"หมอธีระ" เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ "โควิด-19"

"หมอธีระ" เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ "โควิด-19"

"หมอธีระ" เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ "โควิด-19" พบการอักเสบในสมอง กลุ่มที่มีปัญหาด้านความคิดความจำนั้นจะมีระดับ CCL11 กระบวนการแก่/เสื่อมถอยของเซลล์ และยับยั้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหา

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ หรือ "หมอธีระ" คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก "Thira Woratanarat" ถึงประเด็น "โควิด-19" ระบุว่า 

เมื่อวาน โควิด-19ทั่วโลก ติดเพิ่ม 250,039 คน ตายเพิ่ม 438 คน รวมแล้วติดไป 642,804,841 คน เสียชีวิตรวม 6,625,357 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อโควิด-19สูงสุด คือ

  1. ญี่ปุ่น
  2. เกาหลีใต้
  3. ฝรั่งเศส
  4. ไต้หวัน
  5. ฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรป และเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 94.22 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 84.93

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

อัพเดตความรู้ Long COVID

Venkataramani V และคณะจากประเทศเยอรมัน ได้สรุปความรู้วิชาการเกี่ยวกับปัญหาด้านความคิดความจำ (cognitive impairment) หลังจากติดเชื้อโรค "โควิด-19"

การศึกษาทางห้องปฏิบัติการในหนูที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยมีอาการน้อยนั้น พบว่าตรวจพบเกิดกระบวนการอักเสบในสมองตามมา ทั้งนี้กลุ่มที่มี ปัญหาด้านความคิดความจำ นั้นจะมีระดับ C-C motif chemokine 11 (CCL11) ที่สูงกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัญหา

ซึ่งจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เดิมที่มีมาก่อน ทราบกันว่า สาร CCL11 นี้เกี่ยวข้องกับกระบวนการแก่/เสื่อมถอย (aging) ของเซลล์ และยับยั้นการสร้างเซลล์ประสาทใหม่ (neurogenesis)

ณ ปัจจุบัน ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสมองและระบบประสาทภายหลังจาก ติดเชื้อโควิด-19 มีมากขึ้น โดยมีการศึกษาพยาธิสภาพ และกลไกในการเกิดความผิดปกติต่างๆ ทั้งในเรื่องความคิดความจำ สมาธิ รวมถึงโรคเรื้อรังที่ตามมา ทั้งหลอดเลือดสมอง ชัก และอื่นๆ

การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ ย่อมดีที่สุด ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ ระหว่างการตะลอนนอกบ้าน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยว หรือพบปะผู้คน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ระบาดขาขึ้นเช่นในปัจจุบัน พฤติกรรมส่วนตัวจะเป็นตัวกำหนดความเสี่ยงของแต่ละคน และความเสี่ยงนั้นไม่จบแค่ตัวเอง แต่นำพาไปสู่สมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิดได้

\"หมอธีระ\" เผยปัญหาด้านความคิดความจำ หลังจากติดเชื้อ \"โควิด-19\"

อ้างอิง

Venkataramani V et al. Cognitive Deficits in Long Covid-19. NEJM. 10 November 2022.