อัปเดต เงินเดือนข้าราชการล่าสุด 1 พ.ค. 67 ปรับขึ้นเงินเดือน เช็กที่นี่ครบจบ

อัปเดต เงินเดือนข้าราชการล่าสุด 1 พ.ค. 67 ปรับขึ้นเงินเดือน เช็กที่นี่ครบจบ

แจ้งอัปเดต เงินเดือนข้าราชการล่าสุด 1 พ.ค. 67 ปรับขึ้นเงินเดือน เช็กที่นี่อัปเดต กรณีเงินเดือนข้าราชการออกวันไหน เงินเดือนข้าราชการครู ฐานเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ตำรวจและทหาร

ฮอตโซเชียล กรณี "เงินเดือนข้าราชการล่าสุด" วันที่ 1 พ.ค. 67 ปรับขึ้นเงินเดือน เช็กกันต่อเนื่อง เงินเดือนข้าราชการออกวันไหน อยากรู้เงินเดือนข้าราชการครู คำนวณฐานเงินเดือนข้าราชการพลเรือน ตำรวจ และทหาร "กรุงเทพธุรกิจ" อัปเดตไม่หยุดไม่ตกข่าวแน่นอน

ล่าสุด อัปเดตจาก กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department วันนี้ กรณี SMS ปลอม แอบอ้างกรมบัญชีกลางแจ้งระบบ CGD มีการอัปเดตใหม่ ข้าราชการต้องอัปเดตให้เป็นข้อมูลล่าสุดผ่านลิงก์ SMS

  • ลักษณะนี้เป็นของปลอม
  • ไม่เกี่ยวข้องกับกรมบัญชีกลาง
  • อย่ากดลิงก์
  • กรมบัญชีกลางไม่มีนโยบายส่ง sms หาข้าราชการแต่อย่างใด

อัปเดต เงินเดือนข้าราชการล่าสุด 1 พ.ค. 67 ปรับขึ้นเงินเดือน เช็กที่นี่ครบจบ

เงินเดือนข้าราชการ 2567

เงินเดือนข้าราชการออกวันไหน 1 พฤษภาคม 2567 คือวันแรก ปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.

เช็กล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ สำนักงาน ก.พ. มีความพร้อม 100% และได้มีหนังสือแจ้งเวียนแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้ว ตามหนังสือที่ นร. 1012.3/ว 9 ลงวันที่ 9 เมษายน 2567

ฐานเงินเดือนข้าราชการ

คณะรัฐมนตรี มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2566 อนุมัติปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป้าหมายให้ผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิ

- ระดับปริญญาตรี จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท

- ระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท

ภายในระยะเวลา 2 ปี นั้น วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 

เงินเดือนข้าราชการครู

อัปเดตจาก นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) กรณีการปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 

ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจะได้รับการปรับอัตราเงินเดือนใหม่พร้อมกันในวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2568 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิ เป็นกลุ่มของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่บรรจุใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และ 1 พฤษภาคม 2568

กลุ่มที่ 2 การปรับเงินชดเชยผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นกลุ่มของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งอยู่ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่มีผลใช้บังคับ (วันที่ 1 พ.ค. 67 และ 1 พ.ค. 68) และได้รับอัตราเงินเดือนไม่เกินอัตราสูงสุดที่กำหนดให้ได้รับการปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละคุณวุฒิ

สำหรับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิ จะทยอยปรับเพิ่มปีละ 10% ในปี 2567 และ 2568 และภายใน 2 ปี ผู้ที่บรรจุด้วยคุณวุฒิปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และปรับคุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้อง 

การปรับอัตราเงินเดือนชดเชยกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบ

จะดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนจำนวน 2 ครั้ง พร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยปรับชดเชยเงินเดือนข้าราชการที่เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับ และมีฐานเงินเดือนต่ำกว่าอัตราเงินเดือนแรกบรรจุที่กำหนดใหม่

นอกจากกลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับการปรับเงินเดือนขึ้นแล้ว กระทรวงศึกษาธิการยังดำเนินการตามมติ ครม.ในการปรับเงินเดือนกลุ่มเป้าหมาย

  • ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • พนักงานราชการ 

ที่อยู่ในสังกัดอีกด้วย รวมถึงการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว

  1. จากเดิมเงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็นไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท
  2. ปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิมเดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท
  3. ปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำจากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท

เงินเดือนข้าราชการ 2566 ปรับเงินเดือนข้าราชการเก่า ขึ้นเงินเดือนอาจารย์มหาวิทยาลัย

อัปเดตจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) วันที่ 1 พ.ค. 67 ปรับเงินเดือนข้าราชการมหาวิทยาลัยตามมติ ครม. พร้อมเตรียมปรับเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับข้าราชการ 

การประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ตามที่ ครม. ได้เห็นชอบในหลักการให้มีการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการนั้น

ก.พ.อ. มีมติเห็นชอบการกำหนดอัตราเงินเดือนสำหรับคุณวุฒิที่ ก.พ.อ. รับรองเพื่อการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามอัตราเงินเดือนของผู้ได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่ ก.พ. รับรอง

และกำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นตามคุณวุฒิที่บรรจุเข้ารับราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด โดยอนุโลม ตามมติ ครม. ดังกล่าว

ขณะนี้สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ได้มีหนังสือที่ อว 0209.4/ว1 ลงวันที่ 30 เมษายน 2567 เวียนแจ้งให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งได้รับทราบและดำเนินการต่อไป รวมทั้งเผยแพร่ในเว็บไซต์ https://basd.mhesi.go.th เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

พนักงานในสถาบันอุดมศึกษานั้น อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อให้มีการปรับเงินเดือนให้สอดคล้องกับการปรับขึ้นเงินเดือนของข้าราชการ โดยที่ประชุม ก.พ.อ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจขึ้นชุดหนึ่งเพื่อดำเนินการศึกษาและจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการการปรับเงินเดือนชดเชยให้กับผู้ได้รับผลกระทบในการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุด้วยเช่นกัน

โดยความร่วมมือระหว่าง ผู้ทรงคุณวุฒิของ ก.พ.อ. สำนักงานปลัดกระทรวง อว. ที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ.) ทั้ง 3 กลุ่มสถาบันอุดมศึกษา และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

ขณะนี้ได้ข้อสรุปหลักการที่สอดคล้องตามมติ ครม. ที่เกี่ยวข้องแล้ว และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับมาจากสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งเพื่อประกอบการขอรับจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ทันการประชุม ก.พ.อ. ครั้งหน้า ก่อนดำเนินการเสนอเรื่องไปยัง ครม. พิจารณา

รัฐบาลย้ำหากหน่วยงานใด ดำเนินการปรับไม่ทัน การปรับขึ้นเงินเดือนจะให้มีผลย้อนหลัง รวมถึงได้มีการประสานกับสำนักงบประมาณ และกรมบัญชีกลางไว้เรียบร้อยแล้ว ขอให้ข้าราชการและผู้ได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ มั่นใจได้ว่าการปรับขึ้นเงินเดือนครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแน่นอน

 

การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ การปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือน เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่ สำนักงาน ก.พ. เสนอ

หลักการการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ ตามรายงานผลการศึกษาฯ ที่สำนักงาน ก.พ. นำเสนอ

มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. ร่วมกับคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทต่าง ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการแต่ละประเภท รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายและสอดคล้องตามหลักการดังกล่าวต่อไป

มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับหลักการและแนวทางการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการในส่วนของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานรัฐวิสาหกิจต่อไป

สำนักงาน ก.พ. เห็นควรรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมและเป็นไปได้ แนวทาง กรอบระยะเวลา และผลกระทบของการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 ซึ่งได้รับความเห็นชอบร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ เพื่อปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษาให้มีความเหมาะสม สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาล และสามารถดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการ และเพื่อปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบซึ่งรับราชการอยู่ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุใหม่มีผลใช้บังคับ

อัตราเงินเดือนแรกบรรจุมีความเหมาะสมและแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิ การศึกษา และอัตราเงินเดือนของผู้ที่รับราชการอยู่ก่อนจะต้องไม่น้อยกว่าผู้ที่บรรจุเข้ารับราชการใหม่ โดยใช้คุณวุฒิระดับเดียวกัน และอัตราเงินเดือนหลังการปรับจะต้องไม่ทำให้ผู้ซึ่งเคยได้รับเงินเดือนสูงกว่า กลายเป็นผู้ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าผู้ดำรงตำแหน่งประเภทและระดับเดียวกันที่บรรจุในวุฒิเดียวกัน ทั้งนี้ โดยไม่เป็นภาระงบประมาณมากจนเกินควร

ปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุทุกคุณวุฒิให้แตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา โดยผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับปริญญาตรีจะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 18,000 บาท และผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ใช้คุณวุฒิระดับ ปวช. จะมีเงินเดือนไม่น้อยกว่า 11,000 บาท ภายใน 2 ปี และปรับอัตราเงินเดือนของคุณวุฒิอื่น ๆ ให้สอดคล้องกัน รวมทั้งปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุดังกล่าวภายในช่วงระยะเวลาเดียวกันด้วย

การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดยทยอยปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิเพิ่มขึ้น (ทุกคุณวุฒิ) และแตกต่างกันตามระดับคุณวุฒิการศึกษา ภายใน 2 ปี โดยมีเป้าหมายการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิการศึกษา (คุณวุฒิหลัก) ดังนี้

คุณวุฒิ    ปัจจุบัน    ปีที่ 1    ปีที่ 2
ปวช.    9,400 – 10,340    10,340 – 11,380    11,380 – 12,520
ปวส.    11,500 – 12,650    12,650 – 13,920    13,920 – 15,320
ปริญญาตรี    15,000 – 16,500    16,500 – 18,150    18,150 – 19,970
ปริญญาโท    17,500 – 19,250    19,250 – 21,180    21,180 – 23,300
ปริญญาเอก 21,000 – 23,100    23,100 – 25,410    25,410 – 27,960                                     

การปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2 ครั้ง ให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในปีที่ 1 และปีที่ 2 โดยปรับเงินเดือนชดเชยในแต่ละปีให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับราชการก่อนวันที่อัตราแรกบรรจุที่กำหนดใหม่มีผลใช้บังคับอย่างน้อย 10 ปี

กลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบด้วย

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2. ข้าราชการทหาร
  3. ข้าราชการตำรวจ
  4. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
  5. ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  6. ข้าราชการรัฐสภาสามัญ
  7. พนักงานราชการ
  8. ข้าราชการในหน่วยธุรการของศาล ได้แก่ สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง และสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
  9. ข้าราชการในสำนักงานขององค์กรอิสระและองค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
  10. ข้าราชการธุรการอัยการ

การมีผลใช้บังคับ ปีที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 และปีที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2568

ประมาณการงบประมาณ การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ คาดว่าจะใช้งบประมาณในปีที่ 1 (12 เดือน) จำนวน 7,200 ล้านบาท และปีที่ 2 (12 เดือน) จำนวน 8,800 ล้านบาท โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือน และเงินปรับวุฒิข้าราชการในลำดับต่อไป

ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณา กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทต่าง ๆ กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการประเภทนั้น ๆ ในการกำหนดอัตราเงินเดือนตามคุณวุฒิ เพื่อใช้ในการบรรจุและแต่งตั้ง (ยกเว้นกฎหมายว่าด้วยข้าราชการทหารให้กำหนดเป็นกฎกระทรวง)

ดังนั้น เพื่อให้การปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกประเภท บรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และเป้าหมายเดียวกัน โดยมีความเป็นธรรมไม่เหลื่อมล้ำกัน

จึงเห็นควรให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภทนำเสนอคณะกรรมการบริหารงานบุคคลของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามคุณวุฒิ และการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ใช้งบประมาณ สำหรับการดำเนินการดังกล่าวต่อไป  

การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุในช่วงปี พ.ศ. 2555 กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เห็นควรพิจารณาปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานชั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท และปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำ จากเดิม 10,000 บาท เป็น 11,000 บาท ซึ่งการปรับเพดานเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวในครั้งนี้      

จะครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ทหารกองประจำการ และผู้รับบำนาญ และคาดว่าจะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3,000 ล้านบาทต่อปี โดยให้ส่วนราชการใช้จ่ายจากงบประมาณของแต่ละส่วนราชการเป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลาง ต่อไป

การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ นอกจากการปรับอัตราเงินเดือน แรกบรรจุเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบราชการแล้ว สำนักงาน ก.พ เห็นควรมีมาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการปฏิบัติงานของส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐควบคู่กันไปด้วย โดยเบื้องต้นอาจพิจารณาโดยให้ความสำคัญกับมาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบราชการที่สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที ดังต่อไปนี้

