เมื่อ 'ที่ทำงาน' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน 'เหนื่อย ล้า' มองหาพื้นที่ปลอดภัย

เมื่อ 'ที่ทำงาน' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน 'เหนื่อย ล้า' มองหาพื้นที่ปลอดภัย

จากการสำรวจ 'สุขภาพจิต' คนไทย ด้าน “ระดับความสุข” เทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า 44% ของพนักงาน รู้สึกว่าบริษัทที่ตนทำงานอยู่ไม่มีวัฒนธรรมเปิดรับ และไม่มีความปลอดภัยในจิตใจ หรืออยู่ในระดับที่แย่มาก เจน Z รู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ ขาดความสำเร็จในการทำงานส่วนบุคคล

KEY

POINTS

  • จากการสำรวจ 'สุขภาพจิต' คนไทย ด้าน “ระดับความสุข” เทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า 44% ของพนักงาน รู้สึกว่าบริษัทที่ตนทำงานอยู่ไม่มีวัฒนธรรมเปิดรับ และไม่มีความปลอดภัยในจิตใจ หรืออยู่ในระดับที่แย่มาก 
  • 1 ใน 3 ของพนักงาน รู้สึกไม่สบายใจที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของตน หรือ ช่วงเวลาที่สุขภาวะทางจิต ได้รับผลกระทบจากความเครียดในชีวิตให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องฟัง
  • Psychological Safety หรือ ความปลอดภัยทางจิตใจในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ช่วยลดความวิตกกังวลในการเรียนรู้ เมื่อพนักงานในองค์การต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ จากการเปลี่ยนแปลงขององค์การได้อีกด้วย

 

สถานการณ์สุขภาพจิตในปัจจุบัน พบว่า ผู้ป่วยทางจิตเวชเพิ่มมากขึ้น 2 เท่าในเวลา 6 ปี จาก 1.3 ล้านคนในปี 2558 เป็น 2.3 ล้านคนในปี 2564 ขณะเดียวกัน เด็กและเยาวชน ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญก็ประสบปัญหาเช่นกัน โดย 1 ใน 14 ของเด็ก 5-9 ปี และ 1 ใน 7 ของกลุ่ม 10-19 ปี พบว่า มีความผิดปกติในด้านจิตประสาทและอารมณ์

 

มีการประมาณการณ์ว่าคนไทย 15 ปีขึ้นไป มีผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า 1.5 ล้านคน โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา พบว่า มีเพียง 1 ใน 3 ของผู้ป่วยเท่านั้นที่เข้าสู่การบำบัดรักษา หนึ่งในกลุ่มที่พบปัญหาสุขภาพจิต สุขภาพใจ คือ คนวัยทำงาน ไม่ว่าจะจากเรื่องส่วนตัว และการอยู่ในวัยที่ต้องแบกรับภาระต่างๆ หรือบรรยากาศการทำงานที่ไม่ปลอดภัยต่อจิตใจ

 

ขณะเดียวกัน ยังพบว่า ปัญหาผู้ป่วยซึมเศร้าที่ต้องออกจากการรักษากลางคันเนื่องจากค่าใช้จ่าย ปัญหาเหล่านี้ต้องการการบูรณาการร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อให้ระบบสุขภาพ สังคม สิ่งแวดล้อม นวัตกรรม และนโยบาย เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดีของทุกวัยและทุกคน

 

ที่ทำงานไม่ปลอดภัยต่อใจ

“ผศ.ณัฐสุดา เต้พันธ์”คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันวิชาการเพื่อความยั่งยืนทางสุขภาพจิต (TIMS) กล่าวในหัวข้อ “What We Hack” ภายในงานเปิดโครงการ HACKใจ “เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” โดยระบุว่า ปัญหาทางใจเกิดจากหลายมิติไม่ว่าจะด้านสิ่งแวดล้อม การทำงาน การติดต่อสื่อสาร หรือพฤติกรรมการใช้สื่อของคนไทย ฯลฯ

 

เมื่อ \'ที่ทำงาน\' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน \'เหนื่อย ล้า\' มองหาพื้นที่ปลอดภัย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

หนึ่งในมิติด้านสุขภาพจิตของคนไทย คือ เรื่องของ “ระดับความสุข” เทียบกับปีที่ผ่านมา พบว่า 44% ของพนักงาน รู้สึกว่าบริษัทที่ตนทำงานอยู่ไม่มีวัฒนธรรมเปิดรับ และไม่มีความปลอดภัยในจิตใจ หรืออยู่ในระดับที่แย่มาก

 

