ศูนย์จีโนม เผย ยุทธวิธีล่าสุด ‘โควิด-19’ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว

ศูนย์จีโนม เผย ยุทธวิธีล่าสุด ‘โควิด-19’ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว

ศูนย์จีโนม รพ.รามา เผยยุทธวิธีล่าสุด "โควิด-19" โอมิครอนสายพันธุ์ใหม่ GK และ HK เพื่อหลบหลีกภูมิคุ้มกันและจับยึดกับผิวเซลล์ได้แน่นขึ้น เหนือกว่า XBB รวมทั้ง เอริส “EG.5” ด้วยการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (Flip combo mutation)

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาล (รพ.)รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผ่านเพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุ 

  • การกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (Flip combo mutation)

ยุทธวิธีล่าสุด ของ โอมิครอน สายพันธุ์ใหม่ GK และ HK เพื่อหลบหลีกภูมิคุ้มกันและจับยึดกับผิวเซลล์ได้แน่นขึ้น เหนือกว่า XBB รวมทั้ง เอริส “EG.5” ด้วยการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (Flip combo mutation)

นักวิทยาศาสตร์ได้ พบว่า "โควิด-19" มีกลยุทธ์ใหม่ (New trick) เป็นวิวัฒนาการเพื่อการอยู่รอด สามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติได้ ยึดจับกับผิวเซลล์ได้ดีขึ้น เรียกว่า “Flip หรือ พลิก” กล่าวคือมีการกลายพันธุ์สองตำแหน่งติดกัน (double/combo mutation) แบบพลิกขั้ว คือ L455F และ F456L ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับกรดอะมิโน “ฟีนิลอะลานีน (F)” และ “ลิวซีน (L)

โดยตำแหน่งที่กลายพันธุ์แรกจะพลิกขั้วจาก L เป็น F และตำแหน่งถัดมาพลิกขั้วจาก F เป็น L เมื่อรวมการเปลี่ยนแปลงทั้งสองเข้าด้วยกันจะทำให้ส่วนหนามของไวรัสหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับผิวเซลล์ (ACE2) ได้แน่นขึ้น ทำให้ไวรัสแทรกเข้าสู่เซลล์ได้ดียิ่งขึ้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวถูกเรียกว่า การกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว (Flip combo mutation) ทำให้เกิด XBB สองสายพันธุ์ใหม่ขึ้น

ศูนย์จีโนม เผย ยุทธวิธีล่าสุด ‘โควิด-19’ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

1. GK หรือ XBB.1.5.70 มีต้นตระกูลมาจาก XBB.1.15 เกิดกลายพันธุ์บนส่วนหนามสองตำแหน่งติดกันคือ L455F และ F456L และ

2. HK.3 หรือ XBB.1.9.2.5.1.1.3 มีต้นตระกูลมาจาก EG.5.1 มีการกลายพันธุ์บนส่วนหนามสองตำแหน่งติดกันคือ L455F และ F456L

พบโอไมครอนที่มี การกลายพันธุ์พลิกขั้ว (Flip combo mutation) มากใน “บราซิล” พบ “สเปน” ยังไม่พบ ในประเทศไทย คาดว่าทั้งสองสายพันธุ์จะระบาดมาแทนที่ XBB สายพันธุ์เดิมรวมทั้ง EG.5.1 ในอนาคตอันใกล้

จากการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้งทำให้องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯได้กล่าวเมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ว่าการฉีดวัคซีนในปลายปี 2566- ต้นปี 2567 ควรใช้วัคซีนสายพันธุ์เดียวหรือ “โมโนวาเลนต์” ที่มุ่งเป้าไปที่โอมิครอน XBB สายพันธุ์ย่อย XBB.1.5, XBB.1.16 หรือ XBB.2.3 เป็นอย่างน้อยเท่านั้นเพื่อให้ทันต่อการกลายพันธุ์ไปข้างหน้าของโควิด-19

โดยไม่ต้องผนวกสายพันธุ์ดั้งเดิม อาทิ สายพันธุ์อู่ฮั่น อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา โอมิครอน-BA.1,BA.2,BA.4,BA.5 เข้าไปในวัคซีนเพราะไม่พบหลักฐานทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่าสายพันธุ์ก่อนหน้าโอไมครอน XBB จะกลับมาระบาดซ้ำอีก

ศูนย์จีโนม เผย ยุทธวิธีล่าสุด ‘โควิด-19’ กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว