แจกฟรี! กล้าพันธุ์ "สมุนไพรสู้เบาหวาน" 6 ชนิด มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

แจกฟรี! กล้าพันธุ์ "สมุนไพรสู้เบาหวาน" 6 ชนิด มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

ไฮไลท์มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ แจกฟรี กล้าพันธุ์สมุนไพรสู้เบาหวาน 6 ชนิด -คลินิกตรวจรักษาแพทย์แผนไทย -นวดผู้มีบุตรยาก คาดเงินสะพัด 300 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2566 รัฐเร่งแผนกระตุ้นใช้ในประเทศ-ส่งออก ขับเคลื่อนสู่เป้าตลาด 1 แสนล้านบาทในปี  70

เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567  ที่ อาคาร 11 – 12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี ภายในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติครั้งที่ 21 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า แพทย์แผนไทยมีตำรับการรักษาที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ไทย ทั้งสมุดข่อยและบันทึกใบลานมากกว่า 5 หมื่นตำรับ โดยสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงให้ความสำคัญและสนพระทัยในตำรับยาหลายอย่างอย่างมาก พระองค์ท่านฯ ทรงมีความรู้อย่างลึกซึ้ง ทรงมีพระราชดำรัสและให้คำแนะนำในการใช้สมุนไพรเพื่อสร้างตลาดสมุนไพรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตนและข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ได้น้อมรับใส่เกล้าและเพื่อดำเนินการ

อย่างเช่น ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีการนำเข้ายาจากต่างประเทศมากกว่า 70,000 ล้านบาทต่อปี ตนจะมอบนโยบายให้มีการแบ่งตลาดมาใช้ยาสมุนไพรไทย เพื่อสร้างความมั่นคงทางยา ไม่ต้องพึ่งพาการนำเข้ายาจากต่างประเทศ

“รัฐบาลให้การสนับสนุนส่งเสริมเรื่องเมดิคัลฮับ เวลเนสฮับที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรไทย นวดไทย สปาและอื่นๆ อย่างเต็มที่  ส่วนการส่งออกสมุนไพรไทยในต่างประเทศ ทาง นพ.ทวีศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้เจรจาร่วมกับประเทศทางตะวันตกและตะวันออกมากขึ้น พร้อมทั้งดูแลเรื่องการปรับปรุงตำรับยามากขึ้น เพราะที่ผ่านมาถูกทอดทิ้งทำให้ขาดช่วงการศึกษาไปนาน จึงต้องออกตัวอย่างแรง คาดว่าในช่วง 2 ปีนี้จะตามตลาดโลกได้ทันตอนนี้ต่างชาติมองเราเข้ามาดูแล้วอยากให้ไทยไปลงทุนทั้งในตะวันออกกลางและจีนมีแนวแลกเปลี่ยนกัน”นายสมศักดิ์กล่าว

แจกฟรี! กล้าพันธุ์ \"สมุนไพรสู้เบาหวาน\" 6 ชนิด มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

ขับเคลื่อนสมุนไพรต้นน้ำ-ปลายน้ำ

ด้านนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า  ตลอด 5 วันของการจัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ คาดว่าจะมีเงินสะพัดมากกว่า 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่อยู่ที่ราว 250 ล้านบาท  ทั้งนี้ ตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 –2570 ในปี 2570 ตลาดของผลิตภัณฑ์สมุนไพรของประเทศไทยจะมีมูลค่าสูงถึง 104,000 ล้านบาท

ภาครัฐได้ส่งเสริมพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร โดยในส่วนของต้นน้ำ มีการขยายพื้นที่เพะปลูกสมุนไพรจาก 18,000 ไร่ เป็น 1,059,818 ไร่ เกษตรกรปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้นจาก 5,400 ราย เป็นกว่า 360,000 ราย

กลางน้ำ มีโรงงานภาคเอกชนผลิตยาสมุนไพร ประมาณ 1,000 แห่ง โรงงานสกัด 11 แห่ง และโรงพยาบาลที่ผลิตยาสมุนไพรตามมาตรฐาน WHO GMP ทั่วประเทศ 46 แห่ง   คิดเป็นมูลค่าการใช้ยาสมุนไพรในระบบบริการสุขภาพทั่วประเทศ เฉลี่ยปีละ 1.5 พันล้านบาท

ปลายน้ำ ในปี 2566 ผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศมีมูลค่า 56,944 ล้านบาท มีการส่งเสริมด้านการวิจัยและพัฒนาสมุนไพรมากขึ้น โดยพัฒนาต่อยอดสมุนไพรแชมเปี้ยน 12 รายการ มีผลงานวิจัยมากกว่า 141 โครงการ เพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 6,604 ล้านบาท และยังเพิ่มการลงทุนเพื่อการวิจัยและนวัตกรรมเป็น 3,631 ล้านบาท โดยเป็นการวิจัยพัฒนาสมุนไพรอย่างครบวงจร กว่า 1,295 โครงการ

ไฮไลท์มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

สำหรับไฮไลท์ในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติฯ ครั้งที่ 21 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 - 7 กรกฎาคม 2567 ที่ ฮอลล์ 11 – 12 อิมแพค เมืองทองธานี จัดงานแบ่งออกเป็นโซนกิจกรรม ดังนี้ 1.โซน Service มีคลินิกให้คำปรึกษา ตรวจรักษาโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้แก่ คลินิก 5 โรค สะเก็ดเงิน, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ประกอบด้วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมอง, โรคปวดเรื้อรังและนอนไม่หลับ, การดูแลคุณแม่หลังคลอด และคลินิกบำบัดยาเสพติด

