เปิดโมเดลอภ.ดีลบริษัทยาแทนรพ. เพิ่มอำนาจต่อรองราคา ลดภาระรพ.
อภ.ผุดไอเดีย ‘บริหารจัดการคลังยาให้รพ.’ ช่วยดีลบริษัทยาภาพรวม เพิ่มอำนาจต่อรองราคาถูกลง รพ.ไม่ต้องประสานเองนับ 40-50 บริษัท นำร่องแอคชั่นรีเสิร์ชแล้วที่รพ.ชุมพร เล็งขยายผลสู่รพ.ชุมชนหากสนใจ
เมื่อมีการจัดซื้อขนาดใหญ่ ราคาก็จะลดลง เพราะมีอำนาจต่อรองมากขึ้น รวมถึง ช่วยบริหารระบบสต็อคยา เช่น รพ.แห่งหนึ่งต้องใช้ยา เอ ราว 1,000 ก็ไม่จำเป็นต้องซื้อ 1,500 เผื่อไว้ หลังจากนั้นหากลดไป 200 ก็แจ้งอภ.ให้ส่งเติมให้ 200 โดยไม่ต้องจัดซื้อจัดจ้างใหม่ ไปเรื่อยๆ
"ระบบนี้จะทำให้การบริหารจัดการห้องยา อาจจะง่ายและสะดวกขึ้น ประสิทธิภาพก็จะตามมา ค่าใช้จ่ายก็จะลดลง”พญ.มิ่งขวัญกล่าว
ที่ผ่านมาได้มีการนำร่องแอคชั่นรีเสิร์ช ลองทำจริง “ชุมพรโมเดล” ซึ่งเป็นรพ.จังหวัดมีการใช้ยาราว 800-1,000 รายการ ดีลกับ 80 บริษัท ถ้าเป็นรพ.ชุมชน อย่างที่รพ.สบเมย ขนาด 30 เตียงมียาราว 300 รายการ จึงไม่ยากที่อภ.จะบริหารจัดการ แต่อาจจะยากในเรื่องของการเดินทางเพื่อขนส่งยา ที่จะเดินทางถึงรพ.สบเมยใช้เวลา 4 ชั่วโมงจากจ.เชียงใหม่
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้อกฎหมายที่อภ.จะดำเนินการในเรื่องนี้ได้ พญ.มิ่งขวัญ กล่าวว่า ได้มีการร่วมกันพิจารณา ระเบียบไม่ได้ห้าม สามารถทำได้ รูปแบบของสัญญาจะซื้อจะขาย เพราะเขียนไว้ในภารกิจของ อภ.ตาม พ.ร.บ.ว่า มีหน้าที่ผลิต จัดซื้อจัดหา อย่างเมื่อก่อนนี้บังคับ รพ.รัฐต้องซื้อยาที่ อภ.ผลิตและยาที่อภ.มีจำหน่าย
แต่หลังจากปี 2560-2562 ไม่บังคับให้รพ.ต้องซื้อยาที่อภ.มีจำหน่าย อย่างเช่น อภ.ผลิตยาพาราเซตามอล และซื้อยาไขมันมา สมัยก่อนบังคับต้องซื้อจาก อภ.ก่อน แต่มีคำถามจากบริษัทยาว่า อภ.ได้สัดส่วนมากเกินไป เมื่อเราตัดคำว่าจำหน่ายออกไป ต่อให้ อภ.มีจำหน่ายก็ไม่บังคับว่าต้องซื้อ ตอนนี้อภ.มียาที่ผลิตและบังคับซื้อราว 100 รายการ