องมือ (AI and Machine Learning Specialists)

4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน (software and app Developers)

5.ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความปลอดภัย (Security Management Specialists)

5 งานดาวร่วงในอนาคต ได้แก่

1.เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ (Postal Service Clerks)

2.พนักงานธนาคารและตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง (Bank Teller and Clerks)

3.เจ้าหน้าที่ป้อนข้อมูล (Data Entry Clerks)  

4.พนักงานแคชเชียร์, จำหน่ายตั๋ว (Cashiers, Ticket Clerks)

5. ผู้ช่วยงานธุรการ, เลขานุการ (Administrative Assistants)

เช็ก \'10 ทักษะจำเป็น\' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

10 ทักษะจำเป็นในอนาคต

ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวต่อไปว่าถ้าไม่อยากให้งานร่วงหายไป ต้องมีการพัฒนา Skill Evolution คือต้องมีทักษะหลัก ได้แก่ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking),ทักษะของความยืดหยุ่น ปรับตัว(Resilience),ทักษะความเป็นผู้นำ(Leadership) และทักษะอิทธิพลทางสังคม (Social Influence) แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีทักษะใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น อย่าง ทักษะ AI ,ทักษะความมั่งคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) ,ทักษะความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

“ทักษะแปลว่าสิ่งที่เราทำจนเชี่ยวชาญ ต้องมีการเรียนรู้ทุกวัน เรียนรู้บ่อยๆ จนกลายเป็นนิสัยจนเป็นสัญชาตญาณ หรือปัญญาสัญชาตญาณ ซึ่งจากรายงานพบว่า พนักงานประมาณ 40% จะถูกทรานฟอร์ม และ 59% จะต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่ และ 63% จะมีอุปสรรคในการทำงานหากไม่ได้มีการเรียนรู้ใหม่มากขึ้น”

 10 ทักษะจำเป็นในอนาคตที่ทุกคนต้องมีติดตัว ได้แก่

1.ทักษะด้าน AI และ Big Data(AI and Big Data)

2.ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking),

3.ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

4.ทักษะด้านเครือข่ายและความปลอดภัยทางข้อมูล(Networks and Cybersecurity)

5.ทักษะความเป็นผู้นำและสร้างอิทธิพลต่อสังคมได้ (Leadership and Social Influence)

6.ทักษะปรับตัวไว ทำงานอย่างยืดหยุ่นและคล่องตัว (Resilience , Flexibility and Agility)

7.ทักษะความเห็นอกเห็นใจ และมีทักษะในการรับฟัง (Empathy and Active Listening)

8.ทักษะการเข้าใจตนเอง และมีแรงจูงใจในการทำงาน (Motivation and Self-Awarenes)

9.ทักษะด้านการบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร (Talent Management)

10.ทักษะมีความช่างสงสัย ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต (Curiosity and Lifelong Learning)

“จุฬาฯ ไม่ได้เพียงวิจัยเพื่อรู้ว่าทักษะไหนบ้างที่จำเป็นในอนาคต แต่เป็นการวางแผนว่าจะสร้างทักษะเหล่านี้ให้กับคนไทยได้อย่างไร บทบาทของมหาวิทยาลัยในวันนี้ ต้องเป็น Skill Incubator ที่ต้องผลิตคนที่มี Future Skills ให้กลายเป็น Future Human หรือคนพันธุ์ใหม่ที่มีทักษะแห่งอนาคตรอบด้าน"

เช็ก \'10 ทักษะจำเป็น\' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

การศึกษาต้องไม่สอนความรู้แต่สอนความฉลาด

ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวอีกว่างานที่ใช้ทักษะที่มีการใช้มือ ทำแบบเดิมๆ จะหายไปและถูกแทนที่ด้วยการใช้เทคโนโลยี แต่หากจะให้งานคงอยู่ต่อไปนั้น ต้องนำเรื่องของความคิดและความฉลาดเข้ามา ซึ่งประเทศไทยพูดเรื่องของ Soft Skills จำนวนมาก แต่หลังจากนี้Soft Skills จะเป็นรองทักษะจำเป็นในอนาคต และเรื่องของจิตใจและความรู้สึกยังคงเป็นสิ่งที่ควบคู่กับความคิดและความฉลาด 

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อ Degree (ปริญญา) ซึ่งเป็นทั้งเรื่องถูกและก็ผิด ซึ่งที่บอกว่าเป็นเรื่องที่ถูก เพราะ Degree ไม่สำคัญ และหลังจากนี้จะต้องเน้นเรื่อง Non-Degree มากขึ้น  เนื่องจากตลาดแรงงานในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลงมากมายและโลกไม่ได้หมุนรอบตัวของคนใดคนหนึ่ง แต่ตอนนี้โลกจะหามองหาคนที่ Skill ใหม่ ระบบการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความรู้จะต้องพัฒนาทักษะจำเป็นในอนาคตและทักษะSoft Skill ให้ผู้เรียน

