โอนเงิน 'เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ' เข้าบัญชีวันนี้ 10 ก.ค.66 ได้กี่บาท เช็กเลย

'เบี้ยผู้สูงอายุ' เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีเข้าบัญชีวันนี้ 10 ก.ค.66 เช็กเลย

สูงวัยเฮ ! 10 ก.ค.นี้ กรมบัญชีกลาง โอน "เบี้ยผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" พร้อมเช็กแต่ละช่วงอายุรับคนละเท่าไหร่ ? ใครบ้างมีสิทธิ

ติดตามความคืบหน้าการจ่ายเงิน "เบี้ยผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" ที่เป็นสวัสดิการของทางภาครัฐได้จัดสรรให้ผู้มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในแต่ละเดือน ล่าสุด กรมบัญชีกลาง โอนเงินผู้สูงอายุ เข้าบัญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ผู้มีสิทธิรับเงิน ในวันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม 2566

ปัจจุบันการจ่าย "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" แบบขั้นบันได ดังนี้

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70 - 79 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80 - 89 ปี ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 1,000 บาท

วิธีการรับเงิน "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ"

  • รับเงินสดด้วยตนเอง
  • รับเงินสดโดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ
  • โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ
  • โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ

ใครบ้างที่จะมีสิทธิรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยผู้สูงอายุ" และจะมีวิธีการลงทะเบียนเข้ารับสิทธิอย่างไร "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" รวบรวมมาให้แล้ว ดังนี้

โอนเงิน \'เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ\' เข้าบัญชีวันนี้ 10 ก.ค.66 ได้กี่บาท เช็กเลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

เช็กเงื่อนไขการรับสิทธิ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยผู้สูงอายุ"

 

- สัญชาติไทย

- มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 2 ก.ย.2507

- ไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ผู้รับเงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ หรือเงินอื่นใดในลักษณะเดียวกัน,ผู้สูงอายุที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น,ผู้ได้รับเงินเดือน ค่าตอนแทน รายได้ประจำ หรือผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น ที่รัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดให้เป็นประจำ,ไม่รวมถึงผู้พิการ หรือผู้ป่วยเอดส์ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548 หรือผู้ที่ได้รับสวัสดิการอื่นตามมติคณะรัฐมนตรี

กรณีที่ 1 ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว แต่ยังไม่เคยลงทะเบียนขอรับ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ"

  • สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม - เดือนพฤศจิกายน 2565 และเดือนมกราคม - กันยายน 2566
  • จะมีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป (ปีงบประมาณ 2567)

กรณีที่ 2 ผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีงบประมาณ 2567 (คนที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2507)

  • สามารถลงทะบียนได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - เดือนพฤศจิกายน 2565 และเดือนมกราคม 2566 - กันยายน 2566
  • จะมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2567 โดยจะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์

 

หลักฐานที่ใช้ลงทะเบียนรับสิทธิ "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ" หรือ "เบี้ยผู้สูงอายุ"

  1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  2. ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ที่เป็นปัจจุบัน)
  3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ/ผู้ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ (สำหรับประสงค์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร)

หมายเหตุ : กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ สามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร ให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเบี้ยผู้สูงอายุแทนได้

สถานที่ลงทะเบียน 

  • สำนักงานเขต
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้สูงอายุมีภูมิลำเนาอยู่

การสิ้นสุดการได้รับเงิน "เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ"

  • ถึงแก่กรรม
  • ขาดคุณสมบัติ
  • แจ้งสละสิทธิการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร

ทั้งนี้ กรณีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสิ้นสุดลง ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ สั่งระงับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสำหรับบุคคลดังกล่าวทันที