วิสาหกิจชุมชนฯ 'น้ำหมักเอนไซม์' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

วิสาหกิจชุมชนฯ 'น้ำหมักเอนไซม์' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

เพราะประเทศไทยมีของดีอย่างพืชผักพื้นบ้าน ส่งผลให้ พี่บัว - นางเขียว จอดนอก ตัดสินใจกลับบ้านเกิดหลังจากใช้ชีวิตอยู่เยอรมนีกว่า 24 ปี และนำความรู้ด้านน้ำหมัก 'เอนไซม์' มาพัฒนาต่อยอดพืชผักไทย สู่การสร้างรายได้ และกระจายความรู้สู่ชมชน

Key Point : 

  • จากประสบการณ์การใช้ชีวิตอยู่เยอรมนีมากว่า 24 ปี ทำให้ นางเขียว จอดนอก หรือ พี่บัว ได้นำความรู้เกี่ยวกับน้ำหมักเอนไซม์ มาพัฒนาพืชผักพืชบ้านไทย สร้างมูลค่าและรายได้
  • เกิด กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านหนองเป็ด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ครอบคลุมทั้ง 5 หมวด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ความงาม สุขภาพ ทำความสะอาด ปรับอากาศ และปศุสัตว์
  • อีกทั้งยังได้เข้าร่วมโครงการพลังชุมชน กับ เอสซีจี ถือเป็นการต่อยอดนำความต้องการลูกค้า พัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนผลิตและจำหน่าย ด้วยหลัก 'ง่าย ไว ใหญ่ และ ยั่งยืน'

 

ความยั่งยืนไม่เพียงแค่การดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมไปถึงการที่ชุมชนสามารถสร้างรายได้ จากพื้นฐานทรัพยากรที่มี ต่อยอดสู่การนำความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพ เช่นเดียวกับ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านหนองเป็ด อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยการนำของ นางเขียว จอดนอก หรือ พี่บัว วัย 57 ปี ในฐานะประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ ที่ได้นำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านสมุนไพรพื้นบ้านที่มี มาแปรรูปเป็นน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพร ใช้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย และตอบเทรนด์ลูกค้าที่รักสุขภาพ เช่น ผลิตภัณฑ์ความงาม สุขภาพ ทำความสะอาด ปรับอากาศ และปศุสัตว์

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

24 ปี ในเยอรมนี สู่การพัฒนาบ้านเกิด

 

เส้นทางก่อนจะมาเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านหนองเป็ด เริ่มต้นจาก ‘พี่บัว’ ซึ่งมีประสบการณ์กว่า 24 ปี ในการทำงานดูแลผู้สูงอายุ ที่ประเทศเยอรมนี ได้ฝึกการอบรมและฝึกฝนเกี่ยวกับการหมักไวน์เพื่อสุขภาพมาเป็นเวลานานกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาให้กับโรงพยาบาลเบลิสซ์ไฮสเซนเตอร์ จากการเรียนรู้ดังกล่าว จึงทำให้นึกถึงสมุนไพรและผลไม้มากมายหลายชนิดและมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ในเมืองไทย

 

ในปี พ.ศ. 2554 พี่บัว ได้ฝึกทดลองทำน้ำหมักสมุนไพรและผลไม้ตามสูตรที่ใช้หมักกันในยุโรป แล้วได้มีการทดลองนำไปใช้กับคนเยอรมันในหน่วยงานที่ทำอยู่ ปรากฎว่าผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง ทั้งที่เพิ่งเริ่มปรากฎอาการและผู้ที่เป็นเรื้อรัง ต่างได้รับการบำบัดรักษาจนหายดีจากเอนไซม์สูตรหมักธรรมชาตินี้

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2557 ได้รู้จักกับลูกค้าผู้สูงอายุที่ดูแลอยู่ ซึ่งทำงานในบริษัทไบเออร์ประเทศเยอรมนี และได้รับคำแนะนำว่าน้ำหมักเอนไซม์ที่ทำอยู่นั้น สามารถนำไปทำเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี จึงได้มีการทดลองทำโดยตั้งเป็นชมรมเพื่อสุขภาพในหน่วยงานและใช้ในหน่วยงานเรื่อยมา

 

 

กระทั่งพี่บัวตัดสินใจกลับมาอยู่ไทยเพื่อดูแลพ่อ และนำความรู้ ความชำนาญ ทักษะในการหมักเอนไซม์จากพืชผลตามธรรมชาติมาใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ และ ปี พ.ศ. 2561 ได้ก่อตั้ง ‘กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพบ้านหนองเป็ด’ ผลิตผลิตภัณฑ์บำรุง ดูแลผิวหนัง เครื่องดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพ สเปรย์คลายกล้ามเนื้อ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน และผ้าย้อมเอนไซม์สมุนไพร โดยมุ่งหวังให้สังคมได้กลับมาเห็นคุณค่าของพืชผักสมุนไพรและผลไม้ซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างและยังมีมากมายในเมืองไทย บนแนวความคิดพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

เปลี่ยนพืชผัก ผลไม้พื้นบ้าน เป็นน้ำเอนไซด์สุขภาพ

 

พื้นที่กว่า 7 ไร่ในบ้านของพี่บัว ได้ถูกแบ่งสัดส่วนเป็นแปลงเพาะปลูกที่รวมพืชผักผลไม้พื้นบ้านหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสมุนไพร ว่านหางจระเข้ ทองพันชั่งซึ่งเป็นหัวใจหลักในการทำแชมพู พืชสวนครัว สมอไทย มะม่วงหาวมะนาวโห่ แก้วมังกร ภูคา น้อยหน่า ต้นโมก เป็นต้น และพื้นที่อีกส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่สำหรับการผลิต โดยพืชผักผลไม้ดังกล่าวจะถูกนำมาหมักเป็นจุลินทรีย์ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงขยายให้เครือข่ายปลูก

 

ผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนฯ มีครอบคลุมทั้ง 5 หมวด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ความงาม สุขภาพ ทำความสะอาด ปรับอากาศ และปศุสัตว์ โดยผลิตภัณฑ์ความงาม ตอบโจทย์ทั้งสำหรับผู้หญิง ผู้ชาย แชมพู สบู่ เซรั่ม ครีม และโลชั่น

 

ทั้งนี้  'โลชั่นทาผิวที่มีสารสกัดจากแก่นมหาด' ยังได้รับรางวัล Smart Product จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2 ปีซ้อน โดยผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นเน้นสารตั้งต้นจากน้ำเอนไซน์ ปัจจุบัน จำหน่ายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ รวมถึง OEM ซึ่งได้รับความสนใจจากต่างประเทศ เช่น เวียดนาม จีน และลาว

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

“จากที่เราได้ไปอยู่เยอรมนี ได้เห็นว่าเขาพัฒนาอาหารเป็นยา ทำให้มีความฝันที่จะกลับมาอยู่บ้าน เพราะส่วนใหญ่คนไทยจะเน้นใช้ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่ความจริงสมุนไพรบ้านเรา เช่น ลูกยอ กลับถูกประเทศญี่ปุ่นกว้านซื้อไปที่ทำผลิตภัณฑ์และนำกลับมาขายในไทยราคาแพง จุดประกายให้กลับมาพัฒนาสมุนไพรไทย โดยระยะเวลากว่า 5 ปีของการกลับมาอยู่บ้านเกิด มีการผลิตสินค้าหลากหลายผลิตภัณฑ์ แบ่งปันชุมชน และเป็นศูนย์การเรียนรู้”

 

พี่บัว กล่าวต่อไปว่า สมุนไพร ก็สมุนไพรเดิมๆ แต่หากนำสมุนไพรมาเป็นนวัตกรรม จะสามารถยกระดับเป็นจุดขาย โดยเฉพาะปัจจุบัน เรื่องของโพรไบโอติกส์ เอนไซม์ มีมูลค่า สามารถต่อยอดไปได้ในอนาคต โดยน้ำหมักเอนไซม์จะใช้วัถตุดิบที่สะอาด แยกประเภทสมุนไพร พืชผัก และใช้น้ำตาลทรายแดง ดึงสารสำคัญออกมา หลังจากนั้น 1 ปี จะมีการวัดค่า PH หากได้ค่า PH 2.5 แปลว่าเป็นเอ็นไซม์ที่บริสุทธิ์ มีกรด มีด่าง เมื่อวัดค่าเสร็จ จะทำการส่งตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ดังนั้น ทุกอย่างเป็นไปตามหลักวิทยาศาสตร์

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

เอนไซม์ ช่วยวิกฤติโรคลัมปีสกิน

 

ทั้งนี้ ช่วงโควิด-19 นวัตกรรมจากสมุนไพรพื้นบ้านของพี่บัว ได้ถูกพัฒนาเป็นเจลว่านหางจระเข้เพื่อขายและช่วยเหลือพื้นที่ขาดแคลนในช่วงเจลแอลกอฮอลล์หายาก และพัฒนาเม้าท์สเปรย์จากลำไย กระชายดำ ฟ้าทะลายโจร แจกตามโรงพยาบาล โรงเรียนเด็กกำพร้า สถานดูแลผู้สูงอายุ และผู้ป่วยโควิดในชุมชน รวมถึง ช่วงที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกิน ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างราฟา โพรไบโอติกส์ สเปรย์สมุนไพรเอนไซม์สำหรับสัตว์ และน้ำสมุนไพรเอนไซม์จุลินทรีย์คอกสัตว์ ซึ่งจากการออกพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคและกระบือ พบว่า ใช้ได้ผลเป็นอย่างดี

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

ล่าสุด มีการลงนามความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา ในการพัฒนาแบรนด์ Bella Carino โดย มี 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.มัชรูม เซรั่ม 2.ครีมบำรุงผิวตอนกลางคืนดอกทองกวาว และ 3.ครีมบำรุงผิวตอนกลางคืนสาหร่ายพวงองุ่น ถือเป็นการพัฒนางานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

 

พลังชุมชน ต่อยอดความยั่งยืน

 

นอกจากนี้ พี่บัว ยังเป็นหนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการพลังชุมชน ของ เอสซีจี เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา และได้เรียนรู้หลักคิด 'ง่าย ไว ใหญ่ ยั่งยืน' ใช้สิ่งที่มี มาปรับใช้กับการพัฒนาสินค้า ทำให้คนรู้จัก กล้า และเข้าใจในสิ่งที่เราทำ รวมถึง สามารถถ่ายทอด แบ่งปัน สู่ชุมชนได้

 

“ตอนกลับมาอยู่ที่บ้านใหม่ เราทำกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรน้ำหมักเอนไซม์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ บ้านหนองเป็ด เป็นแหล่งรวมความรู้ และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสมุนไพร พืชผักผลไม้พื้นบ้าน เพื่อให้ชุมชนนำไปสร้างอาชีพ ทำเป็นสินค้าท้องถิ่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะหวังที่จะช่วยคนอื่น แบ่งปันเครือข่าย"

 

"พอยืนหยัดด้วยตัวเองได้และรู้จักโครงการพลังชุมชน ซึ่งสอนให้เรานำความต้องการลูกค้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ก่อนผลิตและจำหน่าย ทำอะไรที่ 'ง่าย ไว ใหญ่ ยั่งยืน' คือ ทำในสิ่งที่เรามี ทำอะไรที่ได้ไวๆ ทำสิ่งที่ใหม่ไม่เหมือนใคร สร้างผลกระทบได้ในวงกว้างอย่างยั่งยืน มีความสุข และแบ่งปัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตั้งใจ” พี่บัว กล่าว

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

โครงการพลังชุมชน

 

สำหรับ หลักสูตรเสริมสร้างความรู้ชุมชน สร้างอาชีพยั่งยืน ขยายผลศาสตร์พระราชาปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสร้างแรงบันดาลใจให้ชุมชนลุกขึ้นมาพัฒนา พึ่งพาตนเอง ด้วยภูมิปัญญาและวัตถุดิบท้องถิ่นมาต่อยอดแปรรูปเพิ่มมูลค่า สร้างอัตลักษณ์สินค้าให้โดดเด่น รู้จักตลาดก่อนผลิตและขาย สร้างแบรนด์ทำการตลาด ขยายช่องทางการขาย ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ วมถึงวางแผนชีวิตเพื่อความยั่งยืน

 

นางวีนัส อัศวสิทธิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักงาน Enterprise Brand Management เอสซีจี กล่าวว่า โครงการพลังชุมชน เกิดขึ้นมาในช่วงปี พ.ศ. 2560 เอสซีจี แม้จะอยู่ในภาคธุรกิจแต่เรากลับมองว่าแนวทางในการดำเนินธุรกิจ คือ ESG 4Plus สิ่งแวดล้อม สังคม ความถูกต้องโปร่งใส รวมถึง 4 เรื่อง ได้แก่ มุ่ง Net Zero – Go Green – Lean เหลื่อมล้ำ – ย้ำร่วมมือ คือ การสร้างความร่วมมือ

 

วิสาหกิจชุมชนฯ \'น้ำหมักเอนไซม์\' หยิบพืชพื้นบ้าน สร้างรายได้ยั่งยืน

 

สำหรับ โครงการพลังชุมชนอยู่ใน Lean เหลื่อมล้ำ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 จนถึงช่วงโควิด-19 วิกฤติเศรษฐกิจรุนแรงมาก มีคนที่ตกงาน กลับบ้านจำนวนมาก เรามองว่าหากเอสซีจี ช่วยชุมชนโดยการให้ความรู้ หยิบของในบ้านที่มี มาสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น พี่บัว มีสมุนไพร มีความรู้เรื่องเอนไซม์ ก็นำมาผนวกกัน และยังมีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เป็นคุณสมบัติที่เรามองหา เราอยากได้คนแบบนี้มาอยู่ร่วมในโครงการและเผยแพร่สิ่งเหล่านี้ออกไป

 

ปัจจุบัน โครงการดำเนินมาและเติบโตได้เร็วกว่าที่คิด มีการขยายผลเพื่อช่วยเหลือแรงงานคืนถิ่น ให้ความรู้ชุมชนกว่า 450 คน ใน 14 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง สระบุรี กาญจนบุรี นครศรีธรรมราช เชียงราย แพร่ อุดรธานี อุบลราชธานี ลำพูน อุตรดิตถ์ บุรีรัมย์ พิษณุโลก ตาก และระยอง ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 10,000 - 100,000 บาท/คน/เดือน อยู่รอด เติบโต พร้อมแบ่งปัน และสร้างเครือข่ายชุมชนเข้มแข็งร่วมกัน