1 มิ.ย. 'วันดื่มนมโลก' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

1 มิ.ย. 'วันดื่มนมโลก' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

การลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในห่วงโซ่การผลิตนม เป็นประเด็นสำคัญสำหรับการจัดกิจกรรมใน 'วันดื่มนมโลก' ในปีนี้ เพื่อให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้แสดงความรับผิดชอบต่อชุมชน สัตว์ ที่ดิน รวมทั้งนำแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนไปปรับใช้ในการผลิตนม

หลังจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization : FAO) กำหนดให้ วันที่ 1 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันดื่มนมโลก (World Milk Day) เพื่อตระหนักถึงความสำคัญของนมที่เป็นอาหารของโลก โดยในปี 2566 นี้ วันดื่มนมโลกจะมุ่งเน้นไปที่การแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์นมมีส่วนช่วยในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันก็ให้คุณค่าทางโภชนาการและการดำรงชีวิตของผู้คนจำนวนมาก

 

การจัดกิจกรรมปีนี้ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างโภชนาการ ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางสังคมจากภาคการผลิตนม รวมทั้งความรับผิดชอบของเกษตรกรเลี้ยงโคนมที่มีต่อชุมชน สัตว์ ที่ดิน และแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนในภาคการผลิตนม อีกทั้งผลิตภัณฑ์นมยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและการดำรงชีวิต

 

ทั้งนี้ ความต้องการบริโภคนมสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก เนื่องจากการเติบโตของจำนวนประชากรและรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ วัฒนธรรมการบริโภคแบบตะวันตกก็เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในจีนและอินเดียส่งผลให้กระบวนการผลิตนมเกิดขึ้นทั่วโลก

 

1 มิ.ย. \'วันดื่มนมโลก\' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

 

ความต้องการผลิตภัณฑ์นมที่เพิ่มสูงขึ้นนี้เองได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้หลายทาง ทั้งทรัพยากรทางธรรมชาติ น้ำ และดิน ขณะที่ผลกระทบขึ้นอยู่กับขนาดของเกษตรผู้เลี้ยงโคนมและเกษตรกรผู้ปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารสัตว์

 

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล คาดการณ์ว่า การผลิตนมทั่วโลก ใช้วัวมากถึง 270 ล้านตัว โดยโคนมและปุ๋ยคอกนั้นทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือภาวะโลกร้อน หากจัดการกับมูลสัตว์ ทำไม่ดี เกิดแหล่งน้ำเน่าเหม็น แหล่งน้ำในท้องถิ่นลดลง รวมทั้งการเลี้ยงโคนมและการผลิตอาหารสัตว์ที่ไม่ยั่งยืน อาจนำไปสู่การสูญเสียพื้นที่สำคัญทางนิเวศวิทยา เช่น ทุ่งหญ้า พื้นที่ชุ่มน้ำ และป่าไม้

 

ข้อมูลจาก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ระบุอีกว่า แม้อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์นมจะเติบโตต่อเนื่อง แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมยังคงเผชิญกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการขาดแคลนอาหารสัตว์ การกีดกันทางการค้า การขาดโครงสร้างพื้นฐาน ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และการผลิตที่กระจัดกระจาย

 

ล่าสุด องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ และพันธมิตร กำลังสนับสนุนโครงการ Pathways to Dairy Net Zero (แนวทางในการมุ่งสู่เป้าหมายสำหรับการผลิตนมสุทธิเป็นศูนย์) เพื่อเอาชนะความท้าทายเหล่านี้และลดการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ จากกระบวนการผลิตนม ขณะเดียวกันก็เพิ่มบทบาทสำคัญของการผลิตนมที่มีต่อความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ การดำรงชีวิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

1 มิ.ย. \'วันดื่มนมโลก\' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

 

สำหรับโครงการ pathways to dairy net zero ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย.2564 ในช่วงก่อนการประชุมสุดยอดผู้นำระบบอาหารโลก (UN Food and Systems Summits) โดยการขับเคลื่อนนี้ได้มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากผลิตภัณฑ์นมในอีก 30 ปีข้างหน้า

 

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะหน่วยงานที่ผลักดันรณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับคนไทยเกี่ยวกับสุขภาพ มองถึงการรับมือในภาวะวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะ สสส. โดยแผนอาหารเพื่อสุขภาวะเล็งเห็นความสำคัญประเด็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัย และเพียงพอกับทุกคน โดยเฉพาะการมุ่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy) ซึ่งการปรับระบบอาหารที่ยั่งยืน เป็นธรรม และเน้นการผลิตและบริโภคพืชผัก เชื่อว่า คือหนึ่งในทางออกของวิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย

 

ส่วนประเด็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มาจากการทำปศุสัตว์โดยเฉพาะโคนมนั้น ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า ต้องอาศัยการปรับระบบของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมรายใหญ่ และยังต้องมีกลไกสนับสนุนเกษตรกรโคนมรายด้วย

 

"ในโอกาสวันดื่มนมโลก 1 มิ.ย.ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าวว่า สสส.รณรงค์ให้เห็นประโยชน์ของนม ที่มีความสำคัญต่อโภชนาการของคนตลอดทุกช่วงชีวิต โดยเฉพาะวัยเด็ก ที่กำลังเจริญเติบโต สำหรับเด็กวัยแรกเกิดควรได้ดื่มนมแม่อย่างเดียวใน 6 เดือนแรก เพราะนมแม่ คือวัคซีนหยดแรกที่จะช่วยปกป้องและเสริมภูมิคุ้มกัน และในวัยต่อมาการดื่มนมจะช่วยเสริมแคลเซียมและสารอาหารให้เพียงพอในแต่ละวันด้วยการบริโภคนมวัวต่อได้จนถึงวัยสูงอายุ เลือกบริโภคนมก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่นให้เลือกผลิตภัณฑ์นมที่มีความหวานน้อย นมพร่องไขมันในผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยง รวมถึงเลือกผลิตภัณฑ์นมขอให้ดูจากฉลากโภชนาการด้วย”

 

1 มิ.ย. \'วันดื่มนมโลก\' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

 

มุมมอง อุบล อยู่หว้า เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวและผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน แสดงความเห็นการเลี้ยงวัวนมในประเทศไทยนั้นสามารถทำให้ยั่งยืนได้ เนื่องจากประเทศไทยมีต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ค่อนข้างเยอะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันกลุ่มผู้เลี้ยงวัวนมอินทรีย์ก็แสวงหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่เป็นอินทรีย์ เชื่อมโยงกับเกษตรกรที่ผลิตพืชไร่ อย่างเช่น มันสำปะหลังอินทรีย์ที่อุตสาหกรรมวัวนมต้องการ

 

เพียงแต่การผลิตนมอินทรีย์ยังไม่แพร่หลายและยังไม่กว้างขวางพอซึ่งต้องได้รับการส่งเสริมให้มากเพิ่มขึ้นและเชื่อมโยงกับการผลิตพืชไร่ โดยควรจะสนับสนุนให้กลุ่มพืชไร่หรือกลุ่มข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือกลุ่มปลูกมันสำปะหลังได้ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้เป็นออร์แกนิค และเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมโคนมก็จะเป็นการหมุนเวียนภายในประเทศและสร้างความยั่งยืนไปด้วยกันทางเศรษฐกิจ

 

“การเลี้ยงวัวรายย่อยที่ไม่ใหญ่เป็นอุตสาหกรรมแบบออสเตรเลียหรือสหรัฐอเมริกาสามารถสร้างความยั่งยืนได้ เพราะไม่มีสัตว์ชนิดใดที่จะใช้ประโยชน์จากพืชเส้นใยหรือวัชพืช อย่างเช่น หญ้า มีแต่สัตว์เคี้ยวเอี้ยงเท่านั้นที่จะใช้ประโยชน์จากพืชเหล่านี้ รวมทั้งเศษฟางจากการทำนาข้าว ซึ่งเป็นความยั่งยืนจากการเลี้ยงวัว"

 

การเลี้ยงสัตว์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ โดยมีวัว ควาย และแพะที่สามารถใช้ประโยชน์จากหญ้า ฟางข้าวและวัชพืช และเวียนกลับไปเป็นปุ๋ย การเลี้ยงวัวอุตสาหกรรมอาจสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมในสหรัฐฯ หรือ ออสเตรเลีย แต่ในประเทศไทยไม่ใช่แบบนั้น” อุบล แสดงความเห็น

 

ซึ่งข้อมูลจากกรมปศุสัตว์ ระบุว่า การเลี้ยงวัวในประเทศไทย ในปี 2565 มีจำนวนโคเนื้อ 9,394,111 ตัวและโคนม 812,235 ตัว

 

1 มิ.ย. \'วันดื่มนมโลก\' เอฟเอโอ แนะปรับกระบวนการผลิต- เน้นลดผลกระทบโลกร้อน

 

ในส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาวะโลกร้อนที่เกิดจากการปล่อยก๊าซมีเทนจากการเลี้ยงวัว ในประเทศไทย อุบล มองว่า ไม่มีอุตสาหกรรมวัวที่ใหญ่มากถึงขั้นปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมาก เนื่องจากการเลี้ยงวัวในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายย่อยซึ่งเลี้ยงวัวเพียง 3 - 5 ตัว อีกทั้งมูลวัวที่ได้จากการเลี้ยงวัวก็เป็นที่ต้องการของชาวสวนที่นำไปบำรุงต้นไม้ อย่างเช่น สวนมะพร้าวหรือสวนผลไม้ซึ่งก็หมุนเวียนกันไปมา