สะกิดวัยรุ่น-วัยทำงาน ออกกำลังกาย ด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
'ทีดีอาร์ไอ' เผยคนไทยมีกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายน้อย ระบุเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมช่วยส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายและออกกำลังกายเพิ่มขึ้น แต่ไม่ยั่งยืน มาตรการแรงจูงใจโดยใช้รูปแบบเงินต้องควบคู่กับการให้ข้อมูล
Keypoint:
- การสะกิดให้กลุ่มคนวัยรุ่น- วัยทำงาน มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกาย ใช้มาตรการจูงใจโดยใช้รูปแบบเงินอย่างเดียว ไม่ยั่งยืน
- คนไทยมีกิจกรรมทางกายค่อนข้างน้อย เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้คนวัยรุ่นและวัยทำงานมีกิจกรรมทางกาย หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้น
- ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย-การออกกำลังกาย มีอิทธิพลมากที่สุดที่จะส่งเสริมให้คนวัยรุ่น-วัยทำงานมีกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกายมากขึ้น เป็นการเตรียมพร้อมคนรองรับสังคมสูงวัย
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)ได้เผยแพร่ 'รายงานทีดีอาร์ไอ' (ชื่อเดิมว่า 'สมุดปกขาวทีดีอาร์ไอ') มา ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 โดยคัดสรร กลั่นกรองงานวิจัยต่างๆ มานําเสนออย่าง
รายงาน 'การใช้เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเพื่อส่งเสริมให้คนวัยรุ่นและวัยทำงานออกกำลังกายเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุ' โครงการย่อยที่ 4 ภายใต้แผนงานการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและพฤฒพลังสำหรับผู้สูงอายุในภาวะวิกฤตและการเตรียมพร้อมการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดย ดร. กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์ และคณะ, สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, มิถุนายน 2565
งานวิจัยนี้เล็งเห็นความสำคัญของการวางแผนระยะยาว เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชากรสูงอายุในทุกมิติ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยเฉพาะมิติด้านสุขภาพที่มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุโดยตรง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
'วัยทำงาน' อ้วน ลงพุง ค่าเฉลี่ย BMI เกินมาตรฐาน
สมดุลร่างกาย จิตใจ ด้วย 'พิลาทิส' บรรเทาอาการ 'ออฟฟิศซินโดรม'
ลดพุง ลดอ้วนอย่างไร? ให้ได้ผล เปิดอาหารสุขภาพ เสริมออกกำลังกาย
เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายได้
นอกจากนั้น การดำเนินงานของงานวิจัย ซึ่งเป็นโครงการย่องที่ 4 ร่วมกับโครงการย่อยอื่นๆ ภายใต้แผนงานฯ 1 ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลไกในการขับเคลื่อนแผนปฎิบัติ ระหว่างประเทศมาดริดว่าด้วยผู้สูงอายุ (The Madrid International Plan of Action on Ageing: MIPAA) ทุกภาคส่วนสามารถช่วยกันเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงอายุผ่านหลายวิธี
อาทิ การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ พฤติกรรมด้านการเงิน การดำเนินชีวิต และที่อยู่อาศัย เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตและที่อยู่อาศัย เพื่อให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตในช่วงหลังวัยเกษียณได้อย่างมีความสุข และมีคุณภาพ หรือเข้าสู่การสูงวัยอย่างมีพลัง (Active Aging)
ที่ผ่านมา คนไทยยังมีกิจกรรมทางกายค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น จากการสำรวจโดยกรมอนามัยถึงสถานการณ์การเคลื่อนไหวออกแรง ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพของคนไทยในปี 2557 พบว่า มีผู้ใหญ่เพียงร้อยละ 22-24 ของกลุ่มตัวอย่างที่ออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที และมีเพียงร้อยละ 10 ของกลุ่มตัวอย่างเท่านั้นที่ออกกำลังกายเพียงพอต่อการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรค
