รู้หรือไม่? 10% เด็กออทิสติกเป็นอัจฉริยะ เข้าใจยอมรับอยู่ร่วมอย่างยั่งยืน
มูลนิธิออทิสติกไทย เผยมีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คนแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงขึ้นกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปีพบ 1 : 161 คน คาดว่าทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน 10% ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะด้านวาดภาพหรือเล่นดนตรี
Key point:
- “ออทิสซึม” เป็นโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษาและพฤติกรรม มีลักษณะโดดเด่นสำคัญคือ เด็กไม่ยอมสบตา ไม่ชอบมองหน้าคนอื่น ไม่สนใจมองตามเมื่อเรียกชื่อ ไม่สนใจผู้อื่น พูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ
- ปัจจุบันจำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยสถิติจากการสำรวจของหลายประเทศ พบว่า สัดส่วนเด็กที่มีภาวะออทิซึม ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนในเด็ก 59 คน จะพบเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 1 คน หรือ สัดส่วน 1:59
- ไทยมีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คน กลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี จะพบ 1 : 161 คน คาดว่า ทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน
- 10% ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน เช่น การวาดภาพหรือเล่นดนตรี 20% มีไอคิวต่ำที่ระดับน้อยถึงปานกลางสามารถเรียนร่วมและฝึกอาชีพได้ ที่เหลือ (70%) ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง 200 คนมีงานทำ และมีรายได้ เลี้ยงดูตนเอง
องค์การสหประชาชาติ กำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก (World Autism Awareness Day) ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2550 เพื่อเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ ตลอดจนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมรณรงค์ให้สังคมได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของโรคออทิสติก ให้เกิดความเข้าใจ เกิดการยอมรับ สร้างความเท่าเทียม และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
เลี้ยงลูกเด็กพิเศษ ให้กลายเป็น“ศิลปิน”ดิจิทัลอาร์ท
“งานศิลปะ” เด็กพิเศษ โลกของ “อเล็ก ชนกรณ์”
ดูซีรีส์ ทำความเข้าใจ "ออทิสติก สเปกตรัม" ผ่านทนายสาวอัจฉริยะ "อูยองอู"
จำนวนเด็กออทิสติกทั่วโลก 1:59
ที่ผ่านมาการรับรู้เกี่ยวกับ ออทิสซึม (autism awareness ) ถือว่าเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะรูปแบบของออทิสซึม ที่เด็กแต่ละคนที่เป็นออทิสติกก็มีความแตกต่างกันหลากหลายรูปแบบ 'สิบคนก็สิบแบบ ร้อยคนก็ร้อยแบบ'
โดยปีนี้ยูเอ็นเน้นเรื่อง ภายใต้แนวคิด“Toward a Neuro-Inclusive World for All” คือ ความพร้อมก้าวสู่โลกที่ยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคน สังคมควรเปิดโอกาสให้บุคคลที่มีภาวะออทิสติกใช้ชีวิตในฐานะพลเมืองของประเทศนั้น และมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมต่างๆอย่างเท่าเทียมทั่วถึง รวมถึงสิทธิมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วย
ปัจจุบันจำนวนบุคคลที่มีภาวะออทิซึมทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีสถิติจากการสำรวจของหลายประเทศ พบว่า สัดส่วนเด็กที่มีภาวะออทิซึม ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น สัดส่วนในเด็ก 59 คน จะพบเด็กที่มีภาวะออทิสซึม 1 คน หรือ สัดส่วน 1:59
'ออทิสซึม' เป็นโรคที่มีความผิดปกติของพัฒนาการทางสมอง ด้านสังคม ภาษาและพฤติกรรม มีลักษณะโดดเด่นสำคัญคือ เด็กไม่ยอมสบตา ไม่ชอบมองหน้าคนอื่น ไม่สนใจมองตามเมื่อเรียกชื่อ ไม่สนใจผู้อื่น พูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ ให้นึกถึงโรคนี้