1 ใน 3 ของพนักงาน รู้สึกไม่สบายใจที่จะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาวะทางจิตของตน หรือ ช่วงเวลาที่สุขภาวะทางจิต ได้รับผลกระทบจากความเครียดในชีวิตให้กับหัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องฟัง

 

ส่วนคนไทยเจน Z รู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ และขาดความสำเร็จในการทำงานส่วนบุคคล มากกว่าคนในช่วงวัยอื่น

 

ในเรื่องของ “การทำงาน” หลังจากผ่านช่วงโควิด-19 มีการศึกษาพบว่า พนักงานบริษัทและผู้ประกอบการทั่วโลกทำงานหนักขึ้นมากจากการ Work from Home โดยพนักงานบริษัท 49% และ ผู้ประกอบการ 56% ระบุว่า นำเวลาในการเดินทางที่ลดลง ไปใช้ในการทำงานที่มากขึ้นแทน 60% ของพนักงานไทยมองว่า การทำงานที่บ้านทำให้แรงจูงใจในการทำงานลดลง และ 57.6% เห็นว่ามีความเสี่ยงต่อการลดลงของเงินเดือนและสวัสดิการ

 

และจากการสำรวจพนักงานกว่า 32,000 คน พบว่า กว่า 71% ของช่วงอายุ 18-24 ปี , 61% ช่วงอายุ 35-44 ปี และ 56% ช่วงอายุ 45-54 ปี มองว่า “การลาออกหรือหางานใหม่ อาจจะดีกว่าการกลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศแบบเดิม” 

 

จากข้อมูลตรงนี้ พบว่า Meet Fatigue กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของวัยทำงาน กว่า 47% ของวัยทำงาน รู้สึกเหนื่อยล้าจาการประชุมออนไลน์ เพราะมักคุยกันอย่างเลื่อนลอย ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์

 

เมื่อ \'ที่ทำงาน\' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน \'เหนื่อย ล้า\' มองหาพื้นที่ปลอดภัย

 

จิตแพทย์ 1.28 คนต่อแสนประชากร

เมื่อดูข้อมูล ทรัพยากรที่สนับสนุนระบบสุขภาพจิต พบว่า ประเทศไทยมี จิตแพทย์ 1.28 คน นักจิตวิทยา 1.57 คน พยาบาลจิตวิทยา 6.14 คน Financial 53,55 และ Violent Rate 274.7 คน (ข้อมูลกรมสุขภาพจิต ปี 2566) จำนวนผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดปี 2566 แบ่งเป็น

ผู้ป่วยนอก

  • มีจำนวน 2,578,088 คน
  • เพิ่มจากปี 2566 ซึ่งมีอยู่ 2,266,493 คน
  • หรือเพิ่มขึ้น 12.19% จำนวน 311,595 คน ในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งแนวโน้มยังเพิ่มขึ้น

ผู้ป่วยใน

  • มีจำนวน 348,575 คน
  • เพิ่มจากปี 2566 ที่มีอยู่ 290,728 คน
  • หรือเพิ่มขึ้นกว่า 16.60% จำนวน 57,847 คน

 

ในปี 2566 มีเพียง 1 ใน 4 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่มีการจัดตั้งกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดที่แยกเป็นการเฉพาะในการดูแล และกว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยจิตเวช เป็นผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติด

 

ป่วยซึมเศร้า 42% หยุดรักษากลางคัน

ผศ.ณัฐสุดา กล่าวต่อไปว่า เมื่อมาดูด้าน สิทธิประโยชน์ นอกจากระบบในโรงพยาบาลที่มีอยู่ ในส่วนของ ระบบประกันสุขภาพ พบว่า สิทธิประโยชน์ในการติดตามดูแลผู้ป่วยจิตเวช ที่เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงสูง (SMI-V) ปัจจุบัน ได้รับงบประมาณจัดสรรเพียง 12,000 รายใหม่/ปี (รายละ 6,000 บาท) แต่ได้เฉพาะสิทธิบัตรทองเท่านั้น ซึ่งครอบคลุม 25% ของประชากร SMI-V ทั้งหมด 

 

ส่วนประกันสุขภาพที่คุ้มครองโรคทางจิตเวชตามคำสั่งแพทย์ มีไม่มากและราคาค่อนข้างสูง และความคุ้มครองน้อย เบี้ยประกันปีละเกือบ 1 แสนบาท แต่คุ้มครองตลอดชีวิตไม่เกิน 4 แสนบาท

 

