"Sustainable Wellness" รักษ์โลก ไร้โรค

"Sustainable Wellness" รักษ์โลก ไร้โรค

ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 หมอแอมป์ - นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก และ บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน

KEY

POINTS

  • การสร้างพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน ไปพร้อมกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความยั่งยืน เป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดี ไม่เพียงแค่คนในรุ่นปัจจุบัน แต่รวมถึงคนรุ่นถัดไปอีกด้วย
  • พฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ การนอนหลับที่มีคุณภาพ และอารมณ์ดีอยู่เสมอ เป็นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก
  • การดูแลสุขภาพ ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเราเอง แต่เพื่อคนที่เรารัก และโลกใบนี้ มาร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน

ในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) มหกรรมความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 หมอแอมป์ - นพ.ตนุพล วิรุฬหการุญ ประธานคณะผู้บริหาร บีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก และ บีดีเอ็มเอส เวลเนส รีสอร์ท บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญไปขึ้นเวที Talk Stage เพื่อร่วมแบ่งปัน “Sustainable Wellness รักษ์โลก ไร้โรค” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ช่วงเวลา 11.00- 12.00 น.วันที่ 29 ก.ย. 2567 ที่กำลังจะถึงนี้​

โลกของเรา กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามที่ชื่อว่า“โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง” (Non-communicable diseases, NCDs)จากรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี พ.ศ. 2565 ผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากกลุ่มโรค NCDs สูงถึง 74% หรือ คิดเป็นจำนวน 45 ล้านคนทั่วโลก และในรายงานนี้ คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCDs สูงถึง 77% มากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก หรือนับเป็นจำนวนเท่ากับ 380,400 คนต่อปี หรือ จะมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs สูงถึง 44 คน ต่อชั่วโมง ​

“การเกิดกลุ่มโรค NCDs มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการบริโภคสินค้าตามกระแสนิยม ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารที่มากเกินไป การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การสูบบุหรี่ การเคลื่อนไหวร่างกายที่น้อยลง รวมไปถึงปัญหาความเครียด การนอนหลับไม่เพียงพอ และมลภาวะทางอากาศ ซึ่งการแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ต้องอาศัยแนวทางการมีพฤติกรรมสุขภาพดีที่ยั่งยืน หรือSustainable Wellness” นพ.ตนุพล กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

5 เคล็ดลับต่อสู้โรคอ้วน กับ "หมอแอมป์ ตนุพล"

เริ่มต้นง่ายๆ รวมเคล็ดลับดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน

หลัก 5 ข้อ พฤติกรรมสุขภาพดีอย่างยั่งยืน

องค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ให้ความหมายของ Sustainability ไว้ว่า การตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบัน โดยไม่ลดทอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นถัดไป ดังนั้นการสร้างพฤติกรรมสุขภาพอย่างยั่งยืน (Sustainable Health Behaviours) ไปพร้อมกับการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องความยั่งยืน (Sustainability Literacy) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดี ไม่เพียงแค่คนในรุ่นปัจจุบัน แต่รวมถึงของคนรุ่นถัดไปอีกด้วย

หมอแอมป์ให้คำแนะนำง่าย ๆ ว่า การมีพฤติกรรมสุขภาพดีอย่างยั่งยืน สามารถปฏิบัติง่าย ๆ ตามหลักการ 5 ข้อนี้ ได้แก่ 

1. เลือกรับประทานอาหารจากพืช คือ อาหารที่ยั่งยืน หากทุกคนรับประทานอาหารที่มีพืชเป็นส่วนประกอบ (Plant-based diet) มากขึ้น และหยุดการปล่อยมลพิษจากภาคส่วนอื่น ๆ มีโอกาสสูงถึง 50% ที่จะหยุดยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกได้ 1.5 องศาเซลเซียส ตามข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกันไว้ และหากปรับปรุงระบบการผลิตอาหารออกไปในส่วนต่าง ๆ เช่น การลดขยะอาหาร (Food Waste) ​ โอกาสที่จะทำข้อตกลงได้สำเร็จจะเพิ่มขึ้นเป็น 67%

ผลสำรวจของ Mintel รายงานว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ปี2564 ถึงปี . 2565 มีแนวโน้มในการรับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากนมสัตว์ลดลง ไม่เพียงแต่เหตุผลทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมถึงเหตุผลทางด้านสุขภาพด้วย แม้ว่าผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ และวีแกน จะมีสัดส่วนคงที่ที่ 3% และ 1% ตามลำดับ แต่สัดส่วนของผู้บริโภคที่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก (Carnivore) ลดลง จาก 33% เหลือ 28% และแนวโน้มการหันมารับประทานแบบยืดหยุ่น (Flexitarian) เพิ่มมากขึ้นจาก 10% เป็น 13%

ส่งเสริมสุขภาพควบคู่กับความยั่งยืน 

สำหรับประเทศไทยเอง การหันมาหาวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม อย่างการบริโภคพืชผักสวนครัวที่หาได้ตามท้องถิ่น หรือผักผลไม้ตามฤดูกาล ช่วยสนับสนุนแนวทางการรับประทานอาหารสุขภาพแบบยั่งยืนได้ เพราะสามารถลดการใช้น้ำ สารเคมี และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกระบวนการผลิตและการขนส่ง อีกทั้งการรับประทานอาหารพื้นบ้านแบบไทย ๆ ที่อุดมไปด้วยผักและสมุนไพรหลากหลายชนิด ยังให้คุณประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีวิตามิน แร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระสูง และยังผ่านกระบวนการแปรรูปน้อยอีกด้วย