'วรัท จันทยานนท์' กรรมการบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด และผู้จัดการแบรนด์ Artstory เปิดเผยว่า ในส่วนของประเทศไทย มีข้อมูลจากมูลนิธิออทิสติกไทย ระบุว่า มีผู้เป็นออทิสติกกว่า 3 แสนคน หรือทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติก 6 คน และดูเหมือนว่า...แนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากเรื่อยๆ เช่นกัน เด็กออทิสติกกลุ่มอายุไม่เกิน 5 ปี จะพบ 1 : 161 คน คาดว่า ทั่วประเทศมีประมาณ 18,220 คน และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละคนไม่เท่ากัน
บ.ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม
ทั้งนี้ 10 % ของจำนวนที่พบมีความเป็นอัจฉริยะในบางด้าน เช่น การวาดภาพหรือเล่นดนตรี 20% มีไอคิวต่ำที่ระดับน้อยถึงปานกลาง และอาจมีปัญหาพฤติกรรมร่วมด้วย แต่สามารถเรียนร่วมและฝึกอาชีพได้ ส่วนที่เหลือ (70%) ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การบำบัดรักษาต้องผสมผสาน ทั้งด้านการส่งเสริมพัฒนาการ การจัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม การส่งเสริมอาชีพ การมีงานทำ-การอยู่ร่วมกันในสังคมของเด็กออทิสติก
"ในบ้านเรา บุคคลที่เป็นออทิสติกมีไม่ถึง 200 คนที่มีงานทำ และมีรายได้ เลี้ยงดูตนเอง ฉะนั้น การพัฒนาศักยภาพเด็กและบุคคลออทิสติก ให้ได้เรียนรู้ ฝึกทักษะด้านอาชีพให้สามารถพึ่งตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมและทั่วถึง สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ The Sustainable Development Goals (SDGs) จึงเป็นก้าวอย่างที่สำคัญ"
โดยปี 2560 ที่ผ่านมามูลนิธิออทิสติกไทยและกลุ่มทรูและเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้สนับสนุนทุน1,000,000 บาท จดทะเบียนตั้งบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัดเพื่อดําเนินงานด้านการ พัฒนาคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติก ตั้งแต่การเตรียมความพร้อม การเตรียมเข้าสู่การทํางานและการประกอบอาชีพที่ถึ่งพาตัวเองได้ต่อมาในปี 2562 เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 5,000,000 บาท โดยบริษัทได้รับการรับรองเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามพรบ. วิสาหกิจเพื่อสังคมแล้ว
กรรมการบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด กล่าวว่าปัจจุบันภาคธุรกิจหลายแห่งเปิดโอกาสให้บุคคลที่เป็นออทิสติก เข้ามาทำงาน เรียนรู้ เติมประสบการณ์ และใช้ความสามารถ ทั้งที่ร้านกาแฟ For All Thai ร้าน Art Story By Autistic Thai อย่างร้าน True Coffee นั้น True Coffee ร่วมกับมูลนิธิออทิสติกไทยพัฒนา “บาริสต้า ออทิสติก ” บรรจุเข้าทำงาน ใน True Coffee Shop ร้าน True Coffee หรือภาคราชการ ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศของกองบริหารระบบบริการสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิตก็ประกาศ เปิดรับสมัครผู้พิการทางออทิสติกเข้าทำงาน
"ปัจจุบันบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จํากัด เป็นต้นแบบระบวนการวิสาหกิจเพื่อ สังคมแก่ให้ภาคีเครือข่าย ผู้ปกครองบุคคลออทิสติก และบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษในประเทศไทย ART STORY คือธุรกิจเชิงสังคมของกลุ่มเด็กและบุคคลออทิสติก ที่ร่วมกันรังสรรค์ผลงานจากจินตนาการผ่านภาพและลายเส้นผลงาน ศิลปะสู่ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ ให้เด็กพิเศษเข้าสู่การประกอบอาชีพและมีรายได้อย่างยั่งยืนเป็นศิลปินหรือนักสร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะ จํานวน40 คน"
นอกจากนี้ยังมีธุรกิจกาแฟภายใต้แบรนด์ For All Coffee มีบุคคลออทิสติกและบุคคลที่มีความต้องการจําเป็นพิเศษ จํานวน 10 คน เข้ากลุ่มอาชีพบาริสต้า นอกจากนี้ยังเป็นธุรกิจกาแฟ ต้นแบบแห่งแรกสําหร้บเครือข่ายบุคคลออทิสติกทั่วประเทศ มีแผนขยายธุรกิจแฟรนไชส์ให้กับเครือบุคคล ออทิสติกทั่วประเทศที่สนใจทําธุรกิจกาแฟ ปัจจุบัน For All Coffee มี 4 สาขาได้แก่ สาขาธนาคาร SME สาขากระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สาขากระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสาขามูลนิธิออทิสติกไทย ให้บริการ delivery ด้วย
