โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โอกาสการแพทย์และสุขภาพไทย ปี 2022 มูลค่าสูงถึง 9.7 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 25.2% ต่อปี ขณะเดียวกัน นวัตกรรมเทคโนโลยี ช่วยเสริมประสิทธิภาพในทางการแพทย์ในอนาคต

Key Point : 

  • ประเทศไทย ถือเป็น Wellness Destination อันดับ 2 รองจากประเทศออสเตรเลีย ในปี 2020 ด้วยจุดเด่นสถานที่ท่องเที่ยว อาหารไทย สมุนไพรไทย และการแพทย์
  • อีกทั้ง ความก้าวหน้าของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในทางการแพทย์มากขึ้นในอนาคต 
  • เนชั่น กรุ๊ป ชวนอัปเดตเทรนด์การแพทย์และสุขภาพ ได้ภายในงานมหกรรม Health & Wealth Expo 2023 ระหว่างวันที่ 9-12 พ.ย. 2566 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

ปัจจุบันมีนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์ ช่วยวิเคราะห์วินิจฉัยอาการเจ็บป่วยมากขึ้น และประชาชนมีทางเลือกในการรักษา เทรนด์จะเน้นไปในทาง 'การป้องกัน' ก่อนเจ็บป่วยมากกว่า 'การรักษา' หลังจากมีอาการมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างมีคุณภาพ มีความสุขและแข็งแรง

 

ธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีอัตราเติบโตสูงขึ้นทุกๆ ปี จากสถิติประเทศไทยเองนั้นถูกจัดอันดับโดย GWI (Global Wellness Institute) เมื่อปี 2020 ให้เป็น Wellness Destination อันดับ 2 รองจากประเทศออสเตรเลีย ด้วยสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งธรรมชาติ อาหารไทย สมุนไพรไทย และศูนย์รวมการแพทย์ของประเทศไทยจะเป็นจุดเด่นที่ทำให้ธุรกิจเชิงสุขภาพเติบโตได้มากขึ้น (Wellness Economy Sectors) และยังสูงสุดเมื่อเทียบกับอัตราของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงทั่วโลก ซึ่งเป็นจุดเด่นที่ประเทศไทยสามารถจะพัฒนาและขยายอัตราเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต

 

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

เทรนด์นวัตกรรมการแพทย์อนาคต

สำหรับเทรนด์ของนวัตกรรม เทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในทางการแพทย์ในอนาคต ได้แก่ 

1.เอไอ (AI) โดยใช้ทั้งในการตรวจวินิจฉัยในหลายเรื่อง ตั้งแต่เอกซเรย์ที่เอไอจะช่วยให้แพทย์มีความรอบคอบมากขึ้น และการรักษา การเลือกใช้ยาได้แม่นยำ

2.Data Breach Prevention หรือการป้องกันการละเมิดข้อมูลออนไลน์ ปัจจุบัน เทคโนโลยีล่าสุดคือการใช้ Facial recognition หรือเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า และพัฒนาเป็น Facial recognition with masks ช่วงโควิดป้องกันระบบมากขึ้น

3.นาโนเมดิซีน เทคโนโลยีการผลิตยา ทดสอบยีน เพื่อให้ยาที่เหมาะสมคนไข้แต่ละกลุ่ม หรือ Targeted therapy ซึ่งมีการวินิจฉัยว่ายีนเพื่อบอกว่ายาตัวไหนเหมาะกับผู้ป่วย

4.Internet of Medicl Things (IoMT) ปัจจุบันเครื่องมือเริ่มเชื่อมโยงกันทั้งหมด ผ่านระบบที่กำลังพัฒนา คือ Wearable gadgets หรืออุปกรณ์ที่สวมใส่ได้อย่างสมาร์ตวอชที่วัด EKG ความดันโลหิต ระดับน้ำตาล แล้วเชื่อมต่อเข้าระบบของโรงพยาบาล โดยผู้รับบริการวัดจากที่บ้านได้

5.Teleconsultation และ Telemedicine โรงพยาบาลหลายแห่งทำทั้งการให้คำปรึกษาทางไกล (Teleconsultation) และการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) ช่วยให้การดูแลมีความสะดวก ลดการเดินทางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

6.BigData ถ้ามีระบบฐานข้อมูลเดียวกัน เหมือนธนาคาร หรือกระทรวงมหาดไทย จะวางแผนการบริหารจัดการได้ดี

7.VR, AR และ Mixed Reality in Healthcare จะเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ และฝึกอบรมบุคลากร ทำให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ และการดูแลรักษาคนไข้ได้มากยิ่งขึ้น

 

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

 

ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานคณะกรรมการหลักสูตรโอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (WHB) กล่าวว่า งานวิจัยต่างๆได้สรุปสาเหตุความชราและความเสื่อมของเซลล์ (Hallmarks of Aging) 

ประการที่ 1 เกิดจากการที่ DNA ได้รับบาดเจ็บจากอนุมูลอิสระ การที่ DNA โดนทำลายแม้เพียงส่วนใดส่วนหนึ่งก็ตาม จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการเกิดโรคต่างๆ ของมนุษย์

ประการที่ 2 เกิดจากเซลล์ต้นกำเนิดลดน้อยลง เซลล์ต้นกำเนิด (Stem Cells) เป็นเซลล์อ่อนวัยที่ฝังตัวอยู่ในอวัยวะต่างๆ เพื่อคอยโอกาสในการเจริญเติบโตเพื่อทดแทนเซลล์เก่าที่ตายหรือเสื่อมสภาพไป แต่เมื่อมนุษย์เรามีอายุมากขึ้น จำนวนเซลล์ต้นกำเนิดนี้จะลดน้อยลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถจะทดแทนเซลล์เก่าได้ จึงก่อให้เกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ (Degenerative Diseases) เช่น สมองเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก เป็นต้น

ประการที่ 3 เกิดจากเทโลเมียร์ (Telomere) หดสั้นลง เทโลเมียร์เป็นบริเวณส่วนปลายสุดของสายโซ่ DNA ซึ่งเป็นตัวที่จะกำหนดว่าจะให้เซลล์หยุดแบ่งตัวเมื่อไร เทโลเมียร์จะหดสั้นลงทุกครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว จนในที่สุดเมื่อเทโลเมียร์หดสั้นลงเต็มที่ ก็จะสั่งให้เซลล์หยุดแบ่งตัว อันเป็นสาเหตุที่ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดหยุดการเจริญเติบโต รวมทั้งเป็นสาเหตุแห่งความชราและความเสื่อมของการทำงานของอวัยวะนั้นๆ และนำไปสู่การตายได้

ประการที่ 4 เกิดจากเซลล์ชราภาพ (Cellular senescence) แต่ไม่ถูกกำจัดออกไป 

ประการที่ 5 เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภาวะเหนือพันธุกรรม (Epigenetic Alteration) ทำให้การซ่อมแซมและการควบคุมการทำงานของ DNA บกพร่อง 

ประการที่ 6 เกิดจากไมโทคอนเดรียเสื่อมสภาพ (Mitochondria Dysfunction) 

ประการที่ 7 เกิดจากการขาดภาวะสมดุลของโปรตีน (Loss of Proteostasis)

ประการที่ 8 เกิดจากการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ผิดปกติ (Altered Intercellular Communication) และ

ประการที่ 9 เกิดจากความบกพร่องของการรับรู้ภาวะโภชนาการระดับเซลล์ (Deregulated Protein Sensing)

 

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

 

อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในปัจจุบัน และการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคต ไม่เพียงจะยับยั้งความชรา (Anti-Aging) ได้เท่านั้น แต่ยังสามารถจะย้อนวัย (Reverse Aging) ได้โดยเมื่อวันที่ 12 ก.ค.2022 ทีมนักวิจัยโมเลกุลมณีแดงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิจัยโมเลกุลมณีแดงมายาวนานถึง 30 ปี แถลงความก้าวหน้าในการค้นพบโมเลกุลมณีแดง (RED-GEMS : REjuvenating DNA by GEnomic Stability MoleculeS) ที่อาจเป็นยาย้อนวัยระดับดีเอ็นเอ ฝีมือนักวิจัยไทยที่จะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์การแพทย์ของโลก

 

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ถือเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กำลังมาแรงของโลกในยุคนี้ ด้วยมูลค่าตลาดในปี 2022 ที่สูงถึง 9.7 ล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตเฉลี่ย 25.2% ต่อปี โดยธุรกิจด้านสุขภาพสามารถฟื้นคืนจากการแพร่ระบาดโควิด-19 เป็นอันดับแรกๆ ของธุรกิจต่างๆ ในไทย และเพื่อต่อยอดสร้างโอกาสทางธุรกิจในด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ให้กับประเทศ เชื่อว่าการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์สู่เมืองรอง ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเศรษฐกิจของชุมชนเมืองรองได้ถึง 3-5 เท่า

 

หาคำตอบ Road Map to Thailand Medical Hub ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติได้ในงานมหกรรม Health & Wealth Expo 2023 ภายใต้แนวคิด The Journey of life จัดโดย เนชั่น กรุ๊ป ระหว่างวันที่ 9-12 พ.ย. 2566 เวลา 11.00-20.00 น. ที่ Hall 5-6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว จะปาฐกถาพิเศษและเป็นประธานเปิดงานในวันที่ 9 พ.ย. 2566

