"กฎหมายน้ำเมา" ช่วยลดการดื่ม การตายของประชากร

"กฎหมายน้ำเมา" ช่วยลดการดื่ม การตายของประชากร

นักวิชาการแอลกอฮอล์ระดับโลก ยกไทยเป็นตัวอย่าง มีกฎหมายคุมน้ำเมาดี ช่วยลดการดื่ม การตายของประชากร สวนทางทฤษฎีร่ำรวยขึ้น ยิ่งสามารถดื่มได้มากขึ้น  

ศ.เจอร์เกน เรห์ม นักวิชาการด้านนโยบายแอลกอฮอล์ ระดับโลกเปิดเผยว่า การพัฒนาทางเศรษฐกิจเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ส่งผลต่ออายุขัยของประชาชนของประเทศนั้น ซึ่งในประเทศที่ร่ำรวย ประชาชนมักมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า อัตราการเสียชีวิตของประชากรต่ำกว่า และมีสาเหตุการเสียชีวิตที่แตกต่างจากประเทศยากจน

นอกจากนี้ การพัฒนาทางเศรษฐกิจมีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วย โดยประเทศที่มีรายได้สูงและรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงมักมีปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉลี่ยสูงกว่า และมีอัตราผู้ที่ไม่ดื่มต่ำกว่าประเทศที่มีรายได้น้อยหรือรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เป็นสินค้าอุปโภคที่จำเป็น การที่ประชาชนในประเทศยากจนจึงไม่ค่อยได้ดื่ม 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"Enomoto Clinic" ดูแลสุขภาพจิตของคนไทยสไตล์ญี่ปุ่น

ส่องร่างปรับ 'กฎหมายน้ำเมา' พบยื่นให้ขายได้ 24 ชม.-โฆษณาเสรี

กฎหมายน้ำเมาไทยดี ลดการดื่ม การตาย

“การเติบโตทางเศรษฐกิจมีผลต่อการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น เพราะเมื่อระดับเศรษฐกิจของประเทศขยับสูงขึ้น ประชาชนมีเงินจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นก็อาจจะนำไปซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และประเทศนั้นก็มักจะตกเป็นเป้าหมายของอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์ที่จะเข้ามาขยายตลาด มักใช้โฆษณาและเทคนิคทางการตลาดเพื่อชักชวนให้คนดื่มสุรามากขึ้น” ศ.เจอร์เกน เรห์ม กล่าว

ศ.เจอร์เกน เรห์ม กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย การพัฒนาจากประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางไปเป็นรายได้ปานกลางค่อนไปทางสูงตั้งแต่ปี 2553 กลับไม่ทำให้อัตราเสียชีวิตจากทุกสาเหตุและอัตราเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น เพราะประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และมีระบบการจัดเก็บภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ดีที่ทำให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีราคาสูง

\"กฎหมายน้ำเมา\" ช่วยลดการดื่ม การตายของประชากร

 

อีกทั้ง ยังกำหนดอายุต่ำสุดของบุคคลที่จะซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เป็น 20 ปี และมีมาตรการจำกัดวัน เวลา และสถานที่ในการซื้อและดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อเป็นการจำกัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางกายภาพที่มีประสิทธิภาพ 

เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนามซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจมาก และขยับจากประเทศที่มีระดับรายได้ปานกลางค่อนไปทางต่ำมาเป็นประเทศรายได้ปานกลางในช่วงเวลาเดียวกันกับประเทศไทย แต่กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การเก็บภาษีแอลกอฮอล์ของเวียดนามไม่ได้เข้มงวดเท่าประเทศไทย ระดับการบริโภคเครื่องดื่มของเวียดนามและอัตราเสียชีวิตที่สัมพันธ์กับการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรเวียดนามจึงเพิ่มสูงขึ้นตามไปกับรายได้เฉลี่ยประชาชาติที่เพิ่มขึ้น.