เปลี่ยนผู้นำเป็น 'Supporter' สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

เปลี่ยนผู้นำเป็น 'Supporter'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

การทำงานร่วมกับคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องเสนอสิ่งที่ตรงกับความต้องการของGen และสิ่งที่คาดหวังกับงาน หน้าที่ของผู้นำ ผู้บริหารต้องดีไซต์องค์กร และดีไซต์ทีม ให้เป็นลักษณะงานที่ทุก Gen ทำงานร่วมกันได้ ได้หลากหลายและแตกต่าง โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน

Keypoint:

  • Work-life Balance  เกิดขึ้นได้จริงต้องเริ่มจากผู้นำ ผู้บริหารองค์กร และต้องแยกระหว่างการทำงานกับการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน หมดเวลาห้ามสั่งงาน
  • ผู้นำยุคใหม่ ต้องเปลี่ยนตัวเองเป็นผู้สนับสนุน พูดเป็นคนสุดท้าย ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีทั้งหมด และเป็น Architech(สถาปนิก)และมีEmpathyร่วมด้วย
  • องค์กรต้องเป็น upside down ดีไซต์การทำงานให้ทุกคนทุก Gen ทำงานร่วมกันได้ และเปิดรับฟังความคิดเห็น 

'คนรุ่นใหม่' เติบโต มาพร้อมกับความคาดหวังและพลังที่ต้องการบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารองค์กรจึงจำเป็นต้องมีเป้าหมาย จุดมุ่งหมาย เพื่อเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนกลุ่มนี้ เพราะค่าตอบแทน สวัสดิการ อาจจะไม่ใช่เป็นเหตุผลหลักที่

คนรุ่นใหม่ เลือกทำงาน หรือบริษัทนั้นๆ ซึ่งหลักในการทำงานที่จะเป็นไปในรูปแบบ Work-life Balance หรือ แนวคิดเกี่ยวกับการปรับสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวนั้น สามารถเป็นไปได้จริงแต่ต้องขึ้นอยู่กับผู้นำ ผู้บริหารเป็นหลัก

เปลี่ยนผู้นำเป็น \'Supporter\'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

งานแบบไหนที่คนรุ่นใหม่ SAY YES อยากทำงานด้วยมากที่สุด

ส่องเทรนด์อาชีพยุคปลดคน ทักษะเทคยังเป็นที่ต้องการ

ไม่ตกเทรนด์! 'งานรุ่ง- งานร่วง' อาชีพไหนจะรอดในปี 2023

30 แต่โสด แปลกเหรอ? เมื่อ 'คนรุ่นใหม่' ไม่รีบแต่งงานเพราะไม่อยากสิ้นเปลือง

 

Work-life Balance ต้องเริ่มจากผู้นำ

ก่อนเกิดโควิด -19 'ดร.ตฤณ ทวิธารานนท์' ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)  มองว่าโลกการทำงานจะเป็นลักษณะ Work-life Integration หรือแนวคิดการทำงานที่หลอมรวมระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานเข้าด้วยกัน ไม่สามารถแบ่งแยกออกจากกันได้ 

ทว่า เมื่อเจอโควิด-19  ทำให้หลายองค์กรและหลายประเทศประสบปัญหาพนักงาน Burn out ภาวะหมดไฟในการทำงานมากขึ้น เพราะคนยิ่งจะถูกทำงานในลักษณะ Work-life Integration มากขึ้น จนทำให้บางคนมองหา Work-life Balance ของตัวเองไม่เจอ แต่ถ้าองค์กรไหนปรับตัวนำรูปแบบการทำงาน Work from home หรือ Work from anywhere มาใช้จะทำให้คนทำงานเกิดภาวะหมดไฟน้อยลง 

เปลี่ยนผู้นำเป็น \'Supporter\'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

ที่ผ่านมารูปแบบไม่มี Work from home หรือ Work from anywhere ทุกคนจะเริ่มทำงานเมื่อเปิดคอมในออฟฟิศ ซึ่งทางจิตวิทยา เรียกว่า ทริกเกอร์ (Trigger) หมายถึง สิ่งที่เป็นเข้ามากระตุ้น จุดชนวนตัวเรา แต่เมื่อมี Work from home จะทำให้คนไม่มีทริกเกอร์นี้ บางคนนั่งกินกาแฟหรือทำอะไรก็สามารถทำงานควบคู่ได้ ดังนั้นหลักในเรื่อง Work-life Balance คือ การบริหารจัดการตัวเอง

 

สร้างสมดุลงาน ชีวิต และสุขภาพ

หลัก Work-life Balance ของ 'ดร.ตฤณ' มาจากการอ่านและการไปสัมมนา ประชุมในต่างประเทศ เช่น หนังสือ แมตต์ เฮก (Matt Haig) นักเขียนเรื่องโรคซึมเศร้า และวิธีการทำงานที่ระบุชัดเจนว่าการอยู่กับเครื่องมือดิจิตอลนานๆ เป็นพิษมากกว่าเป็นประโยชน์ เขาจะมีหลักในการใช้ชีวิตร่วมกับดิจิตอลอย่างชัดเจน หรือการไปดูงานต่างประเทศ จะได้เห็นวัฒนธรรมในการทำงานที่สามารถนำมาปรับใช้ได้

อย่าง ประเทศสวีเดน หลังการประชุมจะมีวัฒนธรรมการดื่มกาแฟที่เรียกว่า Fika เพื่อให้ทุกคนผ่อนคลาย และเพิ่มการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ไม่ใช่ประชุมเสร็จต่างคนต่างแยก

หน้าห้องประชุมประเทศออสเตรเลีย จะมีตู้ล็อกเกอร์ไว้เก็บแล็ปท็อป และมือถือ เพราะการประชุมมีความสำคัญอย่างมากและจะมีคุณค่ามากถ้าทุกคนมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน วัฒนธรรมเหล่านี้ควรเกิดในประเทศไทย ซึ่งการทำงานคือการเอาสังคม หรือเอาคนที่เป็นคนมาปฎิสัมพันธ์กัน และให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพมากที่สุด

“ผมทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะขอ 1 ชั่วโมงในการออกกำลังกาย และการออกกำลังกายของผมไม่ได้ออกกำลังเพื่อตนเอง แต่ออกกำลังกายเพื่องาน เพราะจะทำให้ 7 ชั่วโมงที่เหลือจะมีพลังงานในการทำงาน100% แบตผมไม่มีทางหมด ฉะนั้น การออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพมีความสำคัญอย่างมาก”ดร.ตฤณ กล่าว

เปลี่ยนผู้นำเป็น \'Supporter\'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

ความยืดหยุ่น กฎต้องเกิดจากทุกคน

กฎของออฟฟิศต้องเกิดจากการที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมารยาทในการทำงานที่ทุกช่วงวัยต้องยึดร่วมกัน และจะไม่ได้มีกฎแยกสำหรับแต่ละGEN เพราะแต่ละช่วงวัยมีความต้องการแตกต่างกัน ต้องมีความยืดหยุ่น และมองถึงประสิทธิภาพการทำงานเป็นหลัก

“ผู้บริหารควรจะเป็น supporter หรือผู้สนับสนุน ในสิ่งที่ทีมคิดมา โดยเป็นคนพูดคนสุดท้ายเสมอในการทำงาน หรือการประชุม เพราะหากองค์กรประชุมร่วมกันแล้วคนที่เป็นเบอร์หนึ่ง เป็นผู้นำ ผู้บริหารพูดก่อน คนอื่นจะเงียบหมด เพราะความคิดทั้งหมดถูกเปลี่ยนไปแล้ว ผู้บริหารจะเป็นคนพูดคนสุดท้ายเสมอ ยกเว้นเรื่องที่ต้องตัดสินใจ และจะตัดสินใจเมื่อได้ข้อมูลทุกอย่างครบถ้วน และมีวิธีการทำงานจะใช้คำถามมากกว่าคำสั่ง และควรเริ่มถามโดยใช้คำว่าทำไม เรื่องนี้ทำแล้วประชาชน ประเทศได้อะไรเป็นต้น”ดร.ตฤณ กล่าว 

ทุกครั้งที่สัมภาษณ์คนที่มาสมัครงาน จะถามเสมอว่าอะไรคือความหมายของการเข้ามาทำงานในองค์กร ขณะเดียวกันต้องมององค์กรตัวเองตลอดเวลาว่ามีความหมายให้สังคม ประชาชนอย่างไร? ETDA ได้ให้ความหมายชีวิต และการเรียนรู้ของพวกเขาหรือไม่?

เปลี่ยนผู้นำเป็น \'Supporter\'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

ทุกคนสามารถร่วมกำหนดอนาคต สุขภาวะที่ดีและการท่องเที่ยวของไทย'ได้ในงาน 'ETDA Foresight Symposium 2023 ภายใต้แนวคิด Light Up the Future of Well-Being and Tourism'วันที่ 22 มิ.ย. ลงทะเบียนสำรองที่นั่งที่ https://forms.gle/qXY3jEBhcaXNK1Lq9 หรือ Facebook: ETDA Thailand

อย่างไรก็ตาม เขามองว่าผู้บริหารต้องเปลี่ยนตัวเองจาก Management (บริหารจัดการ)เป็น Architech(สถาปนิก)และ มีEmpathyร่วมด้วย เพราะจะไปบริหารจัดการทุกคนให้เป็นไปตามความต้องการไม่ได้ ยุคนี้องค์กรต้องการคนที่มีไอเดีย มีความคิด องค์ความรู้หลากหลาย องค์กรต้องเป็น upside down

ผู้บริหารต้องสนับสนุนคนทั้งองค์กรให้เดินไปได้ ต้องดีไซต์ให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนในสิ่งที่ต้องการ ซึ่งทุกคนในองค์กรมีความสามารถมากกว่าผู้นำในแต่ละหมวดที่แตกต่างกันออกไป จึงต้องดีไซต์องค์กร และดีไซต์ทีม ให้เป็นลักษณะงานที่ทุก Gen ทำงานร่วมกันได้ ได้หลากหลายและแตกต่าง โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน

3 หลักการทำงานสไตล์ETDA

หลักในการบริหารจัดการ มี 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1. จะบล็อกเวลาอย่างชัดเจน ว่าใน 1 วันจะทำงานกี่ชั่วโมงและจะไม่ทำงานเกินนั้น รวมถึงการทำงานผ่าน Line ซึ่งการทำงานในปัจจุบันต่างติดต่อสื่อสารกันผ่าน Line จึงตั้งกฎขึ้นอย่างชัดเจนว่านอกเวลาออฟฟิศจะไม่คุยเรื่องงานใน Line

2.เวลาทำงานใช้คำว่า Work from home และ Work from anywhere เป็นคีย์หลักในการขับเคลื่อน ซึ่งจะไม่สนใจว่าพนักงานทำงานที่ไหน ขอเพียงเวลานั้นต้องทำงาน และจะเปลี่ยนสถานที่ทำงานไปเรื่อยๆ ลดภาวะหมดไฟในการทำงาน มีความยืดหยุ่นในการทำงานทั้งเรื่องสถานที่ วิธีการทำงานและเวลา หลัง 5 โมงต้องไม่คุยกันเรื่องงานยกเว้นมีความจำเป็น

เปลี่ยนผู้นำเป็น \'Supporter\'  สร้างงานที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

3. ลดการทำงานแบบ back-to-back ตลอดเวลา เช่น ต้องไม่ใช่การประชุมติดๆ กัน โดยเฉพาะการประชุมออนไลน์จะต้องมีการเลิกประชุม 15 นาที ก่อนจะเริ่มประชุมเรื่องใหม่ และการประชุมต้องไม่เกิน 1 ชั่วโมง ถ้าใครไม่มีบทพูด ไม่เกี่ยวกับการประชุมนั้นๆ ไม่ต้องเข้า เพราะการมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมในการประชุมต่างกัน การมีส่วนร่วมสำหรับพนักงานทุกคนต้องเป็น Meeting มีกิจกรรมงานเลี้ยง กินข้าวร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นทริกสร้าง Work-life Balance ในการทำงาน