พัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์ไทย สู่มาตรฐานโลก

พัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์ไทย สู่มาตรฐานโลก

กรมวิทยาศาสตร์บริการ ชูพัฒนาทักษะสมรรถนะมาตรฐาน ISO/IEC 17024 รับรอง-พัฒนาศักยภาพบุคลากรมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล

เมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2566 ที่ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมวิชาการ เรื่องการรับรองความสามารถ สาขาการควบคุมคุณภาพการวิเคราะห์ด้านสิ่งแวดล้อม ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17024 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรมุ่งสู่มาตรฐานระดับสากล

ดร.พจมาน ท่าจีน  รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยเฉพาะในด้านของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด เกิดขึ้นเทคโนโลยี และองค์ความรู้ใหม่ๆ การก้าวตามให้ทันเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้เหล่านั้นมีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของประเทศต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจ และก้าวทันต่อการเติบโตของตลาดโลก เช่น การเพิ่มกำลังการผลิต การขยายฐานการผลิต รวมถึงการผลิตขั้นสูงต่าง ๆ

ดังนั้นการผลิตบุคลากรที่มีองค์ความรู้ที่เหมาะสม มีทักษะความรู้ที่เพียงพอในการการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงบุคลากรที่มีสมรรถนะในการทำงานที่ดีและ มีประสิทธิภาพจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ต้องใช้บุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในการประกอบวิชาชีพ เพื่อให้เกิดผลิตผลที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน และทำให้เกิดความปลอดภัยในการปฏิบัติงานอีกด้วย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

นักลงทุนฟันธง ‘ชีววิทย์’ โตก้าวกระโดดสวนวิกฤติโควิด

ขยายนวัตกรรม “พื้นที่การเรียนรู้ด้านสุขภาวะ”

 

สร้างโอกาสแห่งความก้าวหน้าให้กับบุคลากร

ดร.พจมาน กล่าวต่อว่า จากการพัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากร จึงทำให้เกิดกระบวนการที่จะให้การรับรองความสามารถบุคลากรขึ้น ซึ่งนับเป็นเครื่องการันตี ความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ สร้างความเชื่อมั่น ยกระดับความสามารถบุคลากร และสร้างโอกาสแห่งความก้าวหน้าให้กับบุคลากรที่ได้รับการรับรองในแต่ละสาขาอาชีพ

ใช้กระบวนการรับรองความสามารถบุคลากรเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะบุคลากร กรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีหน่วยรับรองดำเนินการรับรองความสามารถบุคลากรตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 เปิดให้การรับรองความสามารถบุคลากร สาขา การควบคุมและจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นมาตรฐานสำหรับหน่วยรับรองบุคลากร ซึ่งมาตรฐานนี้ใช้ในหน่วยรับรองบุคลากร หน่วยขึ้นทะเบียนบุคลากร หน่วยรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ

พัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์ไทย สู่มาตรฐานโลก

โดยครอบคลุมถึง การพัฒนารูปแบบการรับรองและการให้บริการทดสอบและรับรองบุคลากร ตอบสนองต่อความต้องการพัฒนาประเทศ ยกระดับมาตรฐานอาชีพของไทยไปสู่ระดับสากลต่อไป

 

ครอบคลุมหลักการสำคัญทั้งหมด 6 ข้อ

ดร.ภูวดี ตู้จินดา ผู้อำนวยการกองพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ห้องปฏิบัติการ กล่าวว่าการรับรองความสามารถบุคลากรตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17024 เป็นการยืนยันความสามารถทางวิชาชีพของผู้ที่ขอการรับรองว่าบุคคลนั้นๆ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการเพิ่มพูนและรักษาไว้ซึ่งความสามารถและจริยธรรมทางวิชาชีพ อันเป็นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรทำให้ผลิตภาพ (Productivity) ขององค์กรเพิ่มขึ้น

สร้างแรงงานที่มีฝีมือส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ การเงิน หรือความมั่นคง ให้กับประชาชน มาตรฐานสากล ตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคอุตสาหกรรมในประเทศในทุกมิติ

พัฒนาบุคลากรวิทยาศาสตร์ไทย สู่มาตรฐานโลก

ISO/IEC 17024 เป็นมาตรฐานที่ว่าด้วยข้อกำหนดทั่วไปสำหรับหน่วยรับรองบุคลากร ประกอบด้วย โครงสร้าง, ทรัพยากร, บันทึกและข้อมูล, รูปแบบการรับรอง และระบบการบริหารงาน โดยครอบคลุมหลักการสำคัญทั้งหมด 6 ข้อ ได้แก่  

1. ความเป็นกลาง  บ่งชี้ถึงสมรรถนะของผู้ที่ขอการรับรองได้อย่างดีและมีความโปร่งใส 

2. ความสามารถ การรับรองความสามารถบุคลากรจะต้องถือเอาความสามารถของผู้ที่ขอการรับรองเป็นหลัก  

3.การรักษาความลับ ข้อมูลในกระบวนการรับรองความสามารถบุคลากรบางอย่างหน่วยรับรองต้องทำการรักษาลับของข้อมูล

4.การเปิดเผยข้อมูล หน่วยรับรองจะต้องทำการเปิดเผยข้อมูลในส่วนที่ต้องแสดงความชัดเจนและความโปร่งใส่  

5. ความโปร่งใส จะต้องสามารถให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการรับรองสาขานั้นๆ แสดงความคิดเห็นได้

6.ความรับผิดชอบ หน่วยรับรองจะต้องรับผิดชอบแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านความสามารถ ความเป็นกลางและความซื่อสัตย์ เพื่อเสริมสร้าง ลดข้อจำกัด พัฒนาศักยภาพให้สอดรับกับพลวัตและเงื่อนไขใหม่ของโลก และสามารถเติบโตไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน