สุขภาพคนไทย 2567 เทคโนโลยีดิจิทัลพลิกโฉม
เปิดรายงานสุขภาพคนไทย 2567 เทคโนโลยีดิจิทัล 11 ตัวชี้วัด คนใช้ติดตามข่าวสารและค้นหาข้อมููลสุุขภาพ 76 %-เพิ่มประสิทธิภาพบริการ พ่วง 10 สถานการณ์เด่นด้านสุขภาพ
KEY
POINTS
- รายงานสุขภาพคนไทย 2567 มี 11 ตัวชี้วัด เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลกับสุขภาพคนไทยในมิติต่างๆ คนใช้ติดตามข่าวสารและค้นหาข้อมููลสุุขภาพ 76 % และเพิ่มประสิทธิภาพบริการ
- 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ ปี 2567 ปัญหาแพทย์ลาออก ,เกิดแล้วเกิดอีก อุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ,มาเฟียข้ามชาติกับการแก้ไขปัญหา ,แรงงานไทยในตะวันออกกลาง ทางสองแพร่งระหว่างความมั่งคั่งกับความมั่นคงในชีวิต
- การฟื้นสภาพ (resilience) ด้านจิตใจเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับการฝึกฝน การพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวก สร้างความมั่นใจในการแก้ไขและควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 ภายในงานมีการนำเสนอข้อมูล 11 ตัวชี้วัด เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลกับสุขภาพคนไทยในมิติต่าง ๆ 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพปี 2567 พร้อมเรื่องพิเศษประจำฉบับ คือ "ความเครียด ภัยเงียบของสังคมไทย"
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า สสส. จัดทำรายงานสุขภาพคนไทยมาตั้งแต่ปี 2546 ตามแผนพัฒนาระบบ และกลไกสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มุ่งจัดทำงานวิจัย ผลงานวิชาการ และนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการทำงานสร้างเสริมสุขภาพตามทิศทาง
และเป้าหมายกองทุนฯ ระยะ 10 ปี หนุนเสริมการนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์จริง และเห็นผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม โดยรายงานสุขภาพคนไทยเป็นรายงานประจำปี ที่รวบรวมบทวิเคราะห์ประเด็นสำคัญด้านสุขภาพที่ทันต่อเหตุการณ์ของแต่ละปี เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนไทยที่กำลังเกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ
ดร.ณัฐพันธุ์ ศุภกา รักษาการผู้อำนวยการสำนักวิชาการและนวัตกรรม สสส. กล่าวว่า รายงานสุขภาพคนไทยจัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูล และประเด็นด้านสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยในทุกมิติ มีการนำเสนอในช่องทางที่หลากหลายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ สามารถเข้าถึงได้ง่ายในยุคดิจิทัล เพื่อสร้างความรับรู้และตระหนักไปในวงกว้างต่อประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทย
รวมทั้งบทวิเคราะห์ในประเด็นต่าง ๆ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบาย รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา โดยมุ่งหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำรายงานสุขภาพคนไทยปี 2567 ไปใช้ประโยชน์ ทั้งการพัฒนากำหนดนโยบาย ติดตามหรือขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาพของคนไทย
ใช้ติดตามข่าวสารและค้นหาข้อมูลสุุขภาพ 76 %
รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล และ หัวหน้าโครงการจัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ปี 2567 กล่าวว่า ส่วนตัวชี้วัด 2567 นำเสนอสถิติในประเด็น “เทคโนโลยีดิจิทัลกับสุขภาพคนไทย” ทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด ที่สะท้อนว่าเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกมิติของการดำเนินชีวิต
ทั้งนี้ 11 ตัวชี้วัดเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสุขภาพ ประกอบด้วย
1.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสุขภาพของประชาชน คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตทางด้านสุุขภาพ เพื่อติดตามข่าวสารและค้นหาข้อมูลสุุขภาพ 76 % ออกกำลังกาย ติดตาม ประเมินเกี่่ยวกับสุุขภาพ 35 % และ จองคิวขอรับบริการทางการแพทย์ออนไลน์ 31.7 %
ประชาชนทั่่วไปเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยสร้างเสริมสุุขภาพได้ง่ายขึ้้น
เช่น นาฬิกาอัจฉริยะ ที่่สามารถติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ ติดตามจำนวนก้าวในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม งานศึกษาพบว่า การรสวมใส่นาฬิกาอัจฉริยะไม่สามารถลดพฤติกรรมเนือยนิ่่งในแต่ละวันได้ หากไม่มีนโยบายในระดับสังคม องค์กร และสิ่่งแวดล้อมด้วย และมีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการส่งข้อความเตือน เพิ่มโอกาสช่วยเลิกบุหรี่ไดและคุ้มค่าทางการเงิน โดย40 % ของผู้ได้รับข้อความสามารถเลิกบุหรี่ได้
เทคโนโลยีดิจิทัล เพิ่มประสิทธิภาพบริการ
2.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ให้บริการสาธารณสุุข การใช้บริการการแพทย์ทางไกล สููงขึ้น 1.2–3.5 เท่าในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ตั้้งแต่มกราคม 2564–สิงหาคม 2565 การเข้ารับบริการ เป็นกลุ่่มโรคความดันโลหิตสููง มากที่่สุุด ตามด้วยเบาหวานชนิดที่่ 2 และโรคจิตเภท นอกจากนี้ ยังนำมาใช้ในการผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ และเพิ่่มประสิทธิภาพในการให้บริการผ่านการใช้แอปพลิเคชันคัดกรองคนไข้ เพิ่่มความแม่นยำภาพรวมเพิ่่มขึ้้นจาก 42.1 %เป็น 52.8 %และ ลดเวลาการทำงานในการส่งต่อผู้ป่วยจาก 95 วินาทีเป็น 82 วินาที
3.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่่อระบบสาธารณสุุข สามารถช่วยเพิ่่มประสิทธิภาพการให้ บริการลดต้นทุุนในการบริหารจัดการ และลดความแออัดในสถานบริการสุุขภาพ เช่น การผลักดันให้ สถานบริการเป็น Smart Hospital การพัฒนาระบบเพื่่อการจัดการระบบกระจายยาและเวชภัณฑ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีดิจิทัล ทำรูปแบบการทำงานเปลี่ยน
4.การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่่อบริการทางข้อมููล เทคโนโลยีดิจิทัลถููกนำมาใช้เพื่่อสนับสนุุนการใช้ข้อมููลเพื่่อบริการทางสาธารณสุุข ไม่ว่าจะเป็นการเชื่่อมโยงฐานข้อมููล การวิเคราะห์ ข้อมููลขนาดใหญ่ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ การเพิ่่มความโปร่งใสและความเชื่่อมั่่นในการเก็บข้อมููลสุุขภาพ
5.เทคโนโลยีดิจิทัลกับการอยู่อาศัย สภาพแวดล้อม และคุุณภาพความเป็นอยู่ หากนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะสม จะสามารภยกระดับความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตของคนได้
6.สภาพแวดล้อมการทำงานกับเทคโนโลยีดิจิทัล สถานประกอบการต่าง ๆ มีแนวโน้มใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยี ICT ที่่เกี่่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต การสื่่อสารผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์รููปแบบต่าง ๆ เพิ่่มมากขึ้้น ส่งผลให้สภาพแวดล้อม รวมถึง รููปแบบการทำงานของ คนทำงานมีแนวโน้มเปลี่่ยนแปลงด้วย
7.การศึกษากับเทคโนโลยีดิจิทัล ความท้าทายสำคัญ คือ
- ความไม่ครอบคลุุมและไม่เท่าเทียม ของการเข้าถึงเทคโนโลยีโดยผู้สอนและ ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม
- การใช้เทคโนโลยี ที่่ไม่เหมาะสมหรือไม่ส่งเสริมประโยชน์ ทางการเรียนรู้
- การปรับตัวของ ภาคการศึกษาที่่ไม่ทันต่อเทคโนโลยี ที่เปลี่่ยนแปลง
- การขาดการ พิจารณาอย่างรอบด้านเกี่่ยวกับประโยชน์และผลกระทบทางลบที่่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว
8.เครือข่ายและสื่่อสังคมออนไลน์ การเป็นทั้งโอกาสและความเสี่่ยงที่่เพิ่่มขึ้้นจากภัยออนไลน์รููปแบบ ต่าง ๆ ที่ผู้ใช้สื่่อสังคมออนไลน์ต้องมีความรอบรู้เท่าทัน
9.วิถีชีวิตกับเทคโนโลยีดิจิทัล มีบทบาทสำคัญในการอำนวยความสะดวกให้กับวิถีชีวิตประจำวันของคนไทย ทั้งการสื่่อสาร การซื้อของ การทำธุุรกรรมการเงิน และความบันเทิง แต่มาพร้อม ความเสี่ยง เช่น การถููกหลอกลวง อาชญากรรมทางเทคโนโลยี และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
แนวทางเทคโนโลยีดิจิทัล สร้างเสริมสุุขภาพคนไทย
10.การตลาดดิจิทัล แพลตฟอร์มและสื่่อสังคมออนไลน์ถููกนำมาใช้ในเชิงการค้าและการตลาดดิจิทัล (digital marketing) ของสินค้าที่ไม่ดีต่อสุุขภาพและสิ่่งเสพติดเพิ่่มขึ้้น โดยเฉพาะบุุหรี่ไฟฟ้ม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เกม และการพนันออนไลน์ การกำหนดมาตรการและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่่ยวข้องเพื่อจัดการปัจจัยการค้ากำหนดสุขภาพ (commercial determinants of health) ที่่เป็นปัจจัยเสี่่ยง ผ่านช่องทาง ออนไลน์รููปแบบต่าง ๆ จึงต้องมีการติดตามและปรับเพื่่อตามให้ทัน
11.แนวทางการส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างเสริมสุุขภาพคนไทย ซึ่งThe Lancet and Financial Times Commission ได้จัดทำรายงานเพื่่อเสนอแนวทางในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อความยั่งยืนของสุุขภาพในอนาคตไว้ 4 ประการ ได้แก่