"การทรานฟอร์มการศึกษาต้องไม่สอนความรู้แต่ต้องสอนความฉลาด เพราะความรู้ล้าสมัยได้  สมองของคนไม่ได้บรรจุความรู้แต่บรรจุความฉลาด ดังนั้น การศึกษาต้องมีการพัฒนาทักษะเพื่อให้เกิดความฉลาดที่มีชั้นเชิงและมีกลยุทธ์ ตอนนี้ประเทศไทยขาดการคิดอย่างมีชั้นเชิง รวมถึงต้องมีบูรณาการ ถ้าจะ Up-Skill ต้องการคนรอบด้าน การศึกษาต้องสร้างทักษะให้แก่คน"

สิ่งที่ชนะ AI ได้ คือปัญญาไม่ได้ประดิษฐ์

ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวด้วยว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นระบบการศึกษาที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้ตอบโจทย์กับตลาดแรงงาน  เพราะพรสวรรค์ของนิสิตนักศึกษาซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตาม The Future of Jobs ทั้งหมด ถ้าโลกมีการเปลี่ยนแปลงเป็นโลกของ AI สิ่งที่จะชนะปัญญาประดิษฐ์ได้มีสิ่งเดียวในโลก คือ ปัญญาที่ไม่ได้ประดิษฐ์แต่เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากคนๆ นั้นที่เข้าใจโลก และเป็นปัญญาที่สร้างขึ้น เป็นปัญญาสัญชาตญาณ ตลาดแรงงานในประเทศไทยต้องการคนที่มีทักษะAI และความฉลาดตามสัญชาตญาณ

อย่างไรก็ตาม สำหรับกลยุทธ์สำคัญ 5 ประการสำหรับประเทศไทย ได้แก่ 

1.เพิ่มทักษะที่จำเป็นให้แก่บุคลากร: เตรียมคนไทยให้พร้อมด้วยความรู้และทักษะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน

2. สรรหาบุคลากรที่มีทักษะใหม่ๆ: ค้นหาและสนับสนุนผู้ที่มีศักยภาพในทักษะที่ตรงกับความต้องการของเศรษฐกิจยุคใหม่

3. ยกระดับกระบวนการทำงาน ด้วย Automation: ใช้ระบบอัตโนมัติช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน

4. ปรับบทบาทการทำงานของบุคลากร: ให้บุคลากรมีคุณค่าเพิ่มในงานยุคใหม่

5. ผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เข้ากับการทำงาน: เชื่อมโยงเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เพิ่มคุณค่าและความสามารถในการแข่งขัน

เช็ก \'10 ทักษะจำเป็น\' สร้าง Future Human รับ 170 ล้านตำแหน่งงานใหม่

จุฬาฯ  AI University พัฒนาผู้เรียนฉลาดรอบด้าน

ในส่วนของจุฬา การผลิตบัณฑิต ไม่ได้ผลิตบัณฑิตโดยคำนึงแต่เรื่องของ Degree แต่จะเน้นเรื่องของ Non- Degree มากขึ้น โดยจะเป็นการเรียนรู้เพียง 6-7 เดือนจบ หน้าที่ของมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพียงเรื่องของการศึกษา จุฬาฯ ปักธงเป็น AI University ที่มุ่งพัฒนาและตั้ง Chulalongkorn AI Institute หรือสถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อการปฏิบัติการด้าน AI ที่ชาญฉลาด และการเรียนรู้ในอนาคตจะเป็นศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งคงไม่ได้ เช่น การใช้ AI ต้องมีการนำเรื่องของอักษรศาสตร์เข้ามา

รวมถึงมีการ Up-Skill ให้แก่ผู้เรียนมองภาพรวมของการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ ฉะนั้น ทุกคณะของมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์ ต้องขับเคลื่อนนโยบาย AI University ในหลากหลายมิติ เช่น AI Foundation and Technology, AI Education, AI Solution และ AI Industry Impact and Ethics AI Governance AI in Business and Economics พร้อมกำหนดกลยุทธ์พันธมิตร AI ระดับนานาชาติ

 

"สมองของคนเรามีขีดจำกัดการยัดเยียดสมองในเรื่องของความจำไม่ได้มีประโยชน์ต่อคนๆ นั้น การสร้างในความคิดและความฉลาดเป็นสิ่งสำคัญ ต่อไป AI จะเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่เราสามารถรอดได้ หากมีทักษะและเชื่อมโยงความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ซึ่งคนที่ประสบความสำเร็จได้ต้องมีทักษะที่จะทำให้ตัวเองดีกว่าเดิม  ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการคนที่มี Skill รู้จักตัวตน และมีทักษะจำเป็นในอนาคต พาตัวเองไปวางในจุดที่ถูกต้อง และอย่าพยายามเคี่ยวเข็ญให้ตัวเองทำเหมือนคนอื่น" ศ.ดร.วิเลิศ กล่าวทิ้งท้าย