9 เรื่องรัฐบาลใหม่ต้องทำ สร้าง 'รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า'

9 เรื่องรัฐบาลใหม่ต้องทำ สร้าง 'รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า'

เครือข่ายวีแฟร์เสนอรัฐบาลใหม่ขับเคลื่อน 9 เรื่องสำคัญ สร้างรัฐสวัสดิการถ้วนหน้า  ลั่นค่าใช้จ่ายสวัสดิการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่แพ้เงินดิจิทัล ย้ำแก้รัฐธรรมนูญเรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ ย้อนไปไกลถึงฉบับเมื่อ 77ปีก่อนกำหนดชัดบุคคลย่อมมีสถานะเสมอกัน

นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ประสานงานเครือข่ายWe Fair กล่าวในการเสวนาราชดำเนินเสวนา ครั้งที่1/2566 หัวข้อ “การบ้าน ครม.เศรษฐา1แก้วิกฤตประเทศ” จัดโดยสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เมื่อเร็วๆนี้ว่า   เส้นความยากจน คือ มีรายได้เดือนละ 2,803 บาท ซึ่งมีราวๆ 4.4 ล้านคน เกือบจน 4.8 ล้านคน ดังนั้นรวมแล้ว 9.2 ล้านคน หนี้สินครัวเรือนแตะ 90% ของจีดีพี ประเทศไทยมีคนจนมากในอันดับ 55 ของโลก แต่อันดับความคุ้มครองทางสังคมอยู่ที่ 69 การศึกษา 62 จาก 82 ประเทศ เรียกว่าอยู่อันดับเกือบท้าย ลูกคนรวยมีโอกาสร่ำรวยต่อ คนจนก็มีโอกาสจนต่อ เรียกว่าตกอยู่ในสถานการณ์ส่งต่อความจน

สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของไทยติด 1 ใน 5 ของโลก ปี 2564 ครัวเรือน มีทรัพย์สินรวม 31% ของจีดีพีประเทศ ส่วนสถานการณ์ความเปราะบาง เด็กเยาวชน ว่างงาน เข้าไม่ถึงสวัสดิการประกันสังคม ผู้สูงอายุ พิการ ขณะที่ILOระบุว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองทางสังคมของไทยต่ำมากเมื่อเทียบค่าเฉลี่ยในเอเชีย และระดับโลก

“ถ้ามองรัฐมนตรีที่นั่งคุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการแล้วกลับไม่มีนโยบายด้านนี้เลยแต่โดยภาพรวมสวัสดิการที่มีนั้นมุ่งไปสู่รัฐสวัสดิการแน่นอน อย่างเช่นตอนหาเสียงไม่มีพรรคการเมืองไหนจะตัดเบี้ยยังชีพ แต่กระทรวงมหาดไทยกลับจะตัดให้เฉพาะคนจนเท่านั้น”นิติรัตน์กล่าว 

  • เสนอ 9 เรื่องสำคัญ

หากเอางบประมาณ 5.6 แสนล้านบาทมาเป็นตัวตั้ง เดิมเครือข่ายฯเดินสายคุยกับพรรคการเมืองต่างๆ มี 9 เรื่องที่เสนอ ประกอบด้วย

1.เงินอุดหนุนเด็ก เกิดไม่อด ลดรายจ่าย  เงินสนับสนุนเด็กและเยาวชน 0-18 ปี 3,000 บาท  เงินสนับสนุนเยาวชน 19-22 ปี 3,000 บาท จำนวนรวม 17.1 ล้านคน และศูนย์รับเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

2.การศึกษาฟรี ยกเลิกหนี้ มีเงินเดือน  อนุบาล-มหาวิทยาลัยเรียนฟรี รวมถึง การสนับสนุนการสร้างการเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพ ราว 9.3 ล้านคน

3.ระบบสุขภาพ รวม 3 กองทุนมาตรฐานเดียว พัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบเดียว ครอบคลุมประชากรทุกอาชีพ ให้สิทธิการเข้าถึงบริการ ประมาณ 47 ล้านคน

 4.ที่อยู่อาศัย คุณภาพ เข้าถึงได้ อุดหนุนงบประมาณที่อยู่อาศัย ประมาณ 10 %ของรายได้เฉลี่ยครัวเรือน สร้างที่อยู่อาศัยคุณภาพให้เช่า 1,000 ยูนิตทุกตำบล ราคาและค่าเช่าสอดคล้องกับค่าเฉลี่ยรายได้ในพื้นที่ อัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย/ที่ดินเกษตร ไม่เกิน 2 %  ราว 25 ล้านครัวเรือน

5.แรงงานมีคุณค่า มีเวลา ดูแลครอบครัว ค่าจ้างพื้นฐานที่ดูแลครอบครัวได้ ปรับขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อทุกปี ค่าจ้างแรงงานให้มีการปรับขึ้นตามอายุการทำงาน ลดชั่วโมงการทำงานเป็น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สิทธิลาคลอดเลี้ยงดูบุตร 180 วัน(เด็ก 1 คน) ใช้ได้ทุกเพศสภาพ ราว 39 ล้านคน

6.ประกันสังคมครอบคลุมคุ้มค่า  พัฒนาสิทธิประโยชน์โดยเน้นมิติการประกันการว่างงาน ทดแทนรายได้ และบำนาญชราภาพ มีประกันสังคมพื้นฐานเป็นสิทธิประโยชน์ที่ครอบคลุมคนทำงานวัยแรงงานทุกกลุ่ม  ราว 39 ล้านคน

7.บำนาญถ้วนหน้า อิสรภาพ วัยเกษียณ บำนาญประชาชน 3,000 บาท ใช้เกณฑ์เส้นความยากจนเฉลี่ยของประเทศ ปรับเพิ่มขึ้นทุกปีตามอัตราเงินเฟ้อ ราว 12 ล้านคน


8.สวัสดิการเสมอหน้าเท่าเทียม เช่น  ปรับเพิ่มเบี้ยคนพิการ โดยใช้เกณฑ์เส้นความยากจน เงินอุดหนุนสวัสดิการประจำเดือนสตรี 200 บาทต่อเดือน   ขนส่งสาธารณะทั่วถึงทุกพื้นที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น เป็นต้น  มีคนพิการราว 2 ล้านคน สตรี 15 ล้านคน

และ9.ปฏิรูปภาษี มีเงินเพิ่ม เติมงบสวัสดิการ  ปฏิรูประบบการส่งเสริมการลงทุน ปรับสิทธิประโยชน์ BOI  เก็บภาษีความมั่งคั่ง อัตรา 3.5 % เก็บภาษีผลได้จากทุน   เก็บภาษีที่ดิน ภาษีมรดกและอื่นๆ ลดการลดหย่อนภาษี 50 % ลดงบประมาณกลาโหม

  • เทียบนโยบายพรรครัฐมนตรี
           

เมื่อเปรียบเทียบรัฐมนตรี เรื่องการพัฒนาเด็ก และศูนย์เด็กเล็ก เงินอุดหนุนเด็ก ข้อเสนอของเราไม่ปรากฏนโยบายหาเสียงของชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทย ส่วนเรื่องการศึกษา พรรคภูมิใจไทยที่ดูแลกระทรวงศึกษา และกระทรวงอุดมศึกษา ช่วงท้ายพูดถึงการฟรีปริญญาตรี แต่ไม่มีในเอกสารที่ส่ง กกต. มีการสร้างระบบการเรียนออนไลน์ ไม่มีนโยบายหลักที่พูดถึงการพัฒนาเรียนฟรี เงินอุดหนุนการเรียนรู้ในทุกช่วงวัย ขณะที่พรรคเพื่อไทยยังมี