- การให้ความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นหนึ่่งในปัจจัย กำหนดสุุขภาพ
- การสร้างธรรมาภิบาล และความเชื่่อมั่่นสาธารณะในการ ใช้เทคโนโลยีในทางสุุขภาพ
- พัฒนาแนวทางการเก็บและใช้ข้อมููลสุุขภาพไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการใช้ข้อมููลเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ
- การลงทุุนและวางแผนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสุขภาพ
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ
รศ.ดร.เฉลิมพล กล่าวต่อว่า สถานการณ์เด่นทางสุขภาพปี 2567 ที่อยู่ในความสนใจของสังคม มี 10 สถานการณ์ ได้แก่
1.การกราดยิงกับแนวทางการควบคุมอาวุธปืน
2.ปัญหาแพทย์ลาออก ควรดำเนินการอย่างไร
3. สองทศวรรษของบัตรทอง : การขยายสิทธิประโยชน์แบบจัดหนักจัดเต็ม
4.การพนันออนไลน์ กับดักเยาวชนและคนหนุ่มสาว
5.เกิดแล้วเกิดอีก อุบัติเหตุจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่
6.มาเฟียข้ามชาติกับการแก้ไขปัญหา
7.แรงงานไทยในตะวันออกกลาง ทางสองแพร่งระหว่างความมั่งคั่งกับความมั่นคงในชีวิต
8.มลพิษทางอากาศคร่าชีวิตคนไทย 3 หมื่นคนต่อปี ถึงเวลาทวงสิทธิอากาศสะอาด
9.การถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. ความเป็นมา ปัญหาความท้าทาย
และ 10.ธรรมนูญสุขภาพฉบับที่ 3 มุ่งสู่ระบบสุขภาพที่เป็นธรรม
ต้นเหตุความเครียดแต่ละช่วงวัย
รศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เรื่องพิเศษฉบับนี้ คือ "ความเครียด" จากสถิติและข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เป็นไปในทางเดียวกันว่า คนไทยเครียดมากขึ้น ข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุว่า คนไทยเป็นโรคซึมเศร้าและมีการฆ่าตัวตายจากปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นจากปี 2563 มี 355,537 คน เพิ่มเป็น 358,267 คน ในปี 2564 หรือเพิ่มขึ้น 2,730 คน อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จปี 2563 อยู่ที่ 5-6 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มเป็น 7.4 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2564 กลุ่มอายุที่ฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ 15-34 ปี
ขณะที่ข้อมูลกรมสุขภาพจิตเมื่อเดือนมีนาคม 2565 พบว่า ประชาชนมีความเครียดสูงขึ้น 2.1 เท่า โรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้น 4.8 เท่า เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายถึง 5.9 เท่า โดยส่วนใหญ่คนมุ่งดับอารมณ์แห่งความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ แต่ไม่ได้มุ่งค้นหาสาเหตุหรือทางแก้เหตุ เช่น การใช้ความรุนแรง การเบี่ยงเบนความสนใจของตนเอง ที่อาจนำไปสู่ผลกระทบสุขภาพ อย่างการติดบุหรี่ เหล้า หรือใช้สารเสพติด
คนแต่ละช่วงวัยมีต้นเหตุความเครียดแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะไม่แตกต่างมากนัก
1.วัยเด็กเป็นเรื่องการเรียน ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ และการคบเพื่อน
2.วัยทำงานเป็นเรื่องสร้างฐานะ สร้างครอบครัว และดูแลคนในครอบครัว โดยพบปัญหาเสี่ยงหมดไฟ 57% หมดไฟ 12%
3.วัยสูงอายุเป็นเรื่องสุขภาพ การเงิน และความโดดเดี่ยว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและความบีบคั้นทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้คนดิ้นรน เปรียบเทียบ แก่งแย่ง ช่วงชิง และเบียดเบียนกันมากขึ้น เป็นสิ่งเร้าภายนอกที่สุมให้อุณหภูมิความเครียดภายในสะสมสูงขึ้น จนกลายเป็นภาวะเรื้อรังของสังคมในศตวรรษที่ 21 ทั้งที่โลกเจริญด้วยเศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่ทำให้ทุกอย่างสะดวกสบาย
“การฟื้นสภาพ (resilience) ด้านจิตใจเป็นทักษะสำคัญที่ทุกคนต้องได้รับการฝึกฝน การพัฒนาจิตวิทยาเชิงบวก เพื่อสร้างความมั่นใจในการแก้ไขและควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น การมีมุมมองในทางสร้างสรรค์ หรือชี้ให้เห็นถึงด้านดีของการมีความเครียดในระดับที่เหมาะสม จะทำให้คนพยายามแก้ปัญหา รวมถึงควรมีการปลูกฝังกรอบแนวคิดแบบเติบโต (growth mindset) เพื่อรับมือกับความเครียดที่จะมาในรูปแบบและระดับต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” รศ.ดร.ภูเบศร์ กล่าว