2.ออกกำลังกาย หรือ กิจกรรมทางกายที่ยั่งยืน ซึ่งการมีพฤติกรรมสุขภาพดีแบบยั่งยืน รวมถึงการไม่บริโภคอาหารหรืออาหารเสริมมากเกินไป การใช้สถานที่ออกกำลังกายและอุปกรณ์เท่าที่จำเป็น หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางในชีวิตประจำวัน อย่างการเดินเท้า วิ่ง ปั่นจักรยาน เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา (Carbon Footprint)​

การมีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ยังมีส่วนช่วยชะลอการสั้นลงของเทโลเมียร์ (Telomere) โดยเทโลเมียร์เป็น DNA ส่วนปลายสุดของโครโมโซม สามารถบ่งชี้อายุของเซลล์ในร่างกาย (Biological age) และบอกภาวะเสื่อมของเซลล์ (Degenerative status) ซึ่งหากความยาวเทโลเมียร์สั้น ความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและแก่ชราก็เพิ่มมากขึ้น งานวิจัยจาก National Health and Nutrition Examination Survey ที่ถูกตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2560 ในผู้ใหญ่ชาวอเมริกันจำนวน 5,823 คน พบว่า หากมีการใช้พลังงานของการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ มากกว่า 1000 METs (Metabolic Equivalent of Task) อย่างเช่น การวิ่งเป็นเวลา 30 หรือ 40 นาทีต่อวัน อย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ สามารถลดการสั้นลงของเทโลเมียร์ และลดอายุของเซลล์ได้ 9 ปี เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ออกกำลังกาย ​

3.อากาศดี เริ่มต้นที่พฤติกรรมสุขภาพ​ การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การไม่สูบบุหรี่ การลดการบริโภคอาหารแปรรูป หรือหลีกเลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัว มีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สาเหตุของภาวะโลกร้อน และลดการสร้างฝุ่น PM2.5 และ PM10 จากเครื่องยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม เป็นส่วนหนึ่งในการทำให้อากาศสะอาด ลดความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจต่างๆ ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น ไม่เฉพาะแค่ตัวเรา แต่รวมไปถึงครอบครัวและผู้คนอื่น ๆ บนโลกอีกด้วย 

4.​การนอนหลับที่ดีและยั่งยืน ขณะตื่นนอน มนุษย์จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร พลังงานไฟฟ้า และเชื้อเพลิง สิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับช่วงเวลาของการตื่นนอน ยิ่งมนุษย์เรานอนหลับน้อยลงมากเท่าใด ก็ยิ่งเผาผลาญทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้นเท่านั้น

การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพและระยะเวลาไม่เพียงพอ ยังส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โรคหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาสุขภาพจิต และระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในระบบการรักษาพยาบาล เป็นการเพิ่มของเสียทางการแพทย์ ที่มีทั้งขยะติดเชื้อ ของมีคม สารเคมี สารกัมมันตภาพรังสี การกำจัดของเสียที่ไม่เหมาะสม สามารถทำให้เกิดการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้ และการเผาทำลายก็ต้องใช้อุณหภูมิสูง การนอนหลับที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน จึงไม่ใช่เพียงแค่การดูแลสุขภาพของตัวเองเท่านั้น แต่เป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน​

5.กิจกรรมอาสา ช่วยสร้างอารมณ์แห่งความสุข  สิ่งแวดล้อมรอบตัว ส่งผลต่อสุขภาพจิต และอารมณ์ของผู้คนเป็นอย่างมาก หากสิ่งแวดล้อมดี มลภาวะน้อย จิตใจก็จะแจ่มใส ความเครียดลดน้อยลง กิจกรรมจิตอาสา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็น การปลูกต้นไม้ การเก็บขยะตามแม่น้ำลำคลอง ชายหาด หรือท้องถนน การช่วยคัดแยกขยะของชุมชน รวมไปถึงกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกับส่งต่อความรู้ที่ถูกต้อง

พฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การอยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ การนอนหลับที่มีคุณภาพ และอารมณ์ดีอยู่เสมอ เป็นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

หากแนวทางด้านการส่งเสริมสุขภาพ ถูกผนวกเข้ากับ การส่งเสริมด้านความยั่งยืน ก็จะสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาพของประชากร ไปพร้อมกับพัฒนาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม บรรลุผลสำเร็จของการพัฒนาที่ยั่งยืน

การที่คนมีสุขภาพที่ดี จะช่วยเอื้อต่อการพัฒนาทางสังคม เพราะถ้าคนแข็งแรง เจ็บป่วยน้อย ก็จะเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ ประกอบกับ ถ้าสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมดี อากาศสะอาด อาหารสุขภาพเข้าถึงได้ง่าย ​ ก็ช่วยส่งเสริมให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น”

"การดูแลสุขภาพ ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเราเอง แต่เพื่อคนที่เรารัก และโลกใบนี้ มาร่วมสร้างสังคมสุขภาพดีอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน” หมอแอมป์ กล่าว

ร่วมเปิดโลกความยั่งยืนอีกมากมายในงาน Sustainability Expo 2024 (SX2024) ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ระหว่างวันที่ 27 ก.ย.-6 ต.ค.2567 เวลา 10.00-20.00 น. ***ใส่ QR **งานให้่ด้วยค้า