เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

วันที่ 21 กันยายน เป็นวันอัลไซเมอร์โลก และวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันหลอดเลือดสมองโลก ทั้งอัลไซเมอร์และความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ล้วนเป็นสาเหตุหลักของการเกิดภาวะสมองเสื่อม ประมาณ 90 % ของผู้มีภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด

รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2564 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) เปิดเผยว่าปี 2564 ประเทศไทยมีประชากรรวม 66.7 ล้านคน มีผู้สูงอายุ 12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19 ของประชากร ทั้งหมด  ซึ่งในจำนวนผู้สูงอายุดังกล่าว พบว่ามีผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 6.8 แสนคน แบ่งเป็นผู้ชาย 2 แสนคน และผู้หญิง 4.8 แสนคน ส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุ (caregiver) 94,968 คน

วันนี้ (27 ต.ค.2565) สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  ได้เปิดตัวแพลตฟอร์มในรูปแบบเว็บไซต์ “CaregiverThai.com พลังใจสู้สมองเสื่อม" ในวันที่ 1 พ.ย.2565 นี้ ผลจากการศึกษาของโครงการวิจัยพัฒนาระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมแบบบูรณาการตามบริบทสังคมไทย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลช่วยผู้มีภาวะสมองเสื่อม

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

ผศ.พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่ความสูงวัย สิ่งหนึ่งที่จะตามมาคือเรื่องของความเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ อย่าง เบาหวาน ไขมัน โรคหัวใจ โรคอัมพาตอัมพฤกษ์ โรคกลุ่มไม่เรื้อรังต่างๆ  รวมถึงจะเกิดภาวะพึ่งพิง พวกเขาจะไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ หน้าที่ของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คือ ดูแลทุกเรื่อง เรื่องไหนที่เรารักษาไม่ได้ก็จะส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทาง

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

รู้จักภาวะ "สมองเสื่อมถอย" หนึ่งในอาการที่พบได้หลังติดโควิด 1-6 เดือน

ใช้สมองคิดงานเยอะ ระวัง! “ภาวะสมองล้า” เสี่ยงสมองเสื่อมก่อนวัย

เช็คอาการ "อัลไซเมอร์" ขี้ลืมขนาดไหน ? ถึงต้องไปพบแพทย์

แพทย์เตือนโปรตีนในสมองผิดปกติ เสี่ยงภาวะสมองเสื่อมรุนแรง

 

  • สมองเสื่อมไม่ใช่สมบัติของผู้สูงอายุ

 “ปัจจุบันพบผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่จะพบภาวะสมองเสื่อมในอายุเฉลี่ย 80 ปี ส่วนผู้ชายอายุ 70 ปี ซึ่งตอนนี้ที่พบมาเพราะมีการตรวจมากขึ้น และคนไข้อายุยืนขึ้น สมองเสื่อมไม่คุณสมบัติของผู้สูงอายุ แต่ส่วนใหญ่ถ้าอายุ 80 ปี ขึ้นไป 3 คนเดินมาจะพบ 1 คนที่มีภาวะสมองเสื่อม และไม่ใช่ทุกคนที่สูงวัยต้องเสื่อม”ผศ.พญ.สิรินทร กล่าว

ทั้งนี้ เวลาเป็นสมองเสื่อม ต่อให้คนไข้เดินได้ แต่พวกเขาจะเป็นเสมือนคนไข้มีขาแต่ไม่มีสมอง เขาจะเดินไปเรื่อยๆ เจออะไรเขาก็จะเดินไป โดยที่เขาไม่รู้ แก้ปัญหาไม่ได้ ตัดสินใจไม่ได้ อีกทั้งคนไข้สมองเสื่อมเขาจะรับปากว่าทำได้ แต่จริงๆ เขาทำไม่ได้  จึงจำเป็นต้องมีผู้ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุสมองเสื่อม

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

ผศ.พญ.สิรินทร กล่าวต่อว่า ผู้สูงอายุสมองเสื่อมในประเทศไทย ส่วนใหญ่จะมีผู้ดูแลที่เป็นคนในครอบครัว จะไม่ค่อยมีผู้ดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุมักจะไม่อยากให้ผู้อื่นมาดูแล และค่าใช้จ่ายแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทยมีราคาค่อนข้างสูง  แต่การที่คนในครอบครัวดูแลผู้สูงอายุ พบปัญหา นั่นคือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่เป็นคนในครอบครัวก็จะแย่ไปด้วย ดังนั้น ทุกครั้งที่สอนนักศึกษาจะไม่ได้ให้ดูแลเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ต้องดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุร่วมด้วย เพราะไม่เคยมีคนไข้คนเดียว 

 