ด้วยเหตุนี้ งานวิจัยนี้ จึงนำแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมให้คนวัยรุ่นและวัยทำงานมีกิจกรรมทางกาย หรือออกกำลังกายเพิ่มขึ้น โดยวัดผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการทำกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายจากจำนวนก้าวเดินในแต่ละวันของอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการ
มาตรการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบของตัวเงินไม่ยั่งยืน
การประยุกต์ใช้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมโดยใช้การทดลองเพื่อศึกษามาตรการแทรกแซงต่างๆ ที่จะส่งเสริมให้ผู้คนหันมามีกิจกรรมทางกายและออกกำลังเพิ่มขึ้นนั้นได้ผล
อย่างไรก็ตาม มาตรการที่ใช้มีหลากหลาย มีทั้งมาตรการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบของตัวเงิน และมาตรการที่ไม่ใช่รูปแบบของตัวเงิน เช่น การให้ข้อมูลย้อนกลับ การใช้บรรทัดฐานทางสังคม และการกำหนดเป้าหมาย หากพิจารณาในแง่ของความเป็นไปได้ในการผลักดันเชิงนโยบาย และการปฎิบัติที่ยั่งยืน มาตรการที่ไม่ใช่รูปแบบของตัวเงินมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงภายใต้บริบทของประเทศไทย
งานวิจัย ดังกล่าว พบว่า การให้ข้อมูลมีส่วนสำคัญและมีอิทธิพลต่อการออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกายของคนวัยรุ่น และวัยทำงาน โดยข้อมูลที่มีอิทธิพลในการสะกิดพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น คือข้อมูลการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมทางกายของผู้อื่น และข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายในการออกกำลังกาย หรือการมีกิจกรรมทางกาย
โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลดังกล่าวมาใช้ในการออกแบบเนื้อหาของสิ่งที่ต้องการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ เช่น สื่อสารให้กลุ่มเป้าหมายทรายว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันมีจำนวนก้าวต่อวันมากน้อยเพียงใด บรรทัดฐานสังคมสำหรับจำนวนก้าวอยู่ที่เท่าใด เป็นต้น
นอกจากการสื่อสารเกี่ยวกับข้อมูลการออกกำลังกาย หรือการทำกิจกรรมทางกายของผู้อื่น แล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจพิจารณากำหนดเป้าหมายในการมีกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกาย เช่น จำนวนก้าวโดยเป้าหมายจะต้องมีความเหมาะสม ไม่สูง หรือต่ำจน เกินไป เป้าหมายที่กำหนดอาจปรับให้มีความท้าทายมากยิ่งขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ตัวอย่าง การกำหนดเป้าหมายในการทำกิจกรรมทางกาย หรือการออกกำลังกาย เช่น เดินวันละ 10,000 ก้าวเพื่อสุขภาพ ผู้สูงอายุเดิน 6,000 ก้าวต่อวันช่วยป้องกันโรคหัวใจ ออกกำลังกาย 30 นาทีต่อวัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ถึงปัจจุบันจะมีหน่วยงานที่เกี่บวข้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริอมการออกกำลังกาย และมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ โดยบางหน่วยงานได้ใช้มาตรการสร้างแรงจูงใจในรูปแบบของตัวเงินในการส่งเสริมให้คนออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เช่น การให้รางวัล หรือการสะสมแต้มเพื่อใช้เป้นส่วนลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่ามาตรการสร้างแรงจูงในในรูปแบบของตัวเงินเพียงอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน เนื่องจากเมื่อหยุดให้รางวัล แต้ม หรือเงินเป็นสิ่งตอบแทนแล้ว กลุ่มเป้าหมายอาจจะไม่ออกกำลังกาย หรือมีกิจกรรมทางกายต่อ
นอกจากนั้น ควรจะเพิ่มเติมในเรื่องของการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับกิจกรรมทางกายว่ามีความแตกต่างจากการออกกำลังกาย โดยกิจกรรมทางกายมีความหมายที่กว้างกว่า เพราะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน การทำกิจกรรมประจำวัน อาทิ การทำงานที่ทำงาน การเดินไปซื้อของที่ตลาด การทำงานงาน กิจกรรมเหล่านี้ ถือเป็นกิจกรรมทางกายทั้งหมด ซึ่งหากส่งเสริมให้เกิดการทำกิจกรรมทางกายเป็นประจำก็จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น