การดูแลหัวใจในยุคดิจิทัล คัดกรองเร็วป้องกันรักษาได้
เช็กอาการ โรคหัวใจ หากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย เป็นลม ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง คัดกรองด้วยการตรวจตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อค้นหาปัญหาของหัวใจ ป้องกันก่อนเกิดโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
Key Point :
- โรคหัวใจ มีปัจจัยเสี่ยงจากอายุมากขึ้น ประวัติครอบครัว ผู้สูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง น้ำหนักเกิน เป็นต้น
- การคัดกรอง จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
- พบกับคำแนะนำการดูแล ป้องกัน รักษา หัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ได้ในงาน มหกรรม Health & Wealth Expo 2023 วันที่ 9 – 12 พ.ย. นี้ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
โรคหัวใจ อาจจะรักษาได้หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ เช่น อายุมากขึ้นจะเพิ่มความเสี่ยงของหลอดเลือดแดงที่เสียหาย เพศชายมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่า เพศหญิงจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ ผู้ที่สูบบุหรี่อาการหัวใจวายพบได้บ่อยในผู้สูบบุหรี่มากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ การกินอาหารแบบผิด ๆ ความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
การรักษาจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ โดยทั่วไปมักประกอบด้วย การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ด้วยการรับประทานอาหารสุขภาพ ทานผักและผลไม้หลากหลายชนิด ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 150-300 นาทีต่อสัปดาห์ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
หากการปรับเปลี่ยงวิถีชีวิตเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อควบคุมโรคหัวใจหรือปัจจัยเสี่ยง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของโรคหัวใจ การรักษาด้วยหัตถการหลอดเลือดหรือการผ่าตัด การรักษาด้วยเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ‘หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน’ ทำไมคนร่างกายแข็งแรงก็ยังเสี่ยงเกิดภาวะนี้ ?
- 6 โรคหัวใจ ที่ควรรู้ เช็กอาการเสี่ยง ก่อนอันตรายถึงชีวิต
- 'ภาวะหัวใจล้มเหลว' ภัยสุขภาพ ที่ไม่ควรมองข้าม
รศ.นพ.สุวัจชัย พรรัตนรังสี อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ซึ่งเชี่ยวชาญการรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบผ่านสายสวน การรักษาโรคหลอดเลือดส่วนปลายอุดตันโดยการใส่สายสวน การเปลี่ยนลิ้นหัวใจเอออร์ติกผ่านสายสวน ระบุว่า หากมีอาการเหล่านี้เจ็บหน้าอกหายใจถี่ เหนื่อยง่ายเป็นลมโรคหัวใจจะรักษาได้ผลดีหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับอาการต่างๆ ที่อาจจะมีความเสี่ยง ยิ่งถ้าหากคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ จะจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อลดความเสี่ยง
การคัดกรองด้วยการตรวจเพื่อค้นหาปัญหาของหัวใจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องเพื่อป้องกันก่อนเกิดโรค โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพหัวใจ Basic Heart ProgramComprehensive Heart ProgramIntegrative Heart ProgramExecutive Heart Program โปรแกรมตรวจพิเศษเพื่อสุขภาพหัวใจการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกายการตรวจวัดปริมาณหินปูนสะสมที่หลอดเลือดหัวใจตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ก่อนและหลังออกกำลังกายการตรวจคลื่นหัวใจโดยใช้ยาโดบูทามีนกระตุ้นการตรวจหลอดเลือดหัวใจ และวัดปริมาณหินปูนที่หลอดเลือดหัวใจ
สำหรับคนที่มีกรรมพันธุ์เส้นเลือดอุดตันเร็วกว่าปกติ และ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนาเป็นโรคที่เป็นมาแต่กำเนิดจากพันธุกรรมที่ผิดปกติทำให้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตอย่างเฉียบพลัน ในคนที่มีอายุน้อย ควรเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เพื่อลดความเสี่ยง เช่น ควบคุมน้ำหนัก (ดัชนีมวลกายน้อยกว่า 30) งดการสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์และมีกากใยหากทำได้ตามนี้ ความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายก็จะลดลง