การบริหารจัดการอัตรากำลังเพื่อเร่งรัดการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จะเป็นผู้กำหนดมาตรการ/แนวทาง/นโยบายในการกระตุ้นให้ส่วนราชการเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำงาน โดยการยุบเลิกตำแหน่งว่างจากการเกษียณของตำแหน่งในสายงานสนับสนุน (เฉพาะตำแหน่งที่สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้แทนได้) เป็นระยะเวลา 3 ปีต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ส่วนราชการจัดทำและดำเนินการตาม Digital Transformation Plan ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะเปลี่ยนผ่าน รัฐบาลโดยคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) จะพิจารณาจัดสรรกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ถูกยุบเลิกตามแนวทางดังกล่าว (เต็มจำนวน) โดยส่วนราชการจะจ้างพนักงานราชการได้ไม่เกิน 1 สัญญาจ้าง (ไม่เกิน 4 ปี) ทั้งนี้ หากมีเหตุผลและความจำเป็น คพร. อาจพิจารณาให้ต่อสัญญาได้เป็นรายกรณี

การบริหารจัดการอัตรากำลังข้าราชการที่ไปช่วยราชการ เนื่องจากปรากฏข้อมูลว่า ปัจจุบันส่วนราชการต่าง ๆ มีการอนุมัติให้ข้าราชการไปช่วยราชการในส่วนราชการอื่นเป็นจำนวนมาก การช่วยราชการในลักษณะดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่ออัตรากำลังผู้ปฏิบัติงานของส่วนราชการต้นสังกัด ดังนั้น เพื่อให้การใช้กำลังคนภาครัฐเกิดประโยชน์สูงสุด (Workforce Optimization) จึงเห็นควรมีมาตรการเพื่อจำกัดการช่วยราชการให้เกิดขึ้นเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็น/หลีกเลี่ยงไม่ได้เท่านั้น โดยคณะรัฐมนตรีอาจมีมติเป็นหลักการในทำนองเดียวกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2554 (เรื่อง การปรับปรุงอัตรากำลังข้าราชการที่ไปช่วยราชการ) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2545 (เรื่อง แนวคิดในการแก้ไขปัญหาการให้ข้าราชการไปช่วยราชการ) กล่าวคือ ให้ทบทวนหรือยกเลิกการช่วยราชการทั้งหมด และต่อไปหากมีความจำเป็นต้องขอยืมตัวข้าราชการผู้ใดไปช่วยราชการที่ใด ให้เสนอขออนุมัติต่อผู้บังคับบัญชาระดับสูง เช่น ปลัดกระทรวง เพื่อพิจารณาเป็นการเฉพาะราย

การเชื่อมโยงฐานข้อมูลข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากปัจจุบันส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ในฐานะต้นสังกัดของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐประเภทต่าง ๆ ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศหรือฐานข้อมูลทรัพยากรบุคคลเป็นของตนเอง ทำให้ข้อมูลกำลังคนภาครัฐประเภทต่าง ๆ กระจายตัวอยู่ในแต่ละส่วนราชการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว ส่งผลให้รัฐบาลขาดข้อมูลที่จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายกำลังคนภาครัฐให้มีความเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการวางแผน ติดตาม และประเมินผลการใช้ประโยชน์กำลังคนภาครัฐ ตลอดจนการเกลี่ยอัตรากำลังที่มีอยู่อย่างจำกัดไปยังภารกิจที่มีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วน จึงเห็นควรมีมาตรการเชิงบังคับให้ส่วนราชการและหน่วยงานภาครัฐเชื่อมโยงฐานข้อมูลกำลังคนกับระบบโปรแกรมกลางด้านสารสนเทศทรัพยากรบุคคล (DPIS Center) ของสำนักงาน ก.พ. ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลมีข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์ และเพียงพอต่อการกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการกำลังคนภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

การพัฒนาระบบค่าตอบแทนภาครัฐในระยะต่อไป สำนักงาน ก.พ. จะดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาทบทวนโครงสร้างเงินเดือนและระบบค่าตอบแทนภาครัฐให้มีความเหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับสภาวการณ์ โดยมุ่งเน้นให้ระบบค่าตอบแทนภาครัฐเป็นเครื่องมือในการดึงดูดและรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้แก่ข้าราชการ การจ่ายค่าตอบแทนที่สะท้อนถึงผลการปฏิบัติงานที่แท้จริง (Performance Based Pay) ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนทางการคลังของประเทศและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ

อ้างอิง - รัฐบาลไทย กระทรวงศึกษาธิการ และ สำนักงาน ก.พ.