"เราเชื่อว่า “ถ้าบุคคลออทิสติก มีอาชีพ มีงานทํา และมีรายได้ แล้วคุณภาพชีวิตของเขาและครอบครัวจะมั่งคงขึ้น”
แบรนด์ ARTSTORY ยังมีการจําหน่ายภาพวาด เช่น เสื้อผ้า หมวก กระเป๋า ผ้าพันคอ เคสโทรศัพท์ สมุดโน้ต การ์ด สติ๊กเกอร์ แก้วต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะออก Collectionใหม่ทุกๆ 4 เดือน หรือ Collection พิเศษที่มีการร่วมมือระ หว่างแบรนด์ หรือองค์กรต่างๆ เช่น Collection พิเศษ True x artstory, B-Quick, DHL x artstory,รูปภาพที่ศิลปินออทิสติกวาดออกมา ได้นําไปจดเป็น ลิขสิทธิ์และลวดลายเหล่านั้น จะถูกนําไปนําเสนอต่อลูกค้าที่ สนใจและต้องการนําลายเหล่านั้นไปใช้ไม่วาจะเป็นลวดลายบน Café amazon x artstory เป็นต้น สินค้า packaging หรือการหยิบยืมไปใช้ในโปรเจคต่างๆ
ทีมศิลปินArtstory รับจัดทํา Workshop ด้วยศิลปะ บําบัดให้องค์กร หรือตาม Event ต่างๆ เพ่ือให้บุคคลากรใน องค์กรหรือผู้ที่มาร่วมงานได้มีส่วนร่วมกับบุคคลออทิสติก ซึ่งกระบวนการนี้เปนกระบวนการฟื้นฟูทางอ้อมให้พวกเขาอีกด้วย จําหน่าย ในPlatform อาทิ WeloveShopping,Shop@24,Shopeeและเว็บไซต์Artstory OflineArtstory ที่มูลนิธิออทิสติกไทย, ห้างไอคอนสยาม ชั้น 4 โซน ICONCRAFT, ห้างสยาม Discovery ชั้น3โซนODSและสินค้าบางประเภทได้นําไปจัดจําหน่ายที่ร้านTrueCoffeeในบางสาขา
ออทิสติกก็เป็นอัจฉริยะ-ศิลปินได้
อเล็ก-ชนกรณ์ พุกะทรัพย์ อายุ 17 ปี เป็นออทิสติก และแอลดี หรือ Learning Disabilities (LD) ความบกพร่อการเรียนรู้ แต่แรงสนับสนุนของครอบครัวเลี้ยงดูฝึกฝน พัฒนาให้สามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ผนวกกับความสนใจ ความสามารถในตัวเองที่ได้ค้นพบ สนใจ เรียนรู้การเป็นนักเขียนในโลกออนไลน์ บอกเล่าเรื่องราว เขียนนิยายแชต ด้วยผลงานเรื่องแรก คือ Paper Heart (หัวใจกระดาษ)นิยายแชทรูปแบบใหม่บนแอปพลิเคชั่น Joylada “จอยลดา”
นอกจากนี้ยังมีผลงาน โลกของอเล็ก Creator ดิจิทัลอาร์ต จัดแสดงไปเมื่อวันที่ 12-14 มกราคม 2566 ณ ศูนย์การค้าแอมพาร์ค ได้รับผลตอบรับจากผู้เข้าชมเป็นอย่างดี เห็นได้จากการจัดจำหน่ายภาพได้ 17 ภาพ โดยภาพที่ชื่อว่า You can do it I can do it. ต้องจัดทำซ้ำถึง 5 ครั้ง เพราะมีผู้สนใจซื้อเป็นจำนวนมาก
บริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนา JNFT Marketplace ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย NFT สัญชาติไทย ให้การสนับสนุน และนำผลงานเชื่อมโยงจัดทำในรูปแบบแสตมป์ดิจิทัล I-Stamp พิเศษ! มีการจำหน่าย I-Stamp รายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายแสตมป์ของอเล็ก มอบให้แก่ มูลนิธิออทิสติกไทย เพื่อนำรายได้ไปส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กพิเศษ
"เขามีความสุขกับการวาดภาพบนหน้าจอ มีความสุขกับการเล่นเกม ดูการ์ตูนและวาดภาพบอกเล่าจินตนาการ ตอนนี้ ผมได้เป็น Creator ที่แม้จะเป็นออทิสติก แอลดี และทำมันได้ ฝากถึงเพื่อนที่เป็นเหมือนกับผมว่าการจะมีความสุขได้ต้องใช้เวลาในการค้นหาตัวเอง ค้นให้พบว่าความสุขของเราคืออะไร จริง ๆ และลงมือทำ ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องอายเลยครับ You can do it I can do it. # อย่ายอมแพ้” อเล็กกล่าว
2เมษาวันตระหนักรู้ออทิสติกโลก