แจกฟรี! กล้าพันธุ์ \"สมุนไพรสู้เบาหวาน\" 6 ชนิด มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

2.โซน Wisdom พบหมอไทยดีเด่นแห่งชาติ นวดผู้มีบุตรยาก หมอพื้นบ้าน 4 ภูมิภาค นวดอัตลักษณ์ไทย อาทิ เหยียบเหล็กแดง นวดน้ำมันลังกาสุกะ นวดนักกีฬา สมุนไพรอัตลักษณ์จาก 76 จังหวัด ซึ่งบางต้นเป็นสมุนไพรหายาก ใกล้สูญพันธุ์มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม 3.โซน Product ให้คำปรึกษาเรื่องการส่งออก และภาพรวมตลาดสมุนไพร จัดแสดงนิทรรศการการวิจัยเกี่ยวกับสมุนไพรและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์ Premium Product

4.โซน Wellness ให้บริการนวดไทย ในการสร้างเสริมสุขภาพ เช่น นวดเท้า คอบ่าไหล่ โชว์โมเดลการจัดสปาเพื่อสุขภาพ แหล่งผลิตภัณฑ์ชุมชน การให้คำปรึกษาเพื่อยกระดับสถานประกอบการแหล่งท่องเที่ยวอัตลักษณ์ไทย อาหารเพื่อสุขภาพ อาหารสมุนไพร 4 ภาค สวนสมุนไพรและตรวจรักษาโรคเมตาบอลิกซินโดรม

 5.โซน Innovation ให้คำปรึกษา นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา การจัดแสดงผลิตภัณฑ์นวัตกรรมต้นแบบของกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร และมหาวิทยาลัย เครือข่ายนักวิจัย การสาธิตการทำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร บริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

 6.โซนจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรคุณภาพ ชิม ชม ช้อป ผลิตภัณฑ์และสินค้าคุณภาพจากสมุนไพรโดยผู้ประกอบการกว่า 400 ร้าน และ 7.เวทีหลัก กิจกรรมเสวนาสาธิต และการแสดงศิลปวัฒนธรรม และศิลปิน นักแสดง

แจกฟรีกล้าพันธุ์สมุนไพรสู้เบาหวาน

ทั้งนี้ จะมีการแจกฟรี กล้าพันธุ์สมุนไพรสู้เบาหวาน เป็นทั้งอาหารและยา  วันละ 300 ต้น ได้แก่  มะขามเทศแดง ,มะระขี้นก,ฝรั่งขี้นก,หว้าใหญ่,หญ้าหวาน,กำแพงเจ็ดชั้น  ที่บูธอภัยภูเบศร

ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า มะระขี้นเป็นผักที่หาได้ง่ายมาก หลักๆ มะระขี้นกออกฤทธิ์ได้ 5 กลไกสำคัญในเรื่องของเบาหวาน คือ

แจกฟรี! กล้าพันธุ์ \"สมุนไพรสู้เบาหวาน\" 6 ชนิด มหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ

1.ฟื้นฟูตับ ทำให้การสร้างการดึงน้ำตาลไปใช้มีประสิทธฺภาพมากขึ้น

2.ตับอ่อน ทำให้การหลั่งอินซูลินลดน้ำตาลได้ดีขึ้น

3.เนื้อเยื่อไขมัน ทำให้ไขมันอักเสบน้อยลง เพราะเวลาน้ำตาลเยอะๆ จะทำให้ไขมันอักเสบและทำงานผิดเพี้ยน และทำให้เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนความอิ่ม ทำให้อิ่มมากขึ้น รับประทานน้อยลง

4.ลำไส้เล็ก ช่วยลดการดูดซึมน้ำตาล

5.ในเลือด คือ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด

"มะระขี้นกเป็นสมุนไพรที่ปลอดภัย เพราะมีประสบการณ์การเป็นอาหาร ออกฤทธิ์ได้กว้างขวาง ไปเสริมฤทธิ์กับการใช้ยาได้ตามปกติ แต่สิ่งที่ประชาชนควรรู้คือ มะระขี้นกถ้าตัวผลไม่ได้สุกจากการอายุมาก หรือไม่ได้ผ่านความร้อน เมล็ดต้องเอาทิ้งเพราะเมล็ดที่ไม่สุกมีความเป็นพิษได้ หากจะกินเป็นอาหารแนะนำว่า ต้องกินอย่างหลากหลาย สลับไปมา และหลากสี ส่วนที่ต้องการใช้เป็นยาหรือผลิตภัณฑ์ ต้องดูความจำเป็นด้วย เช่น กินยาแผนปัจจุบันอยู่แล้วควบคุมอาการได้ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ หรือหากใช้ยาลดน้ำตาลอยู่แต่ควบคุมไม่ได้ การใช้มะระขี้นกเสริมก็มีความเป็นไปได้”ภญ.ผกากรองกล่าว 

กลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังมะระขี้นก คือ ผู้ที่มีค่าการกรองของไตไม่ดี ค่าการทำงานตับไม่ดี สูงกว่าค่าปกคติ 3 เท่า หรือมีโรคตับที่แอคทีฟไม่ควรกิน แต่ถ้ากินรูปแบบเม็ด กลุ่มเปราะบาง เช่น หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เด็ก ไม่ควรใช้ แต่ถ้าใช้รูปแบบอาหาร คุณแม่จะกินผัดมะระขี้นกใส่ไข่ก็ทำได้ในปริมาณไม่เยอะ และหลากหลาย