 

ภายในงานยังมีเวทีเสวนาโอกาสทางธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานคณะกรรมการหลักสูตรโอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (WHB) วันที่ 12 พ.ย.2566 เวลา 12.00-12.30 น. และการป้องกัน Office Syndrome ไม่พึ่งยาป้องกันด้วยมือเรา กับ พท.ป.แวสะมิง แวหมะ รองคณบดีฝ่ายการแพทย์บูรณาการ สถาบันแพทย์บูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต ผู้อำนวยการศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดหลังเรื้อรัง หมอแวร์สมิงสหคลินิก สาขากรุงเทพฯ และสาขาหาดใหญ่ เวลา 15.00 น. ภายในงานยังมีกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ อีกมากมาย 

 

Earthlab CBD De’ Leep เทรนด์ดูแลสุขภาพคนรุ่นใหม่   

 

โดยภายในงานนี้จะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อเพิ่มคุณภาพการนอน  Earthlab CBD De’ Leep ทางเลือกสุขภาพที่ปลอดภัยนอกจากการใช้ยานอนหลับสังเคราะห์จาก 5 ส่วนผสม ได้แก่ สารสกัด CBD, กาบา, วิตามินบี คอมเพล็กซ์, แอล-ธีอะนีน และสารสกัดจากขมิ้นชัน มานำเสนอในงานนี้ด้วย

 

ซึ่งเป้าหมายของบริษัท Dr.CBD จะมุ่งเน้นพัฒนาองค์ความรู้บนเรื่องการใช้สารสกัดและพัฒนาสูตรเพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ เวชสำอาง อาหาร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยาสมุนไพร และสินค้าอุปโภคบริโภคตอบโจทย์ผู้บริโภคภายใน 5 ปี เนื่องจากในอนาคต 'เทรนด์ใหญ่' ที่ผู้คน 'ป้องกัน' หรือ Preventive ไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยมากขึ้น

 

โดยเน้นนำสารสกัดทางธรรมชาติมาตอบสนองเรื่องสุขภาพหรือโภชนบำบัด (Nutraceutical) ผู้บริโภคในประเทศไทยราว 68 ล้านคน จะมีเกือบ 1 ใน 3 หรือประมาณ 19 ล้านคน ที่มีอาการ “นอนไม่หลับ” ไม่นับอาการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทต่างๆ อีกนับ 'แสนราย' โดยปี 2566 จะเป็นปีแรกที่การรับรู้รายได้เข้ามาเต็มที่ จากนั้นต้องการเห็นรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 35% ต่อเนื่องในระยะ 5 ปี 

 

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา

 

Office Syndrome ไม่พึ่งยาป้องกันด้วยมือเรา

พท.ป.แวสะมิง แวหมะ รองคณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย ม.รังสิต ผู้อำนวยการศูนย์รักษาไมเกรนและโรคปวดหลังเรื้อรัง หมอแวร์สมิงสหคลินิก สาขากรุงเทพฯ และสาขาหาดใหญ่ กล่าวว่า ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต สิ่งแรกที่ต้องแก้ไขโดยไม่ต้องใช้ยา คือการปรับพฤติกรรม ปรับท่านั่ง การยืดเพื่อให้ผ่อนคลาย มองไปในที่มืดถ้าปวดตา หรือ นวดเพื่อคลายด้วยตัวเอง

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมขณะทำงาน ได้แก่ ปรับความสูงของเก้าอี้และโต๊ะให้เหมาะสม นั่งสบาย หากใช้คอมพิวเตอร์ กึ่งกลางของจอควรอยู่ในระดับสายตาการพิมพ์งาน แป้นคีย์บอร์ดควรอยู่ในระดับข้อศอกข้อมือ ใช้เม้าส์โดยพักข้อศอกบนที่รองแขน และสามารถเคลื่อนไหวได้แบบไม่จำกัดพื้นที่ ขณะนั่งทำงานควรนั่งหลังตรงชิดขอบด้านในของเก้าอี้กะพริบตาบ่อยๆ

 

ควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุกๆ 10 นาที เปลี่ยนท่าการทำงานทุก 20 นาที ยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง นั่งทำงานได้โดยที่ฝ่าเท้าแตะพื้นพอดีข้อศอกตั้งฉาก 90 องศา ขนานไปกับโต๊ะหาหมอนเล็กๆ ม้วนผ้าขนหนู หรือใช้หมอนรองหลัง จะช่วยให้นั่งหลังตรงได้อัตโนมัติ ช่วยรับน้ำหนัก ทำให้แผ่นหลังไม่เกร็งตึง

 

โอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ เพิ่มประสิทธิภาพวินิจฉัย-ดูแล-รักษา