 

9 เรื่องรัฐบาลใหม่ต้องทำ สร้าง \'รัฐสวัสดิการถ้วนหน้า\'

เรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งพรรคเพื่อไทยเข้ามาดูก็บอกว่าจะยกระดับระบบหลักประกันสุขภาพ แต่ประเทศไทยมีมี 3 กองทุนซึ่งบัตรทอง และประกันสังคมมีงบรายหัวอยู่ที่ประมาณ 3,000 บาท แต่สิทธิข้าราชการอยู่ที่ 15,000 บาท ดังนั้นจะทำอย่างไรให้มีสิทธิเท่ากัน รวมถึงเรื่องที่อยู่อาศัยของพม. ก็ไม่มีนโยบายด้านนี้ แต่เสนอให้ปรับลดดอกเบี้ย ให้มีบ้านเช่าที่มีมาตรฐาน ราคาถูก สำหรับคนทั้งสังคม ด้านการทำงานและรายได้ ตรวจสอบแล้วไม่พบว่าพรรคภูมิใจไทยไม่มีนโยบายด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างพื้นฐาน ลดชั่วโมงการทำงาน สิทธิลาคลอด 180 วัน การรับรองอนุสัญญาILOเป็นต้น

         สวัสดิการของประชาชนไม่ควรจะตัดไปมากกว่านี้าเอางบ5.6 แสนล้านบาท สำหรับนโยบายเงินดิจิทัลนั้น คิดว่าสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนนโยบายรัฐสวัสดิการด้านต่างๆ ได้ 20 % และควรพูดถึงการปฏิรูปภาษีต่างๆ การปฏิรูปกองทัพ ซึ่งมีงบฯ กว่าแสนล้านล้านบาท หากลดลง 20% เท่ากับว่าจะได้เงินงบฯกว่า 4หมื่นล้านบาท ถ้าลดเงินซื้อเรือดำน้ำอีก 3 หมื่นล้านบาทก็จะมีเงินเป็นสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุได้นานถึง 1 ปี ทันที

 

  • เงินสูงวัยก็กระตุ้นเศรษฐกิจได้

         ถ้ามองว่านโยบายเงินดิจิทัล เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชั่วคราว แต่ถ้ามองใหม่เงินสำหรับผู้สูงอายุ 3,000 บาท แต่ปรับการให้ปีแรกเป็น 1 พันบาท จากเดิม 600 บาท เท่ากับว่าปรับเพิ่ม 400 บาท แล้วธรรมชาติของผู้สูงอายุเมื่อได้รับเงินแล้วก็มีการใช้จ่ายเลย จึงสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เช่นกัน ที่สำคัญมองว่า เรื่องสวัสดิการประชาชนนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างจริงๆ ทะลายกำแพงระหว่างคนรวย คนจนลงได้

  “เราให้โอกาสเพื่อไทยได้ แต่รัฐมนตรีที่อยู่มา 4 ปี แล้วคงไม่ได้โอกาสนั้น แต่จะเร่งในการตรวจสอบมากกว่า สุดท้ายเวลาพูดเรื่องรัฐสวัสดิการ คงแยกไม่ได้ขาด กับการแก้โครงสร้าง คือรัฐธรรมนูญ เรื่องกระจายอำนาจ การรวมตัวอย่างๆ ดังนั้น เรื่องเร่งด่วนเหมือนกันคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายเศรษฐาบอกว่าเป็น 1เรื่องเร่งด่วนที่ต้องทำ และในมาตรา 12 ของรัฐธรรมนูญ 2489 ระบุว่า บุคคลย่อมมีสถานะเสมอกัน ตามกฎหมายฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิดก็ดี โดยแต่งตั้งก็ดี หรือโดยประการอื่นใดก็ดี ไม่ทำให้เกิดเอกสิทธิ์อย่างใดเลย”นิติรัตน์กล่าว