เชียงใหม่ขึ้นที่ 1 เมืองมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลก PM 2.5 กระทบสุขภาพ 46 จว.
จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลก โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ IQAir ณ เวลา 14.25 น.วันที่ 11 มีนาคม 2566 ขณะที่รายงานคุณภาพอากาศ พบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานและมีผลกระทบต่อสุขภาพ 46 จังหวัด
จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นแท่นอันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลก โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ IQAir ณ เวลา 14.25 น.วันที่ 11 มีนาคม 2566 ขณะที่ ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานคุณภาพอากาศ พบค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานและมีผลกระทบต่อสุขภาพ 46 จังหวัด
โดย เชียงใหม่ ขึ้นมาอยู่อันดับ 1 เมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุดในโลก ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 184 AQI ขณะที่ กรุงเทพมหานคร อยู่อันดับที่ 11 ดัชนีคุณภาพอากาศอยู่ที่ 154 AQI
สำหรับ 46 จังหวัด ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน มีผลกระทบต่อสุขภาพ (ข้อมูล ณ 12.00 น.วันที่ 11 มี.ค.2566) ดังนี้
- ปทุมธานี
- กรุงเทพฯ
- นนทบุรี
- เชียงราย
- เชียงใหม่
- น่าน
- แม่ฮ่องสอน
- พะเยา
- ลำพูน
- ลำปาง
- แพร่
- อุตรดิตถ์
- สุโขทัย
- ตาก
- พิษณุโลก
- กำแพงเพชร
- พิจิตร
- เพชรบูรณ์
- นครสวรรค์
- อุทัยธานี
- สิงห์บุรี
- ลพบุรี
- สระบุรี
- อ่างทอง
- สุพรรณบุรี
- กาญจนบุรี
- ราชบุรี
- เพชรบุรี
- ปราจีนบุรี
- สระแก้ว
- ฉะเชิงเทรา
- บึงกาฬ
- หนองคาย
- เลย
- อุดรธานี
- นครพนม
- หนองบัวลำภู
- มุกดาหาร
- ขอนแก่น
- กาฬสินธุ์
- ร้อยเอ็ด
- ชัยภูมิ
- อุบลราชธานี
- ศรีสะเกษ
- นครราชสีมา
- บุรีรัมย์
- ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 67-156 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 49-136 มคก./ลบ.ม.
- ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 38-80 มคก./ลบ.ม.
- ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 3 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 30-70 มคก./ลบ.ม.
- ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 11-26 มคก./ลบ.ม.
- กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 40-79 มคก./ลบ.ม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯวันนี้ (11 มี.ค.66) ระดับสีส้มเกินค่ามาตรฐาน 43 พื้นที่
- PM 2.5 ยังหนา จุดความร้อน 1,585 จุด เช็กพื้นที่พบมากสุด กทม.เขตบึงกุ่ม หนักสุด
คำแนะนำทางสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์
สำหรับประชาชนที่อยู่บริเวณพื้นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (พื้นที่สีแดง) ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ระหว่างวันที่12-18 มีนาคม 2566
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 12-18 มีนาคม 2566 ดังนี้
- วันที่ 12 มี.ค.2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่
- โดยหลังวันที่ 13 มี.ค.2566 เป็นต้นไปสถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ อย่างไรก็ตามช่วงระหว่างวันที่ 15-18 มี.ค.2566 เป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้
- พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและล่างระหว่างวันที่ 12-13 และ 16-18 มี.ค.2566
- ช่วงระหว่างวันที่ 12-13 มีนาคม 2566 มีโอกาสพบเจอฝนตกในบางพื้นที่ ของภาคเหนือตอนบน รวมถึงบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร