NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต

NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต

ในประเทศไทยการเสียชีวิตจาก โรค NCDs(Non-Communicable Diseases) เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือเชื้อโรค แต่สาเหตุมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

KEY

POINTS

  • คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)กับบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมพัฒนาโครงการวิจัยยารักษาโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคร้ายแรงอื่นๆ
  • ศูนย์วิจัยคลินิก (SICRES)จะได้ร่วมจัดการทดลองทางคลินิกที่มีคุณภาพสูงในฐานะศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ สอดคล้องกับนโยบายเมดิคัล ฮับ ของรัฐบาล
  • การทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนในประเทศไทย จะช่วยให้การพัฒนาการรักษาเฉพาะภูมิภาค เข้าถึงการรักษาที่เป็นนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว เสริมสร้างตำแหน่งของไทยในการวิจัยทางการแพทย์

ในประเทศไทยการเสียชีวิตจาก โรค NCDs(Non-Communicable Diseases) เป็นโรคติดต่อไม่เรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ หรือเชื้อโรค แต่สาเหตุมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย สัมผัสควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของร่างกาย สูงเป็นอันดับ 1 เฉลี่ย 4 แสนคนต่อปี คิดเป็น 76% ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด

สถิติกรมควบคุมโรคและกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2023 พบว่า มีจำนวนคนไทยที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงถึง 740,000 รายต่อปี มีอัตราการเสียชีวิตถึง 70,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 ราย และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดสูงถึง 46,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยต่อหัวราว 488,000 - 2,476,000 บาท

ถัดมาโรคมะเร็ง เป็นโรคที่คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด มีผู้ป่วยโรคมะเร็งในไทยอยู่ที่ราว 306,995 ราย เสียชีวิตประมาณ 80,000 รายต่อปี มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเฉลี่ยของผู้ป่วยโรคมะเร็ง 12,000 ล้านบาทต่อปี หรือเฉลี่ยต่อหัวราว 700,000-1,500,000 บาท ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัวถึง 56.3% สูงสุดเมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ และมีโอกาสเป็นโรคสูงที่สุดถึง 4-5 โรค อันได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคสมองเสื่อม 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

ตรวจเช็ก ป้องกันได้!! "6 โรคNCDs -โรคติดเชื้อ" ที่คร่าชีวิตคนมากที่สุด

รักษา 'โรคเบาหวาน' ให้หายขาดไม่ได้ แต่คุมโรคได้ ต้องทำอย่างไร?

ยกระดับศูนย์วิจัยคลินิก(SICRES) วิจัยคิดค้นยาโรคเบาหวาน โรคอ้วน

ล่าสุด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)กับบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมพัฒนาโครงการวิจัยยารักษาโรคเบาหวาน โรคอ้วน และโรคร้ายแรงอื่นๆ โดยศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SICRES) จะร่วมศึกษาวิจัยทางคลินิก เพิ่มโอกาสในการพัฒนาคิดค้นยารักษาโรคใหม่เพิ่มมากขึ้น ทำให้รักษาโรคหายและร่นระยะเวลาในการรักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น

ศ.นพ.อภิชาติ อัศวมงคลกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่าการร่วมมือครั้งนี้ศูนย์วิจัยคลินิก (SICRES)จะได้ร่วมจัดการทดลองทางคลินิกที่มีคุณภาพสูงในฐานะศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาทางการแพทย์ สอดคล้องกับนโยบายเมดิคัล ฮับ ของรัฐบาล ในอนาคตจะช่วยทำให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสำหรับการวิจัยทางคลินิกได้อีกด้วย  มีส่วนร่วมกับความรู้ระดับโลกเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนได้ในอนาคต

สำหรับศูนย์วิจัยคลินิก (SICRES) เป็นศูนย์วิจัยคลินิกครบวงจร ให้บริการด้านการวิจัยทางคลินิกตั้งแต่ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4 และการศึกษาชีวสมมูล (Bioequivalence Studies) มีการประเมินความปลอดภัยและประสิทธิผลในทุกขั้นตอนของการวิจัยอย่างใกล้ชิด พร้อมกับการจัดการระดับมืออาชีพจากผู้เชี่ยวชาญ

NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต

ทดลองทางคลินิก ช่วยพัฒนาการรักษาเฉพาะภูมิภาค

ด้านเอนริโก้ คานัล บรูแลนด์ รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การดำเนินการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคอ้วนในประเทศไทย จะช่วยให้การพัฒนาการรักษาเฉพาะภูมิภาค เข้าถึงการรักษาที่เป็นนวัตกรรมอย่างรวดเร็ว เสริมสร้างตำแหน่งของไทยในการวิจัยทางการแพทย์ เพิ่มพัฒนาการระดับมืออาชีพ และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสุขภาพทั้งในท้องถิ่นและระดับโลก

สำนักงานใหญ่ Novo Nordisk​ อยู่ในประเทศเดนมาร์ก มีศูนย์วิจัยและพัฒนา จำนวน 10 แห่ง ใน 5 ประเทศ (จีน เดนมาร์ก อินเดีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา) มุ่งเน้นวิจัยและพัฒนายาใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคอ้วน รวมถึงโรคเกี่ยวกับเลือด และต่อมไร้ท่อที่พบได้ยาก ปีที่ผ่านมา​ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก 

NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต

ในประเทศไทยมีการดำเนินงานมากกว่า 40 ปี ทำการวิจัยทางคลินิก (Clinical Trials) ไม่ต่ำกว่า 10 งานวิจัย เนื่องจากไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม และมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นมีองค์ความรู้ที่ครบถ้วน ซึ่งนับเป็นการสร้างประโยชน์ ให้กับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยได้รับนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาและเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บุคลากรทางการแพทย์ ได้รับประสบการณ์การใช้เทคโนโลยีใหม่ และองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทย จะช่วยเอื้อให้การขอขึ้นทะเบียนยาใหม่กับ อย. ได้รับอนุมัติเร็วขึ้น เพราะมีข้อมูลพื้นฐานตั้งแต่ในช่วงของการพัฒนายาตั้งแต่ระยะต้น

NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต

NCDs คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1  4แสนคนต่อปี 76% เสียชีวิต