รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

ทำความรู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ล่าสุด เพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค สสส. – สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - สสว. สานพลังภาคีเครือข่าย หวังยกระดับวิสาหกิจชุมชน สร้างความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดPM2.5 ดูแลสุขภาพประชาชน

Ketpoint:

  • ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนโฉมใหม่  ช่วยคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค นำร่องใน 3 ผลิตภัณฑ์ สำหรับผู้ประกอบการชุมชน -SMEs 
  • ใช้กลไกผู้ผลิตสินค้าที่ใส่ใจในการผลิตที่ลดการสร้างมลพิษ PM2.5 และกลไกผู้บริโภคที่ตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหารอบด้าน 
  • ช่วยยกระดับสินค้าโอท็อป ผู้ประกอบการSME ผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลดีต่อทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อทำการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค ให้การรับรองกับผลิตภัณฑ์ระดับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีขนาดกลางและขนาดย่อม ในผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ผ้า  ผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย 

 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กรมการพัฒนาชุมชน (พช.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เปิดตัวฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค  

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

10 ชุมชนสลากสร้างสรรค์ ซ่อม-สร้าง-เสริม เพิ่มความแข็งแรงแก่ชุมชน

เปิด“นิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ชุมชนฯ" ส่งเสริมสินค้าชุมชน สร้างอาชีพ รายได้

ฉลากสิ่งแวดล้อม ช่วยคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร

วิธี "อ่านฉลากโภชนาการ” และ “สัญลักษณ์บนฉลาก” ให้เข้าใจ

 

5 ประโยชน์ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อสิ่งแวดล้อม

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่าหัวใจสำคัญประการหนึ่งในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 และมลพิษจากสิ่งแวดล้อม คือ การใช้กลไกผู้ผลิตสินค้าที่ใส่ใจในการผลิตที่ลดการสร้างมลพิษ และกลไกผู้บริโภคที่ตื่นตัว มีส่วนร่วมในการจัดการปัญหารอบด้าน

โดยสะท้อนผ่านการทำงานของ สสส. ที่มุ่งเป้าในการแก้ไขปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมในหลากหลายรูปแบบและตอบสนองปัญหาอย่างเร่งด่วน ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคนี้ เป็นตัวอย่างสำคัญในการสานพลังผู้เกี่ยวข้องทุกระดับที่ตั้งใจ ใส่ใจ เต็มใจ ผนึกกำลังแก้ปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาวะคนไทยอย่างมีทิศมีทาง

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค (Chumchon label for the protection of the environment and consumers หรือ CEC) เป็นฉลากใหม่ของประเทศ มี 5 ประเด็นเพื่อสนับสนุนการแสดงเจตนาเฉพาะอย่าง ได้แก่ 

1.ใช้สื่อสาร หรือจูงใจให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการเลือกใช้สินค้าที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้บริโภค

2.สนับสนุนการยกระดับวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ พัฒนาไปสู่การวางจำหน่ายบนแฟลตฟอร์มชั้นนำของประเทศ

3.สร้างความตระหนักรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วัสดุรีไซเคิล หรือนำไปรีไซเคิลได้

4.ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน ไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ ดิน อากาศ

5.สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค ด้วยการรับประกันสินค้า มีข้อมูลสินค้า คำแนะนำที่ชัดเจน มีการทดสอบหรือควบคุมสินค้าเพื่อความปลอดภัยขณะใช้งาน

 

ทำความรู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องสินค้ารักษ์โลก

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าวเสริมว่า สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ในฐานะสถาบันวิชาการอิสระ พัฒนาเอกชนด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม จัดทำโครงการภาคสนามเพื่อช่วยท้องถิ่นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผลักดันให้เกิดการประสานการทำงานร่วมกันระหว่างภาคีต่างๆ ในสังคม เชื่อมโยงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งระดับประเทศและระดับโลก

นอกจากนี้ ยังศึกษาวิจัยเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดฉลากสิ่งแวดล้อมสำหรับการรับรองผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ฉลากเขียว สำหรับฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค หรือ ฉลาก CEC สถาบันฯ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน

เนื่องจากที่ผ่านมาพบปัญหาผลิตภัณฑ์ชุมชน ที่ใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิต ไม่สามารถขอรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมที่มีหลักเกณฑ์ข้อกำหนดที่เข้มงวด และมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบสูง จึงไม่สามารถเข้าถึงตลาด หรือไม่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

“TEI สานพลัง สสส. และภาคีเครือข่าย พัฒนามาตรฐานฉลากที่ส่งเสริมการดำเนินการในระดับชุมชนอย่างเหมาะสม เพื่อรับรองความสามารถและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคถึงความปลอดภัยเมื่อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ มีกลุ่มเป้าหมายของฉลากนี้เป็นผู้ประกอบการโอทอป วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ขึ้นทะเบียนกับ สสว."ดร.วิจารย์ กล่าว

สถาบันฯ ได้ MOU กับ สสว. ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ SME ขอการรับรองฉลากเขียวอยู่แล้ว จึงถือเป็นโอกาสดีสำหรับความร่วมระหว่างหน่วยงาน ในการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดและการรับรองฉลากใหม่ขึ้น เพื่อให้การรับรองกับผลิตภัณฑ์ชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ พัฒนาศักยภาพการผลิตและบุคลากร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการประกอบการอย่างมีประสิทธิภาพ

รวมทั้งจะช่วยเพิ่มช่องทางการเข้าถึงตลาดให้กับผู้ประกอบการ  และกิจกรรมอบรมขั้นตอนการสมัครขอการรับรอง แนะนำหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการรับรอง แนวทางการตรวจประเมินสำหรับ 3 ผลิตภัณฑ์นำร่อง ได้แก่ 1.บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ 2.ผ้าและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้า และ 3.ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

สสว.พร้อมหนุนทุนผู้ประกอบการSME กว่า 80%

ดร.เพชรมณี ดาวเวียง รองผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจSMEs สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. กล่าวว่า สสส. มุ่งมั่นกับการพัฒนาผู้ประกอบการให้มีความรู้ครบในทุกมิติ ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านอาจยังไม่ทราบว่า ตนเองถนัดหรือขาดในเรื่องอะไร สสว. จึงได้ดำเนินงานพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ SMEs อย่างต่อเนื่อง ซึ่ง SME Knowledge Center  จะเป็นการจัดทำและพัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลสำหรับเอสเอ็มอีเพื่อประโยชน์ในการทำธุรกิจ

รวมถึงมีการจัดตั้งส่วนบริการ (Physical Site) ที่มีการให้คำปรึกษา โดยเน้นให้ความรู้เป็นกลุ่มย่อย เช่น จัดทำกรณีศึกษา จัดเวิร์กชอปหรือสัมมนาต่าง ๆ  สามารถประเมินความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ยูทูบ และ ดูแลระบบโครงสร้างให้เหมาะสม ทั้งผู้สอนและผู้ประกอบการ และมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด

นอกจากนั้น สสว. ดำเนินการโครงการ “หนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ (One Identification : SME One ID )” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงาน และให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกอบการสามารถใช้หมายเลข ID เดียวในการเข้าถึงบริการของภาครัฐทุกหน่วยงาน มุ่งเน้นการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ และลดความยุ่งยากในการจัดเตรียมเอกสารซึ่งเป็นต้นทุนและอุปสรรคในการขอรับอนุญาตและการส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย โดยโครงการหนึ่งรหัส หนึ่งผู้ประกอบการ จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ MSME ที่มีมากกว่า 3 ล้านราย

“ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนในครั้งนี้ สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างแน่นอน ซึ่งการสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ ต้องมี 4 สิ่ง  ได้แก่  1. กำไร การทำธุรกิจต้องได้กำไร แต่อาจจะไม่ได้เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียว แต่ต่อยอดธุรกิจให้ยั่งยืนได้ เพราะจะทำสินค้ารักษ์โลก โลกสวยแล้วต้องมีเงินในกระเป๋าด้วย 2. คนรอบข้าง  ต้องประสานงาน เพื่อจะไม่ได้เสียโอกาสในการผลักดันสินค้ารักษ์โลก ทุ่มทั้งสมอง เวลา และรักษ์โลก 3.การใช้ชีวิตประจำวันด้วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  สร้างความตระหนักให้แก่ผู้ประกอบการ และ 4.ต้องทำทันทันที ไม่ต้องรอ ซึ่งขณะนี้สสว.พร้อมต่อยอดทางธุรกิจ การสนับสนุนเงินทุนถึง 80% ให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงการเพิ่มทักษะต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการ” ดร.เพชรมณี กล่าว

