กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉ. 3 'พายุดีเปรสชัน' ทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน โมคา

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉ. 3 'พายุดีเปรสชัน' ทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน โมคา

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ประกาศฉบับที่ 3 เตือน "พายุดีเปรสชัน" บริเวณอ่าวเบงกอล ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน MOCHA "โมคา" แล้วในวันนี้ (11 พ.ค. 66)

ประกาศ "กรมอุตุนิยมวิทยา" ฉบับที่ 3 เรื่อง พายุไซโคลน โมคา (มีผลกระทบถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2566) ระบุว่า

เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันนี้ (11 พ.ค. 66) พายุดีเปรสชันบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลาง ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็น พายุไซโคลน "โมคา" (MOCHA) แล้ว โดยเมื่อเวลา 16.00 น. มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 11.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 87.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กม./ชม. พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือค่อนทางตะวันตกเล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเมียนมาในช่วงวันที่ 14-15 พ.ค. 66  

ส่งผลให้ในช่วงวันที่ 11-15 พ.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่มที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย

 

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉ. 3 \'พายุดีเปรสชัน\' ทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน โมคา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังระบุว่า สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 3 เมตร และมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้นในวันที่ 14-15 พ.ค. 66 ทำให้บริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 16 พ.ค. 66

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่ เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 17.00 น.

"กรมอุตุนิยมวิทยา" จะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 05.00 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉ. 3 \'พายุดีเปรสชัน\' ทวีกำลังแรงเป็นพายุไซโคลน โมคา