การรักษาเส้นเลือดหัวใจตีบ มีทั้งการรักษาทางยา การทำบอลลูนหัวใจ เหมาะสำหรับคนไข้ที่เส้นเลือดสภาพไม่พังมาก ซึ่งอาการแทรกซ้อนของการทำบอลลูน คือ ลวดแทงทะลุ ดังนั้น การทำต้องทำด้วยความระมัดระวัง หากเส้นเลือดตีบมากต้องปรึกษาหมอผ่าตัด อาจต้องการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ปัจจุบันเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้การผ่าตัดอันตรายน้อยลง คนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน แข็งแรง อัตราเสี่ยงต่อชีวิต 1-2 % แต่หากกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบ้างแล้ว เส้นเลือดเล็กต่อลำบาก อัตราเสี่ยง 3-5% หากหัวใจไม่ดี มีประวัติหัวใจวาย อัตราเสี่ยงอาจเพิ่มเป็น 30-40% นอกจากนี้ ในผู้ป่วยบางรายที่อาการหนักอาจไม่สามารถผ่าตัดได้ ต้องใช้วิธีเปลี่ยนถ่ายหัวใจ ซึ่งในแต่ละปีมีการจำนวนเคสที่น้อยราว 20 กว่าคนต่อปี
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญคือการฟื้นฟูหลังรักษา ภายใต้ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักกายภาพ เช่น แอโรบิค 30 นาทีอย่างน้อย หรือ 5-10 นาที แบ่งเป็นเช้าเย็น บริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้ออย่างเหมาะสม ออกกำลังกายแบบมีแรงต้าน รวมถึง ฝึกการหายใจทำให้การใช้ออกซิเจนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การออกกำลังกาย ลดการกลับมานอนโรงพยาบาล ลดการเสียชีวิต เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยให้ดีขึ้น ทั้งยังปลอดภัยหากผู้ป่วยได้รับการประเมินและคำแนะนำที่เหมาะสมภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์
พบกับคำแนะนำการดูแล ป้องกัน รักษา หัวใจและหลอดเลือดหัวใจอย่างไร กับ รศ.นพ.สุวัจชัย พรรัตนรังสี อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้ในงาน มหกรรม Health & Wealth Expo 2023 ภายใต้แนวคิด The Journey of life จัดโดย เนชั่น กรุ๊ป ระหว่างวันที่ 9 – 12 พ.ย. 2566 เวลา 11.00 – 20.00 น. ที่ Hall 5 – 6 ชั้น LG ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ช่วงเวลา เวลา 16.00-16.45 น.วันที่ 10 พย.
โดยมี นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว จะมาปาฐกถาพิเศษ Road Map to Thailand Medical Hub ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ พร้อมเปิดงานวันที่ 9 พ.ย.และเยี่ยมชมบู้ทสุขภาพต่างๆในงานไม่ว่าจะเป็น การถอดรหัสพันธุกรรมจาก บจ.เอ็มพี กรุ๊ป (ประเทศไทย) เสวนา 'นวัตกรรมแก้ไขปัสสาวะเล็ด' จาก โรงพยาบาลมาสเตอร์พีช และ 'เทรนด์สุขภาพ 2024' ของบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด
'การจัดการกลุ่มอาการปวดออฟฟิศซินโดรม โดยการทำกายภาพบำบัด' ของบริษัท รีบาลานซ์ จำกัด และ Office Syndrome ไม่พึ่งยาป้องกันด้วยมือเรา จากศูนย์รักษาไมเกรน โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง หมอแวร์สมิงสหคลีนิค สาขากรุงเทพฯ และสาขาหาดใหญ่ และ 'วัยเก๋าดูแลเข่าด้วยสมุนไพร' จาก แพทย์แผนไทยปฏิบัติการกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข
ป้องกัน-ค้นหา-ฟื้นฟู ครบทุกมิติเรื่อง ‘มะเร็งเต้านม’ ของศูนย์โรคเต้านม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ และ 'Art of Sleep' ศิลปะการนอน โรงพยาบาลเมดพาร์ค โดยมี ดร.นายแพทย์สมอาจ วงษ์ขมทอง ประธานคณะกรรมการ หลักสูตรโอกาสธุรกิจสุขภาพและการแพทย์สำหรับผู้บริหารระดับสูง (WHB) จะมาเล่าถึง โอกาสทางธุรกิจสุขภาพและการแพทย์ และ ในยังมีเสวนา 'เทรนด์สุขภาพ : สมุนไพร โอกาสเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้ตั้งแต่ฐานราก' จากพท.ป.ณัชฎาทร ขามสันเทียะ แพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำสุภาพโอสถสหคลินิกและ ประณัย สายชมภู รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เพ ลา เพลิน บูติค รีสอร์ท จำกัดในงานนี้ด้วย