ค่าฝุ่น PM 2.5 กรุงเทพฯอ่วม 55 พื้นที่พบเกินมาตรฐาน เริ่มมีผลต่อสุขภาพ
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือฝุ่น PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ ประจำวันที่ 22 เมษายน 2566 เช้านี้ พบว่าเกินมาตรฐานจำนวน 55 พื้นที่
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศ ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ ฝุ่น PM 2.5 พื้นที่กรุงเทพฯ ประจำวันที่ 22 เมษายน 2566 เวลา 07.00 น.
ค่าฝุ่น PM 2.5 ตรวจวัดได้ 44-68 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร พบว่าเกินค่ามาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 55 พื้นที่ อยู่ในระดับสีส้มเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนี้
1.เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 68 มคก./ลบ.ม.
2.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 66 มคก./ลบ.ม.
3.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
4.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 65 มคก./ลบ.ม.
5.เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
6.เขตหนองจอก บริเวณหน้าสำนักงานเขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 64 มคก./ลบ.ม.
7.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
9.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 63 มคก./ลบ.ม.
10.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
11.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
13.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
14.เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 61 มคก./ลบ.ม.
16.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
17.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
18.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
19.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
20.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
21.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
22.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
23.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
24.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
25.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
26.สวนหนองจอก เขตหนองจอก เขตหนองจอก : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
27.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
28.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
29.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
30.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
31.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
32.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
33.สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
34.เขตราชเทวี ภายในสำนักงานเขตราชเทวี : มีค่าเท่ากับ 57 มคก./ลบ.ม.
35.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
36.สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
37.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
38.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 56 มคก./ลบ.ม.
39.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
40.เขตดุสิต ริมสวนหย่อมตรงข้ามสำนักงานเขตดุสิต : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
41.เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
42.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
43.เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
44.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 54 มคก./ลบ.ม.
45.อุทยานเบญจสิริ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
46.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
47.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
48.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
49.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
50.สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม.
51.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
52.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
53.สวนวชิรเบญจทัศ เขตจตุจักร เขตจตุจักร : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
54.สวนกีฬารามอินทรา เขตบางเขน เขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
55.สวนเบญจกิติ เขตคลองเตย เขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
- ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
- กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน
ข้อแนะนำ
ระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
สำหรับบุคคลทั่วไป : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น
ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง หากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ อ่อนเพลียควรปรึกษาแพทย์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 22-29 เม.ย.2566 การระบายอากาศดี แต่พบชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิดอย่างต่อเนื่อง ทำให้ฝุ่นละอองPM 2.5 ระบายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้คุณภาพอากาศอยู่ในระดับปานกลาง-เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีอากาศร้อนจัดหลายพื้นที่ในบริเวณประเทศไทยตอนบน
ทั้งนี้ เนื่องจากความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกและลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่
จึงขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น และวันนี้กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีอากาศร้อนโดยทั่วไป กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่
ในช่วงวันที่ 22-28 เมษายน 2566 สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลยังคงมีแนวโน้มที่ดีถึงปานกลาง โดยวันที่ 22 เมษายน 2566 ในบางพื้นที่อาจมีระดับฝุ่นละอองที่สูง แต่หลังวันที่ 23 เมษายน 2566 เป็นต้นไปสถานการณ์จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศที่เปิดมากขึ้น เพดานการลอยตัวอากาศที่สูงขึ้น ประกอบกับลมทางใต้ที่กำลังแรงช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่
สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน
เพื่อให้ประชาชนวางแผนการทำงาน การทำกิจกรรมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ/มีผลกระทบต่อสุขภาพ ควรลดระยะเวลา หรืองดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง