สุขภาพ
เปิด 4 ข้อดี ฝากครรภ์ ฝากท้องเร็ว ลดเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนโรค ขณะ 'ตั้งครรภ์'
กรมอนามัย เปิด 4 ข้อดี ฝากท้องเร็ว ลดเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนโรค ขณะ "ตั้งครรภ์" ตรวจพบความผิดปกติ ความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่มือใหม่ ผู้หญิงควรฝากครรภ์ตอนไหน ช่วงไหนดี? พร้อมส่องสิทธิการตรวจสุขภาพสำหรับการตั้งครรภ์ เช็กเลย
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิด 4 ข้อดี ฝากท้องเร็ว ลดเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนโรค ขณะ "ตั้งครรภ์" ตรวจพบความผิดปกติ ความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์ได้ คุณแม่มือใหม่ ผู้หญิงควรฝากครรภ์ตอนไหน ช่วงไหนดี? พร้อมส่องสิทธิการตรวจสุขภาพสำหรับการตั้งครรภ์ เช็กเลย
โดย กรมอนามัย ได้ตั้งคำถามว่า ทำไมถึง ควรฝากท้องตั้งแต่ทราบผล? หลาย ๆ คน ที่เริ่มตั้งครรภ์ครั้งแรก อาจจะเกิดคำถามขึ้นในใจ และสับสนไม่รู้ว่าควรฝากครรภ์ตอนไหน ช่วงไหนดี?
เปิด 4 ข้อดี "ฝากครรภ์เร็ว" ลดความเสี่ยง ภาวะแทรกซ้อนของโรค ขณะตั้งครรภ์
- เพื่อประเมินความเสี่ยง หรือ ภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
- เพื่อตรวจหาโรคทางพันธุกรรม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของหญิงตั้งครรภ์และคู่
- เพื่อตรวจหาความผิดปกติ และความพิการแต่กำเนิดของทารกในครรภ์
- เพื่อรับบริการฝากครรภ์ และวางเเผนการคลอดโดยแพทย์ หรือ บุคคลากรสาธารณสุข
ผู้หญิงควรฝากครรภ์ตอนไหน ช่วงไหนดี?
ควรฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ หรือ ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
7 สิทธิการตรวจสุขภาพสำหรับการตั้งครรภ์
- ทดสอบการตั้งครรภ์
- ตรวจครรภ์ ประเมินความเสี่ยง ประเมินสุขภาพจิต ตรวจอัลตร้าซาวด์ ตรวจปัสสาวะหาการติดเชื้อแบคทีเรีย โปรตีน และน้ำตาล
- ตรวจเลือกคัดกรางภาวะซีด ธาลัสซีเมีย ดาวน์ซินโดรม ตรวจซิฟิลิส เอชไอวี และตับอักเสบบี
- การคัดกรองธาลัสซีเมียและซิฟิลิสในคู่ของหญิงตั้งครรภ์
- ตรวจช่องปากและฟัน
- ฉีดวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก และวัคซีนไข้หวัดใหญ่
- ให้ยาบำรุงเสริมธาตุเหล็ก โฟลิก และไอโอดีน
คุณแม่มือใหม่ ผู้หญิงตั้งครรภ์ เตรียมตัวระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดี และแข็งแรงทั้งแม่และเด็ก
การเลือกทานอาหาร
- ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่
หมั่นออกกำลัง
- คุณแม่ก็ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมได้ ผ่านการปรึกษาแพทย์ที่ฝากครรภ์
การนอนที่พอเหมาะ
- ควรนอนหลับสนิทหลับลึก 7 - 9 ชม./คืน อย่างต่อเนื่อง
ไม่ควรเครียด
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ไม่จมอยู่กับปัญหา แม้ฮอโมนจะเป็นตัวป่วน หมั่นทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว
การใช้ยา
- เมื่อป่วยให้ไปพบแพทย์ ห้ามซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด
การแต่งกาย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดรูป หลีกเลี่ยงรองเท้าส้นสูง ระวัง การลื่น หกล้ม
อ้างอิง-ภาพ : สำนักส่งเสริมสุขภาพ , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข