แถลงนโยบายรัฐบาล สธ.เร่งขับเคลื่อน 3 เรื่องหลัก ปรับเพิ่ม 2เป้าหมาย

แถลงนโยบายรัฐบาล สธ.เร่งขับเคลื่อน 3 เรื่องหลัก ปรับเพิ่ม 2เป้าหมาย

แถลงนโยบายรัฐบาล สธ.เร่งขับเคลื่อน 3 เรื่องหลัก พร้อมปรับเป้าหมายระบบสาธารณสุขไทย เพิ่มยกระดับการบริการให้ประชาชนในประเทศ -เพิ่มศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 12 ก.ย.2567 ที่ห้องประชุมวงษ์ชวลิตกุล มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล จ.นครราชสีมา นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวระหว่างการเป็นประธานเปิดการประชุมโครงการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี  2567 “นวัตกรรมการจัดการสุขภาพอย่างยั่งยืน สู่การยกระดับบริการสาธารณสุขในยุคดิจิทัล”ว่า  การพัฒนาระบบสาธารณสุขร่างนโนบายรัฐบาลที่จะแถลงต่อรัฐสภา มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)หลายเรื่อง  โดยประเด็นแรก คือ จิตเวชและยาเสพติด ,โครงการยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว และ3.เมดิคัลฮับ เรื่องอุตสาหกรรมบริการทางการแพทย์  

“3  เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่สธ.จะดำเนินการหลักในปีงบประมาณ 2568 เพื่อตอบสนองต่อนโยบาย รวมถึง นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข มีนโยบายในเรื่องของการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยในฐานะที่พวกเราเป็นฝ่ายปฏิบัติตั้งแต่ระดับกรม จนถึงระดับอำเภอ จะนำมาปฏิบัติแบบทำทันที ทำต่อเนื่อง และทำแล้วพัฒนา”นพ.โอภาสกล่าว    

แถลงนโยบายรัฐบาล สธ.เร่งขับเคลื่อน 3 เรื่องหลัก ปรับเพิ่ม 2เป้าหมาย

เงินสด เงินบำรุงรพ.สธ.มีแค่ 20,000 ลบ.

ปัจจุบันการสาธารณสุขในยุคดิจิทัล ในช่วงปีที่ผ่านมามีการปรับเข้าสู่ดิจิทัลได้เร็วขนาดนี้  โดยรพ.สธ.ให้การดูแลผู้ป่วยนอก 1 ล้านคนต่อวัน และผู้ป่วยใน 1 แสนคนต่อวัน ในแต่ละวันรพ.สธ.มีการปฏิสัมพันธ์กับคนมากกว่า  2-3 ล้านคน เป็นศักยภาพที่มหาศาล แต่สิ่งที่องค์กรขนาดใหญ่รวมถึงสธ.จะต้องดำเนินการในอนาคต คือ ความยั่งยืน จะเกิดขึ้นโดยการกลับไปดูจุดที่สามารถพัฒนาได้ ซึ่งมีหลายจุดที่ยังสามารถพัฒนาได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน จะเกิดความยั่งยืนได้ โดยทำเป้าหมายได้สำเร็จ ภายใต้ทรัพยากรที่เพียงพอ แล้วมีการต่อยอด ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
อย่างไรก็ตาม ยังมีจุดที่เป็นปัญหาและต้องการการสนับสนุน อย่างเช่น 1. การมีทรัพยากรที่เพียงพอ โดยเฉพาะเรื่องบุคลากร ที่ไม่ขาดแคลนมากเหมือนอดีตแต่ก็ยังไม่เพียงพอ  แต่หากสามารถเพิ่มเติมได้ในทุกวิชาชีพ จะยกระดับได้ และ2.มีทรัพยากรบริหารจัดการได้อย่างเพียงพอ เรื่องเงิน ในเรื่องรพ.ขาดทุนจำนวนมาก ไม่ใช่เรื่องใหม่ เดิมใช้คำว่ารพ.วิกฤติระดับ 7  ซึ่งรพ.ไม่ได้คิดเรื่องกำไรขาดทุน แต่คำว่ารพ.ขาดทุนหมายความว่ารพ.เริ่มที่จะมีเงินไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ ถ้ารพ.มีงบไม่เพียงพอ บุคลากรก็ได้รับค่าตอบแทนน้อยลง เพราะในเงินบำรุงของรพ.

โดยแต่ละปี รพ.สธ.ราว1,000 แห่ง มีสิ่งที่ต้องบริหารจัดการ เช่น ค่าบุคลากร ค่ายา ค่าน้ำค่าไฟ ค่าซ่อมแซม ต้องใช้เงินเดือนละ 10,000 ล้านบาท และการบริหารในองค์กรควรมีเงินสดสำรองสำหรับการใช้จ่ายอย่างต่ำ 3-6 เดือน  แปลว่าเงินบำรุงควรจะมีอย่างน้อย 60,000ล้านบาท แต่ปัจจุบันมี

ราว 40,000 กว่าล้านบาท แต่เป็นเงินสดแค่ 20,000 ล้านบาท อีก 20,000 ล้านบาทเป็นตัวเลขทางบัญชี เป็นหนี้สินระหว่างกัน ไม่อยากเรียก NPL แต่ก็คือเก็บไม่ได้  ซึ่งเงินบำรุงถามว่าพอหรือไม่ เพียงแค่ แคลชโฟลวก็ลำบากแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าทำให้ระบบการเงินของรพ.มีความเข้มแข็ง  ดังนั้น หากสามารถจัดการเรื่องบุคลากรและทรัพยากรเพียงพอ จะทำให้เกิดความยั่งยืน คือ คนพอ เงินพอ กระบวนการพอปรับโครงสร้างเหมาะสมกับระบบสาธารณสุขในอนาคต

