ควรรู้ ไซยาไนด์ การออกฤทธิ์เมื่อสัมผัส อาการ และกลไกการเกิดพิษสูงสุดถึงตาย

ควรรู้ ไซยาไนด์ การออกฤทธิ์เมื่อสัมผัส อาการ และกลไกการเกิดพิษสูงสุดถึงตาย

ควรรู้ ไซยาไนด์ การออกฤทธิ์เมื่อสัมผัส อาการ และกลไกการเกิดพิษสูงสุด จากคดีดัง แอมราชบุรี วางยาฆ่าเหยื่อและมีความเกี่ยวข้องกับสารพิษไซยาไนด์

จากคดีดัง แอมราชบุรี วางยาฆ่าเหยื่อและมีความเกี่ยวข้องกับสารพิษไซยาไนด์ ขณะที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เปิดเผยว่า พบเหยื่อแล้ว 14 ราย เสียชีวิต 13 ราย รอด 1 ราย และเชื่อว่ายังมีผู้ตกเป็นเหยื่อหรือเกี่ยวข้องอีกจำนวนมากนั้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"นายกฯ" ย้ำ "คดีแอม ไซยาไนด์" หากผิดลงโทษให้เด็ดขาด

อ.อ๊อด ลุยตรวจหาสารไซยาไนด์ มัดตัว 'แอม' จากหลักฐาน 400 รายการ

ขณะเดียวกันเรื่องที่สังคมให้ความสนใจโดยเฉพาะประเด็นสารพิษอันตราย 'ไซยาไนด์' ซึ่งเรื่องนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกฤทธิ์เมื่อสัมผัส รวมไปถึง กลไกการเกิดพิษสูงสุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่ควรรู้ เราไปดูกันว่ารายละเอียดแต่ละหัวข้อเป็นอย่างไรกันบ้าง

ไซยาไนด์ (Cyanide) คือสารอันตราย เป็นชื่อเรียกกลุ่มสารประกอบ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ Free Cyanide , Simple Cyanide, Complex Cyanide, Total Cyanide และ Cyanide Related Compound โดยสารกลุ่ม Simple Cyanide เช่น โซเดียมไซยาไนด์ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ที่อยู่ในรูปเกลื่อไซยาไนด์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำความสะอาดโลหะ การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า การสกัดแร่ทองและเงินออกจากสินแร่ ใช้เป็นวัตถุดิบในการย้อมสี เป็นต้น แต่เมื่อละลายน้ำจะแตกตัว ได้ Free Cyanide ออกมา ซึ่งเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง

การรับสัมผัสพิษจากไซยาไนด์

1.ทางลมหายใจ แก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์จะเกิดการแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด เข้าสู่กระแสเลือด ความรุนแรงของพิษขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไซยาไนด์และระยะเวลาสูดดม

2.ทางผิวสัมผัส สารละลายไซยาไนด์มีสภาพเป็นเบสสูง มีฤทธิ์กัดกร่อน ถูกดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณที่มีบาดแผล ทำให้เกิดผื่นตามผิวหนัง ไอของแก๊สไฮโดรเจนไซยาไนด์จะทำลายเรตินาประสาทตา ทำให้ตาบอด

3.ทางปาก ไซยาไนด์จะถูกดูดซึมเข้าสู่ผนังชั้นในของกระเพาะอาหาร และกรดในกระเพาะอาหารทำให้เกิดการแตกตัวของสารประกอบไซยาไนด์มากขึ้น

กลไกการเกิดพิษของไซยาไนด์

ไซยาไนด์ จะยับยั้งขบวนการหายใจระดับเซลล์ส่งผลให้เนิดสภาวะขาดออกซิเจน มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตตก สมองขาดออกซิเจน ส่งผลให้ผู้ป่วยชักหรือหมดสติ ความดันโลหิตต่ำและมีการหายใจช้าจนถึงหยุดหายใจ

การตรวจวิเคราะห์ไซยาไนด์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รับตรวจวิเคราะห์

1.ยืนยันไซยาไนด์ ในตัวอย่าง น้ำล้างกระเพาะ อาหาร วัตถุต้องสงสัย

2.ปริมาณไซยาไนด์ ในตัวอย่างเลือด

3. ปริมาณเมตาบอไลต์ไทโอไซยาเนต (thiocyanate) ในตัวอย่างปัสสาวะ

 

ควรรู้ ไซยาไนด์ การออกฤทธิ์เมื่อสัมผัส อาการ และกลไกการเกิดพิษสูงสุดถึงตาย

อันตรายจากไซยาไนด์

ไซยาไนด์ สามารเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการ เช่น ระคายเคืองบริเวณที่สัมผัสอย่างผิวหนังหรือดวงตา ร่างกายอ่อนแรง เวียนศีรษะ คลื่นไส้ หายใจติดขัด หมดสติ และหัวใจหยุดเต้น เป็นต้น โดยความรุนแรงของอาการนั้นอาจขึ้นอยู่กับชนิด ปริมาณ และระยะเวลาในการได้รับ โดยผลกระทบจากการได้รับไซยาไนด์ อาจแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 

1.ภาวะเป็นพิษแบบเฉียบพลัน เป็นอาการที่พบได้ยาก เกิดขึ้นในทันที อาจทำให้เกิดอาการ เช่น หายใจติดขัด เลือดไหลเวียนผิดปกติ ภาวะหัวใจหยุดเต้น สมองบวม ชัก และหมดสติ เป็นต้น

2.ภาวะเป็นพิษแบบเรื้อรัง เกิดจากการได้รับไซยาไนด์ปริมาณเล็กน้อยต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน เบื้องต้นอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน เกิดผื่นแดง และอาจมีอาการอื่นๆเกิดขึ้นตามมา เช่น รูม่านตาขยาย ตัวเย็น อ่อนแรง หายใจช้า ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลานานอาจทำให้หัวใจเต้นช้าหรือเต้นผิดปกติ ผิวหนังบริเวณใบหน้าและแขนขากลายเป็นสีม่วง โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด

ควรรับมืออย่างไร หากสัมผัสไซยาไนด์

1.การสัมผัสทางผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนออกด้วยการใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้าออกเป็นชิ้นๆและนำออกจากลำตัว วิธีนี้จะช่วยให้เสื้อผ้าที่ปนเปื้อนไม่ไปสัมผัสกับผิวหนังส่วนอื่น และไม่ควรให้ผู้อื่นสัมผัสร่างกายหรือเสื้อผ้าโดยตรงเพราะอาจได้รับพิษจากไซยาไนด์ไปด้วย ที่สำคัญรีบทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำและสบู่เพื่อลดปริมาณสารพิษ และไป รพ.ให้เร็วที่สุด

2.การสูดดม กรณีที่ผู้ป่วยหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ ต้องทำ CPR ปั๊มหัวใจเพื่อปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แต่ห้ามใช้วิธีเป่าปากหรือวิธีผายปอดเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับพิษ

3.การสัมผัสทางดวงตา กรณีใส่แว่นหรือคอนแทคเลนส์ ควรถอดออก จากนั้นให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาต่อเนื่องกันอย่างน้อย 10 นาทีและไปโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจ

กรณี ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมากๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด

วิธีหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับไซยาไนด์ อาจทำได้เบื้องต้น เช่น 

  • งดสูบบุหรี่
  • เก็บภาชนะที่บรรจุสารเคมีภายในบ้านให้มิดชิดและเหมาะสม
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ควรใช้ภาชนะรองรับสารเคมีที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งอาจช่วยให้ได้รับสารพิษน้อยลงหากเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงลดโอกาสการสัมผัสและการสูดดมลงด้วย
  • ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมี ไม่ควรนำเสื้อผ้าหรืออุปกรณ์ที่อาจปนเปื้อนไซยาไนด์ออกนอกสถานที่ทำงานหรือนำกลับบ้าน
  • ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับสารพิษสูง เช่น เกษตรกร ช่างเหล็ก ช่างทอง พนักงานที่อยู่ในกระบวนการการผลิตกระดาษ สิ่งทอ ยาง และพลาสติก ผู้ที่ทำงานกำจัดแมลง เป็นต้น ควรไปพบแพทย์และเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ

 

ข้อมูลประกอบจาก 

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

pobpad

wikipedia.org/wiki/ไซยาไนด์