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

หนุนชุมชนผลิตสินค้าโอท็อปเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

น.ส.อาภรณ์ เพชรรัตน์ นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนเชี่ยวชาญ สำนักงานส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่าบทบาทหน้าที่ของสำนักงานฯ คือ การทำให้เศรษฐกิจชุมชนมั่นคง เข้มแข็ง  มีข้อมูลของตัวเองโดยการเก็บข้อมูลร่วมกับชุมชน และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนในการจัดทำแผนของชุมชน  และมีการพัฒนาผู้นำกลุ่มชุมชนเครือข่าย เพื่อทำให้เศรษฐกิจฐานรากมีความมั่นคง และคนในชุมชนมีอาชีพสร้างรายได้แก่ตัวเองได้

"มีการขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ หรือโครงการโอท็อป สินค้าโอท็อป ซึ่งในขณะนี้มีทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ อาหาร เครื่องดื่ม ผ้าและเครื่องแต่งกาย สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร และของใช้ของที่ระลึก ซึ่งสิ่งที่เราตระหนักในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ คือ เกณฑ์การลงทะเบียนผู้บริโภค  ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และกระบวนการต้องใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อม" น.ส.อาภรณ์ กล่าว

อีกทั้ง เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสำนักงานฯ ได้มีการลงนามMOU ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.ในการผลักดันผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เป็นสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการเรียนรู้ให้แก่ผู้ประกอบการ คนในชุมชน ผลิตสินค้ารักษ์โลก ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รองรับกระแสผู้บริโภคที่ให้ความสนใจสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก การมีฉลากจะช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และทำให้ผลิตภัณฑ์โอท็อป ชุมชนได้ก้าวไปสู่ธุรกิจที่มีความยั่งยืน เป็นโอกาสในเรื่องการตลาดทั้งกับชุมชน ซึ่งเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภคได้ใช้สินค้าที่มีความปลอดภัยอย่างแน่นอน 

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

มาตรฐาน มผช. ผลิตภัณฑ์ชุมชนยกระดับคุณภาพ

ทั้งนี้ ด้านสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งได้มีการจัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน หรือ มผช. มาตั้งแต่ปี 2546 เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนยกระดับคุณภาพ โดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์มาทดสอบคุณภาพผู้ผลิตสินค้าที่ทำมาจากภูมิปัญญา โครงการดังกล่าวจะฟรีค่าใช้จ่ายทั้งหมด การยื่นขอ การตรวจสอบ การแยกประเภทเป็น 5 ผลิตภัณฑ์ เกณฑ์มาตรฐานเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เหมือนฉลาก

ดังนั้น ฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชนใหม่ล่าสุดนี้ จะเป็นประโยชน์ในการรับรองทั้งคุณภาพและมาตรฐาน  รวมถึงการให้คำแนะนำ และความรู้เกี่ยวกับการดูแลสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิต  เป็นการลดต้นทุนให้แก่ผู้ผลิต และสร้างความปลอดภัย สินค้าที่มีมาตรฐาน ดูแลสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้บริโภค  

รู้จัก 3 ผลิตภัณฑ์นำร่องฉลากผลิตภัณฑ์ชุมชน คุ้มครองสิ่งแวดล้อม-ผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนมี 1,500 มาตรฐาน ซึ่งให้การรับรองทั่วประเทศ รวมแล้วกว่าแสนราย แต่ทั้งนี้ เนื่องจากใบรับรองมีหมดอายุ ต่ออายุทุกๆ 3 ปี ขณะนี้มีผู้ประกอบการ ชุมชนที่ได้รับรองได้มาตรฐานอยู่ ประมาณ 10,000 กว่าราย