ในขณะที่ ผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ส่วนใหญ่มีรายได้ 15,000 – 30,000 บาท สิ่งที่ต้องการมากที่สุด คือ ยาราคาถูก ลักษณะการทำงานที่ยืดหยุ่นกับผู้ป่วย การทำประกันสุขภาพส่วนบุคคลที่ครอบคลุมการเจ็บป่วยด้านสุขภาพจิต

 

อีกทั้ง กว่า 1 ใน 3 ของผู้ป่วย ระบุว่า ค่ารักษาคิดเป็นเงินอย่างน้อย 21% ของรายได้พวกเขา และกว่า 42% เคยหยุดรักษากลางคัน จำนวนนี้กว่า 19.2% ระบุว่าเนื่องจากค่าใช้จ่ายสูง

 

เมื่อ \'ที่ทำงาน\' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน \'เหนื่อย ล้า\' มองหาพื้นที่ปลอดภัย

 

HACKใจ แฮกกาธอนสุขภาพจิต

จากปัญหาดังกล่าว เป็นที่มาของการเปิด โครงการ HACKใจ “เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน” แฮกกาธอนด้านสุขภาพจิตครั้งแรกในประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่าง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โครการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) ไทยพีบีเอส สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) และภาคีเครือข่าย

 

เพื่อรวบรวมไอเดียด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตอย่างยั่งยืน เป็นพื้นที่สำหรับแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และทักษะของแต่ละองค์กร นำไปปรับใช้ให้เกิดผลลัพธ์ด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิต รวมถึงสร้างเครือข่ายการพัฒนาโครงการ เจตจำนง หรือนโยบายด้านการส่งเสริมป้องกันสุขภาพจิตต่อไป

 

สร้างความปลอดภัยทางใจ ในการทำงาน

เมื่องานเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้คนทำงานมีสุขภาพจิตดีหรือแย่ Psychological Safety หรือ ความปลอดภัยทางจิตใจในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญ ข้อมูลจาก คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า Psychological Safety คือ ความเชื่อของสมาชิกในทีมว่าตนจะไม่ถูกลงโทษ หรือหักหน้า จากการพูดถึงความคิด คำถาม ข้อกังวล หรือความผิดพลาด เพราะสมาชิกต่างต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยงระหว่างบุคคลเมื่อต้องทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ต้องการที่จะถูกเพิกเฉยจากการถามคำถามหรือหาข้อมูล ถูกมองว่าไม่มีความสามารถ ถูกมองว่าเป็นคนไม่ดี และถูกมองว่าเป็นคนที่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

 

หากมีความปลอดภัยทางจิตใจในการทำงาน ผู้คนจะมีความมั่นใจที่จะกระทำพฤติกรรมต่าง ๆ อาทิ การถามคำถาม การแบ่งปันข้อมูล การขอความช่วยเหลือ การทดลองในสิ่งใหม่ๆ การพูดถึงความผิดพลาด และการขอผลป้อนกลับ ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ต่อไปได้

 

ความสนิทสนมกันของสมาชิก หรือการปราศจากแรงกดดัน หรือการไม่มีปัญหาภายในทีม ในสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจนั้น จะเอื้อให้สมาชิกสามารถอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาหรือข้อผิดพลาดต่าง ๆ ได้ เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดที่หลากหลายส่งผลทำให้เกิดการสร้างและแบ่งปันวิธีการในการแก้ไขปัญหารวมถึงแนวทางใหม่ ๆ ในการพัฒนากระบวนการและผลลัพธ์ในการทำงาน นำมาสู่การเพิ่มผลงานทั้งในระดับบุคคลและระดับกลุ่ม

 

นอกจากนี้ ความปลอดภัยทางจิตใจช่วยลดความวิตกกังวลในการเรียนรู้ เมื่อพนักงานในองค์การต้องเรียนรู้สิ่งใหม่จากการเปลี่ยนแปลงขององค์การได้อีกด้วย โดยปัจจัยที่มีผลทำให้เกิดความปลอดภัยทางจิตใจ ได้แก่

  • บริบทสนับสนุน (context support) – การมีทรัพยากรข้อมูลและรางวัลอย่างเหมาะสมต่อทีม
  • การสอนแนะจากผู้นำ (leader coaching)
  • ความใส่ใจอย่างทั่วถึงของผู้นำ (leader inclusiveness)
  • การปฏิสัมพันธ์ร่วมกับสมาชิกภายในทีมที่มีคุณภาพ

 

เมื่อ \'ที่ทำงาน\' อาจไม่ดีต่อใจ คนทำงาน \'เหนื่อย ล้า\' มองหาพื้นที่ปลอดภัย