สำหรับวันรณรงค์เพื่อการตระหนักรู้ออทิสติกโลก (Autism Awareness Day) 2 เมษายนปีนี้เครือข่ายสมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซืม (ไทย) และ มูลนิธิออทิสติกไทย ร่วมกันจัดงานรณรงค์วันตระหนักรู้ออทิสติกโลก World Autism Awareness Day 2023ภายใต้แนวคิด“Toward a Neuro-Inclusive World for All” หรือการเตรียมความพร้อมเพื่อก้าวสู่โลกที่ยอมรับความหลากหลายและความแตกต่างของทุกคนทั้งระดับครอบครัว, ระดับชุมชน, ระดับสถานที่ทำงานจัดงานนิทรรศการทั้งหมด 16 บูธ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิตของบุคคลออทิสติก ที่มูลนิธิออทิสติกไทย (มีการถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊ก)
โดยภายในงานจะมีกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ: นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เครื่องหนัง, กระเป๋าสาน และพวงกุญแจทำมือ สินค้าฝีมือคนพิการ
-สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร: ฝึกหรือสาธิตอาชีพเสริมสำหรับผู้พิการ ซึ่งสามารถขอเข้าฝึกอบรมได้ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานครทุกแห่ง
-สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ: จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องช่องทางต่างๆ ในการเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพคนพิการ
-สมาคมผู้ปกครองบุคคลออทิซึม (ไทย): จัดแสดงและนำเสนอนิทรรศการที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์สมาคม 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
-สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวัดราชาธิวาส: จัดนิทรรศการชุดความรู้ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนต้นแบบการเรียนเด็กพิเศษ
-นวัตกรรมออทิสติกไทย: จัดนิทรรศการให้ความรู้เรื่องช่องทางการหารายได้ด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น การทำสติกเกอร์ไลน์ เป็นต้น
-ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก ภาคเหนือ, ภาคอีสาน, ภาคกลาง และภาคใต้: นำเสนอผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากชมรมในเครือข่าย เช่น AuJaa’ Craft แบรนด์ผ้าฝ้ายมัดย้อมและงานถักโครเชต์, Scrubpy doo แผ่นล้างจานแห้งไว เป็นต้น
-มูลนิธิออทิสติกไทยและบริษัท ออทิสติกไทย วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด: จัดแสดงนิทรรศการและสาธิตโครงงานที่พัฒนาร่วมกับกศน.ตลิ่งชัน ว่าด้วยการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับบุคคลออทิสติก, สาธิตอาชีพงานปั้น และนำเสนอสื่อนวัตกรรมที่พัฒนาจากแอปพลิเคชันเพื่อบุคคลออทิสติก รวมถึงผลงาน digital art by Artstory ที่พัฒนาภาพวาดบนเฟรมผ้าใบในห้องศิลปะ ให้กลายเป็นสินทรัพย์ดิจิตอลจำหน่ายในตลาด NFT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายผลงาน NFT ด้วยเหรียญคริปโทเคอร์เรนซีได้
-โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์: นำเสนอ SNOEZELEN TECHNIC หรือการจัดห้องบำบัดด้วยแสงและสี ซึ่งเป็นนวัตกรรมการบำบัดรักษาพฤติกรรมของบุคคลออทิสติกจากเนเธอร์แลนด์
-ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน): นำเสนอ App, STS ,ธนาคารชุมชม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ให้ความรู้เรื่องการอยู่ร่วมกับผู้อยู่ในภาวะออทิซึม
-เครือข่ายต้นแบบfor All coffee: จำหน่ายกาแฟและน้ำชงจากฝีมือของบาริสต้า ซึ่งได้รับการฝึกอบรมจากมูลนิธิฯ เพลิดเพลินทั้งรสชาติและเสพความอาร์ตไปในคราวเดียวกันกับเมนูที่ช่วยเติมพลังให้เช้าวันใหม่ของทุกคนไม่จำเจ
-JNFT Marketplace: แนะนำ JNFT ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายและประมูล ผลงานศิลปะที่เป็นดิจิทัล บนระบบบล็อกเชนแบบไร้ศูนย์ (Decentralized) ผ่านการยืนยันสิทธิ์แทนการเป็นเจ้าของด้วยเหรียญที่ไม่สามารถแทนค่าหรือทำซ้ำได้ (Non-Fungible Token)
และวันที่ 3 เมษายน 2566จะมีงานเสวนาแลกเปลี่ยนหัวข้อ “การดูแลเด็กออทิสติกในครอบครัว”ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ รัชดา กรุงเทพมหานครบุคคลทั่วไปที่สนใจเข้าเยี่ยมชมงานนิทรรศการวันที่ 2 เมษายน ซึ่งจัดขึ้นที่มูลนิธิออทิสติกไทย ตั้งแต่เวลา 10.00 – 16.00 น.