  • CaregiverThai.com แหล่งข้อมูลผู้ช่วยผู้ดูแลภาวะสมองเสื่อม

การทำเว็บไซต์ “CaregiverThai.com พลังใจสู้สมองเสื่อม จะประกอบด้วยหัวข้อหลัก 8 ส่วน ดังนี้

1.เข้าใจภาวะสมองเสื่อม รู้จัก เข้าใจ อาการภาวะสมองเสื่อม รวมถึงแนวทางการป้องกัน สัญญาณเตือนและการรักษา เพื่อการดูแลอย่างถูกวิธี แนะนำเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ชนิดของสมองเสื่อม อาการและการวินิจฉัย สัญญาณเตือนสมองเสื่อมแนวทางการรักษา ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกัน

2.มุมผู้ดูแล คู่คิดผู้ดูแล พื้นที่สร้างพลังใจ แหล่งรวมตัวช่วยให้ผู้ดูแล เรื่องเล่าบอกต่อประสบการณ์ สร้างความพร้อมกายใจ และสายด่วนให้คำปรึกษา           เตรียมตัวเตรียมใจอย่างไร เตรียมพร้อมร่างกายผู้ดูแล วิธีผ่อนคลายจิตใจ ป้องกันการบาดเจ็บจากการดูแล มุมเรื่องเล่า วันวาน ณ ปัจจุบัน

3.Caregiver Connect มุมที่ปรึกษาของผู้ดูแลแบบส่วนตัว ศูนย์รวมข้อมูลความช่วยเหลือ และปฏิทินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาทักษะการดูแล แบบประเมินผู้ดูแล ติดต่อที่ปรึกษา กิจกรรมใกล้คุณ แหล่งช่วยเหลือและสนับสนุน

4.รอบรู้เรื่องการดูแล ครบเครื่องเรื่องการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมในระยะต่าง ๆ How to การดูแลในกิจวัตรประจำวันพร้อมคำแนะนำทีละขั้นตอน แค่ปรับใช้ให้เหมาะสม การดูแลเป็นเรื่องง่ายได้ทุกเวลา นิยามผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมระยะ 1/2/3 ปัญหาและแนวทางการรับมือ การสื่อสาร ตารางกิจวัตรประจำวัน สุขภาพกาย-ใจความปลอดภัยในบ้าน การจัดการเรื่องยา การดูแลเฉพาะทางและการเตรียมอุปกรณ์

5. อุปกรณ์แนะนำ ข้อมูลและรายการอุปกรณ์ สิ่งของจำเป็นในกิจวัตรประจำวัน เมื่อต้องดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม แนะนำอุปกรณ์และการใช้ แหล่งซื้ออุปกรณ์

6.กฎหมาย/สิทธิ/สวัสดิการ สิทธิและสวัสดิการที่ผู้ดูแลควรรู้ ข้อปฏิบัติและความช่วยเหลือภาครัฐในด้านต่างๆ กฎหมาย สวัสดิการจากภาครัฐ สิทธิของผู้สูงอายุ/ผู้ป่วย แนะนำสถานที่ให้คำปรึกษา ประเด็นที่ต้องระวัง

7.แบบนี้ต้องรีบหาหมอ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน อาการแบบไหนต้องรับมืออย่างไร ฉุกเฉิน! พบแพทย์ทันที พบแพทย์โดยเร็วภายใน 4-6 ชั่วโมง ควรพบแพทย์ภายใน 24-48 ชั่วโมง

8.ดาวน์โหลด แหล่งรวมคู่มือ เอกสารจำเป็นสำหรับผู้ดูแลให้เลือกใช้ รวมทั้ง Infographic เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม เตรียมพบแพทย์ครั้งแรก เตรียมพบแพทย์เพื่อติดตามอาการ  และอื่น ๆ

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

  • “โรคสมองเสื่อม” โรคที่อายุน้อยก็เป็นได้

"สมองเสื่อมเกิดได้จากหลายปัจจัย และไม่ได้เกิดเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น ผู้ที่มีอายุน้อยๆ ก็สามารถเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยอายุเฉลี่ยที่จะเจอภาวะสมองเสื่อม ประมาณ 70 ปี แต่ที่ผ่านมามีคนไข้อายุ 48 ปี ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ สมองเสื่อมได้ และเมื่อเป็นสมองเสื่อม โดยเฉพาะอัลไซเมอร์ จะมีอายุเฉลี่ยอยู่ต่อไปได้ประมาณ 2-20  ปี แล้วแต่การดูแล และการรักษา" ผศ.พญ.สิรินทร  กล่าว

โรคสมองเสื่อม คือกลุ่มอาการที่มีการทำงานของสมองในด้านความจำ ความคิด การใช้เหตุผล การใช้ภาษา และการรับรู้สิ่งแวดล้อม ผิดปกติไป ทำให้เกิดปัญหาทางความคิด การตัดสินใจ พฤติกรรม และ อารมณ์ผิดปกติไป มีผลต่อการใช้ชีวิต หรือการทำกิจวัตรประจำวัน จนในที่สุดผู้ป่วยหลายคนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องมีผู้ดูแลอย่างใกล้ชิด

สาเหตุของโรคสมองเสื่อมที่พบบ่อย  มี 2 ชนิด  คือ

 1. โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากความเสื่อมของสมองโดยตรง  หรือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s  disease)

เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือ   โดยช่วงแรกผู้ป่วยจะมีสมองฝ่อลงโดยเฉพาะสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ  หลังจากนั้นสมองส่วนอื่น ๆ จะมีการฝ่อตามมาจนมีผลต่อความคิด  การตัดสินใจ  การพูดสื่อสาร  ตลอดจนมีปัญหาพฤติกรรมตามมา

เนื่องจากการดำเนินของโรคนี้ค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไปจนมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ   การตรวจพบโรคนี้ตั้งแต่เริ่มแรกจะทำให้มีโอกาสชะลอความรุนแรงของโรค ให้เกิดช้าลงได้   จึงควรให้ความใส่ใจกับอาการหลงลืมที่พบในผู้สูงอายุ 

ถ้ามีอาการหลงลืมบ่อยขึ้นจนเกิดผลเสีย เช่น ของหายบ่อย  ถามเรื่องเดิมซ้ำ ๆ   จำเหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่ได้ ก็ควรรีบมาพบแพทย์  ทั้งนี้การสังเกตอาการจากผู้ที่เป็นญาติใกล้ชิดมีความสำคัญมาก  เพราะผู้ป่วยก็มักจะจำไม่ได้ว่าตัวเองเคยลืมอะไร  และคิดว่าตนเองเป็นปกติดี

เช็กอาการแบบไหนเป็นโรคสมองเสื่อม CaregiverThai.com ช่วยได้เริ่ม1พ.ย.นี้

2. โรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมองผิดปกติ (vascular neurocognitive disorder)

ยิ่งอายุมากขึ้น   ผู้สูงอายุก็ยิ่งมีโรคประจำตัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน   ไขมันในเลือดสูง  ความดันสูง   ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เส้นเลือดเล็ก ๆ ในสมองแตก  หรือตีบตันได้  มีผลต่อเนื้อสมองส่วนนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ  ทำให้สมองส่วนความคิด  ความจำ  การรับรู้เสียไปด้วยได้

นอกจากสาเหตุการเกิดโรคสมองเสื่อม 2 ชนิดข้างต้นนี้แล้ว   โรคสมองเสื่อมยังเกิดจากสาเหตุที่สามารถรักษาได้ เช่น  โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากไธรอยด์ฮอร์โมนทำงานผิดปกติ  การดื่มแอลกอฮอล์ ภาวะโพรงสมองโต  มีเลือดคั่งหรือเนื้องอกที่สมอง  การติดเชื้อในสมอง  เช่น โรคซิฟิลิส หรือ โรคเอดส์  รวมถึงการขาดวิตามินที่สำคัญต่อการทำงานของสมอง  เช่น  วิตามินบี 12 เป็นต้น

ดังนั้น เมื่อสังเกตว่าตนเอง  หรือผู้ใกล้ชิดมีปัญหาเรื่องความจำ  การพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยจึงมีความสำคัญมากเพื่อหาสาเหตุ  และถ้าเป็นสาเหตุที่สามารถรักษาได้  การแก้ไขที่ทันท่วงทีจะทำให้อาการโรคสมองเสื่อมดีขึ้น ได้ 

"จริงๆ แล้ว ตัวโรคไม่ค่อยน่ากังวล แต่เรื่องการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมจะน่ากังวลมากกว่า  บางครั้งจะเห็นแม่ลูกทะเลาะกัน แม่เป็นสมองเสื่อมมีอาการหวาดระแวง เพราะสามีโชคร้ายเสียชีวิตไป ก็ส่งผลกระทบกระเทือนทางใจ จนจําไม่ได้ว่าสามีหายไป ซึ่งก็ทําให้ลูกๆ ดูแลได้ลําาบาก เป็นลักษณะจําได้แต่เรื่องเก่า แต่เรื่องใหม่จําไม่ได้ ลูกก็จะเครียด คนไข้กลุ่มนี้จะบันทึกเรื่องใหม่ลงในสมองน้อยมาก อาจารย์มองว่าคนไข้เหล่านี้น่าสงสารถ้าเป็นโรคอื่น" ผศ.พญ.สิรินทร  กล่าว