สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพ เฝ้าระวังคุณภาพอากาศค่าเกินมาตรฐานถึง 1 ม.ค.66
"คุณภาพอากาศ" สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 กรุงเทพวันนี้ (29 ธ.ค.2565) ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ณ เวลา 07.00 น. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
"คุณภาพอากาศ" สถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 กรุงเทพวันนี้ (29 ธ.ค.2565) ผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก ณ เวลา 07.00 น. มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ โดยตรวจวัดได้ระหว่าง 27-63 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) ดังนี้
- กรุงเทพเหนือ (บางซื่อ บางเขน สายไหม) วัดได้ 34-46 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพตะวันออก (คลองสามวา ประเวศ หนองจอก) วัดได้ 34-53 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพกลาง (สัมพันธวงศ์ วังทองหลาง) วัดได้ 32-45 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงเทพใต้ (บางนา ยานนาวา ปทุมวัน) วัดได้ 34-46 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงธนเหนือ (ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางพลัด) วัดได้ 42-57 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
- กรุงธนใต้ (หนองแขม บางบอน บางขุนเทียน) วัดได้ 40-63 มคก./ลบ.ม. (อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง)
ฝุ่นละออง PM 2.5 มีค่าเกินมาตรฐาน 6 พื้นที่
ประกอบด้วย เขตหนองแขม เขตบางบอน เขตทวีวัฒนา สวนทวีวนารมย์ (เขตทวีวัฒนา) เขตคลองสามวา เขตตลิ่งชัน
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 41.0 มคก./ลบ.ม.
- PM 2.5 ค่ามาตรฐาน เฉลี่ย 24 ชม. ไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ในช่วงวันที่ 29 ธ.ค.2565 – 2 ม.ค.2566 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นระลอกใหม่ได้แผ่ลงมาถึงประเทศจีนตอนใต้แล้ว ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส
ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค.2565 - 1 ม.ค.2566 อากาศมีเสถียรภาพ ประกอบกับเกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น และอัตราการระบายไม่ดีในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5 เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามความกดอากาศสูงรอบใหม่จะเข้ามาในช่วงปีใหม่จะทำให้ฝุ่นลดลง เนื่องจากลมที่แรงขึ้นทำให้อัตราการระบายอากาศสูงขึ้น
วันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อัตราการระบายฝุ่นละอองไม่ดี มีการสะสมของฝุ่นละออง PM 2.5
สำนักสิ่งแวดล้อมจึงได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน