โควิด-19 พบ XBB เกือบทั้งหมด ติดเชื้อซ้ำไม่แปลก เทียบอาการ ความรุนแรง

โควิด-19 พบ XBB เกือบทั้งหมด ติดเชื้อซ้ำไม่แปลก เทียบอาการ ความรุนแรง

'หมอยง' ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น 'โควิด-19' โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พบการระบาดมากที่สุด ณ ขณะนี้อย่าง XBB เผยการติดเชื้อซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก เทียบอาการ ความรุนแรง การติดเชื้อครั้งที่ 1 2 และ 3

'หมอยง' ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น 'โควิด-19' โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่พบการระบาดมากที่สุด ณ ขณะนี้อย่าง XBB เผยการติดเชื้อซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก

โควิด-19 สายพันธุ์ที่พบ XBB เกือบทั้งหมด การติดเชื้อซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก

การระบาดของโควิดเป็นไปตามฤดูกาล ในฤดูฝนตามที่เคยคาดการณ์ไว้และคงจะระบาดไปจนถึงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และจะเริ่มลดลงในเดือน กันยายน สายพันธุ์ที่พบขณะนี้เกือบทั้งหมดเป็นสายพันธุ์ XBB โดยพบว่าสายพันธุ์ดาวดวงแก้ว XBB.1.16 เป็นสายพันธุ์หลัก 

จากข้อมูลการศึกษาของเรา พบว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากวัคซีนที่ฉีดในอดีต โดยเริ่มต้นจาก สายพันธุ์อู่ฮั่น และเพิ่มสายพันธุ์ BA.5 ในวัคซีน 2 สายพันธุ์ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์ XBB ได้  การติดเชื้อซ้ำอย่างที่เคยกล่าวแล้ว การศึกษาของเรา 250 คน พบว่าความรุนแรงทั้งที่ 2 น้อยกว่าครั้งแรกมาก 

การจะติดเชื้อครั้งที่ 3 ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่เมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไป ก็เป็นใหม่ได้อีก โควิด-19 ก็เช่นเดียวกันเมื่อสายพันธุ์เปลี่ยนไป ก็เป็นได้อีกแต่ภูมิคุ้มกันหลัก พอช่วยปกป้องลดความรุนแรงลงแต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

- 'อุ๊งอิ๊ง' แจ้งติดโควิด-19 รอบ2 บอกไม่ต้องตามกระแสก็ได้ลูกยังเล็ก

- 'หมอธีระ' เผยญี่ปุ่นโควิดระบาดเพิ่ม กว่า 90% เป็น Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB

- อัปเดต! จุดฉีดวัคซีนโควิด-19 ฟรี เดือน มิ.ย.66 เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์

ในอนาคตการให้วัคซีนจะต้องมีการคาดคะเน ไว้ล่วงหน้าแบบไข้หวัดใหญ่ ว่าสายพันธุ์ที่จะระบาด จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด เช่น ขณะนี้องค์การอนามัยโลกแนะนำบริษัทวัคซีนให้ผลิตวัคซีนที่เป็นสายพันธุ์ XBB แต่ในกระบวนการผลิต ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน เมื่อถึงเวลานั้นไวรัสก็จะเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ไปอีก การวิ่งไล่จับก็จะไม่ทัน 

มีเรื่องดี ที่เราทำการศึกษาคือ อัตราการกลายพันธุ์ ถ้าเปรียบเทียบในระยะแรกของโควิด-19 อัตราการกลายพันธุ์เร็วและสูงมาก แต่พอมาถึงในช่วงของปีที่ผ่านมาอัตราการกลายพันธุ์ ช้าลง อยู่ในอัตรา 1.2 - 6.7 ตำแหน่งต่อพันต่อปี ไวรัสนี้มีทั้งหมด 3 หมื่นตำแหน่ง เมื่อดูอัตรานี้แล้วจะใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่ A  

ดังนั้น แนวโน้มของไวรัสนี้ ทุกอย่างก็คงจะใกล้เคียงกับไข้หวัดใหญ่ A ในอนาคต ถ้าได้รับเชื้อสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไปก็มีโอกาสเป็นได้อีก