ปรับเป้าหมายระบบสาธารณสุข

“ถ้าพัฒนาระบบสาธารณสุขไปอีกขั้น นอกจากเรื่องของทรัพยากรที่เพียงพอ เป้าหมายต้อเปลี่ยนไปด้วย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องปรับเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข เพิ่มยกระดับการบริการให้ประชาชนในประเทศ และเพิ่มศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ ดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศ โดยปัจจุบันหลายประเทศ อยากส่งคนมารักษาในประเทศไทย เพราะเชื่อในศักยภาพ คุณภาพ และราคา เป็นครั้งแรกที่มียุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพของประเทศ ที่มีการคิดเผื่ออุตสาหกรรมทางการแพทย์ด้วย”นพ.โอภาสกล่าว 

แถลงนโยบายรัฐบาล สธ.เร่งขับเคลื่อน 3 เรื่องหลัก ปรับเพิ่ม 2เป้าหมาย

สธ.เร่ง 3 เรื่อง แถลงนโยบายรัฐบาล

ผู้สื่อข่าวถามว่าหลังแถลงนโยบายรัฐบาลแล้วสธ.จะมีการวางแนวทางขับเคลื่อนอย่างไร นพ.โอภาส กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายแล้ว ในส่วนของสธ.ก็จะเริ่มทันที ทำต่อเนื่อง ทำแล้วพัฒนา โดยเฉพาะในเรื่อง 1.การยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียวก็จะมีการต่อยอด  และตามเป้าหมายจะทำให้ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2567

2.การดูแลสุขภาพจิตและยาเสพติด ที่มีการขยายบริการ การดูแลในทุกรพ.แล้ว แต่จะต้องเชื่อมโยงเครือข่ายกับกระทรวงมหาดไทย ในการสร้างดูแลของสังคมต่อไป 

3.อุตสาหกรรมทางการแพทย์

และ 4.นโยบายของนายสมศํกดิ์  เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ที่ให้ความสำคัญกับการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรค NCDs เนื่องจากเป็นภัยที่ทำให้ประชาชนต้องสูญเสียสุขภาพที่ดี  สูญเสียความสามารถในการหารายได้  ถ้าป้องกันโรคนี้ได้ก็จะประหยัดค่ารักษาและทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี

นพ.โอภาส กล่าวด้วยว่า นโยบายรัฐบาลที่มีการแถลงจะมีเรื่องของอุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพหรือเวลเนสและเมดิคัลฮับ ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศได้ ซึ่งเดิมไม่ได้มีการนึกถึงเรื่องนี้มากนัก แต่ในระบบสาธารณสุขยุคใหม่เชื่อว่าโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างเพียงพอแล้ว แต่ต้องต่อยอด โดยการผลิตบุคลากรเพิ่มเติมหรือเพิ่มศักยภาพ  เพื่อดึงเม็ดเงินจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

เหมือนระบบสาธารณสุขเป็นSoft Power และHard Power ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ และจะทำให้ระบบสาธารณสุขเกิดการยกระดับบริหารด้วย เนื่องจากเมื่อรพ.แห่งหนึ่งมีการพัฒนาขึ้น ส่วนของรพ.อื่นก็จะพต้องพัฒนาตามไปด้วย เป็นการยกระดับระบบสาธารณสุขไปอีกขึ้น

“มีการประเมินมูลค่าจากเวลเนสและเมดิคัลฮับไว้หลักแสนล้านบาท  โดยเฉพาะเรื่องที่น่าสนใจและต้องมีการทบทวนอย่างจริงจัง คือ เรื่องของอุตสาหกรรมบริการความงาม ซึ่งปัจจุบันประเทศเกาหลีใต้เป็นเบอร์ 1 ของโลก ส่วนประเทศไทยเป็นเบอร์ 2 ทั้งที่ยังไม่ได้มีการส่งเสริมอย่างจริงจัง จึงต้องกลับมาทบทวนว่าประเทศไทยจะวางยุทธศาสตร์เรื่องนี้อย่างไร เพื่อต่อยอดในเชิงการสร้างผลิตภาพของประเทศได้”นพ.โอภาสกล่าว 

กระจายอำนาจเขตสุขภาพ

ที่ผ่านมาระบบสาธารณสุข มีรพ.หลายแห่งมีการปรับโฉม รพ.สังกัดสธ.ไม่ได้ เป็นรพ.โทรมๆเก่าๆ มีการปรับโฉมได้อย่างดี ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีระบบเขตสุขภาพ โดยมีผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประหนึ่งปลัดอยู่ในเขตสุขภาพนั้น สามารถบูรณาการงบประมาณ คนและเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เกิดความเข้มแข็ง อนาคตจึงมีแนวคิดที่จะปรับเขตสุขภาพมีอำนาจเป็นเหมือนกรม ส่วนผู้ตรวจฯขยับมีอำนาจเหมือนอธิบดี ซึ่งตอนนี้ก็มีการบริการเต็มอยู่แล้ว โดยทำให้ส่วนกลางมีอำนาจลดลง ไปเพิ่มความเข้มแข็งให้ภูมิภาคให้สามารถจัดบริการ บริการทรัพยากรได้ตรงตามโจทย์บริบทของประชาชนในพื้นที่