มูลค่า "เวลเนส"ใหญ่กว่า "เมดิคัล ฮับ" รัฐผลักดันต้องกล้าคลายกฎบริการ

มูลค่า "เวลเนส"ใหญ่กว่า "เมดิคัล ฮับ" รัฐผลักดันต้องกล้าคลายกฎบริการ

มูลค่าตลาด Medical Tourism ปี 2024 ราว 1 ล้านล้านบาท คาดขยายตัวเฉลี่ย 21.6% ต่อปี  ขณะที่ Wellness Tourism มูลค่า 22 ล้านล้านบาท ไทยอยู่อันดับ 9 เอเชีย-แปซิฟิก ย้ำรัฐต้องเอาจริง กล้าตัดสินใจคลายล็อกกฎเกณฑ์ เปิดช่องบริการ  

เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2567 ที่โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพ  นพ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช กรรมการผู้จัดการ โรงพยาบาลเมดพาร์ค(MedPark) กล่าวหัวข้อ Thailand Medical and Wellness Tourism Competitiveness ภายในงาน “ASEAN Economic Outlook 2025: The Rise of ASEAN, A Renewing Opportunity” จัดโดย กรุงเทพธุรกิจว่า มูลค่าตลาดทั่วโลกของ Medical Tourism อยู่ที่  36 พันล้าน USD หรือประมาณ 1 ล้านล้านบาท ในปี 2024 คาดการณ์ขยายตัวเฉลี่ย 21.6% ต่อปี ซึ่งจะมีมูลค่าราว 253 พันล้าน USD เกือบ 10 ล้านล้านบาท ในปี 2034

มูลค่า Wellness Economy 5.6 ล้านล้าน

สำหรับ Wellness Economy ในปี 2022 ทั่วโลกมีมูลค่า ราว 5.6 ล้านล้าน USD โดยเป็นส่วนของ Wellness Tourism ซึ่งเป็นการเดินทางของคนที่ไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วย แต่เลือกเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ ทำให้สุขภาพดีขึ้น หรือแม้กระทั่งป้องกันโรคได้ด้วย มูลค่า 651 พันล้าน USD หรือ 22 ล้านล้านบาท ใหญ่กว่า Global Medical Tourism)

โดยภูมิภาค Asia-Pacific  เป็นตลาด Wellness ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจาก อเมริกาเหนือ  ขณะที่ประเทศไทยมีมูลค่า Wellness Economy อยู่ที่  34.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นอันดับ 9 ของภูมิภาคAsia-Pacific รองจากหลายประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย โดยมีมูลค่าใกล้เคียงกับมาเลเซีย
มูลค่า \"เวลเนส\"ใหญ่กว่า \"เมดิคัล ฮับ\" รัฐผลักดันต้องกล้าคลายกฎบริการ

รัฐต้องคลายล็อกกฎระเบียบ

นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวอีกว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้องการสนับสนุนเมดิคัล ฮับที่รายได้ราว 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 60,000-70,000 ล้านบาท  ซึ่งหากรวมตลาดเวลเนสที่น่าจะมีมูลค่าเกิน 1 แสนล้านบาท โตกว่าตลาดเมดิคัลมาก เพราะมีเรื่องท่องเที่ยว  นวด  สปา อาหาร และอื่นๆ ก็จะเป็นโอกาสของประเทศไทยอย่างมากที่จะดึงต่างชาติเข้ามาใช้บริการ   แต่รัฐบาลจะต้องมีการส่งเสริมอย่างจริงจัง

การจะเปิดตลาดเวลเนสในประเทศไทยให้ขยายขึ้น  กฎหมายจะต้องยอมรับ และรองรับ ยินยอมให้ทำได้ โดยแพทยสภา นโยบายรัฐบาลต้องมีความชัดเจน จะเปิดให้กับบางบริการ โดยกำหนดกฎเกณฑ์ในการให้ดำเนินการ เช่น  แพทยสภาให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเข้ามาเป็นกรรมการร่วม ในการพิจารณาการให้บริการบางอย่างที่เป็นเรื่องใหม่ 

เช่น สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคหัวใจ ซึ่งเคยมี รพ.เอกชนในประเทศไทยทำมาตั้งแต่เมื่อ 20 ปีก่อนแล้วแต่ต้องหยุดไปเพราะไม่อนุญาต เป็นต้น เพราะฉะนั้นถ้าอยากได้จีดีพีมากขึ้น  รัฐจะต้องเปิดกว้างกฎระเบียบบางอย่างมากขึ้น ถือเป็นความท้าทายในเรื่องเวลเนส

มูลค่า \"เวลเนส\"ใหญ่กว่า \"เมดิคัล ฮับ\" รัฐผลักดันต้องกล้าคลายกฎบริการ

นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าวอีกว่า เวลารัฐจะคิดนโยบายอย่าคิดเองในราชการ จะต้องอาศัยภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมคิด และช่วยผลักดันด้วย  ขณะที่รัฐจะต้องมีการสนับสนุนเป็นเรื่องราว แต่ปัจจุบันไม่มีกฎหมาย บีโอไอก็ยังไม่มีประกาศ จึงตัองเปิดให้เอกชนร่วมในการออกแบบ และนำเสนอ ไม่แค่เรื่องการรัษา แต่รวมถึงเรื่องการศึกษา วิจัยต่างๆ ต้องเปิดช่องให้เอกชนทำได้ด้วย  ทั้งนี้ เมดพาร์คกำลังจะทำคลินิกเวลเนส ที่วันแบงกอก ไม่ใช่เวลเนสทั่วไป แต่มีกรรมการแพทย์คัดเลือกในการให้บริการ อะไรที่มั่นคงยั่งยืน ถึงจะทำ

“ปัจจุบัน รพ.เอกชนรองรับเรื่องเมดิคัลฮับแค่ 10 % ได้ยอดเงินราว 70,000 ล้านบาท ถ้าขยับเป็น 100 % จะมีรายได้เพิ่มเป็น 7 แสนล้านบาท  การเติบโตทางเศรษฐกิจ 5 %  หากรัฐบาลอยากได้ตัวเลขนี้ต้องตัดสินใจ รัฐบาลต้องเอาจริง และหากผนวกรวมเรื่องเวลเนสด้วย จะเป็นโอกาสอย่างมากของประเทศไทย” นพ.พงษ์พัฒน์ กล่าว

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์