ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย ผ่านชุมชน "ออนไลน์"

ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย  ผ่านชุมชน "ออนไลน์"

TikTok เปิดตัวโครงการ ‘Mindful Makers’ ในประเทศไทย ศูนย์กลางความรู้สุขภาพจิตในโซเชียลมีเดีย โดยมีกระทรวงสาธารณสุข, แอพพลิเคชั่นSATI และเครือข่ายผู้สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ

KEY

POINTS

  • TikTok จัดเวิร์คช็อปให้แก่ครีเอเตอร์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต และสนับสนุนการทำคอนเทนต์
  • กระบวนการคัดเลือกครีเอเตอร์เข้าร่วมโครงการ Mindful Maker  โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความน่าเชื่อถือของครีเอเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ คุณภาพของเนื้อหา การสร้างสรรค์ผลงาน และการมีส่วนร่วมกับชุมชน 
  • ปี2568 สติ แอพ ร่วมกับกทม.และกรมสุขภาพจิต ทำโครงการ “ม้านั่งมีหู” ในสวนสาธารณะ นำร่องที่สวนเบญจกิตติ และสวนลุมพินี เปิดพื้นที่ให้ผู้คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตสามารถพูดคุยกับอาสาสมัคร

TikTok เปิดตัวโครงการ ‘Mindful Makers’ ในประเทศไทย ศูนย์กลางความรู้สุขภาพจิตในโซเชียลมีเดีย โดยมีกระทรวงสาธารณสุข, แอพพลิเคชั่นSATI และเครือข่ายผู้สร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ส่งมอบแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์และปลอดภัยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีผู้ใช้งาน

โครงการ Mindful Makers โดย TikTok ริเริ่มระดับชาติในประเทศไทย โดยได้รับการสนับสนุนเชิงกลยุทธ์จากเอเจนซี่เชิงสร้างสรรค์เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่าง lovefrankie เพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้และทักษะความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่ง TikTok ได้ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อมอบข้อมูลด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้และมีหลักฐานอ้างอิงแก่ผู้คนอีกด้วย

ข้อมูลด้านสุขภาพจิตเยาวชนไทยการสำรวจโดย lovefrankie พบว่า เยาวชนส่วนใหญ่แสดงออกถึงความต้องการข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเชื่อถือได้ ให้คุณค่ากับคอนเทนต์ที่สร้างการซัพพอร์ททางอารมณ์และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ 

 รวมถึงการได้มีส่วนร่วมแบ่งปันเรื่องราวจากชีวิตจริงในรูปแบบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน แสดงให้เห็นว่า 85% ของผู้ตอบแบบสอบถามใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นที่ตนสนใจ

 ซึ่งมีผู้คนนับล้านเข้ามาที่ TikTok ทุกวันเพื่อแบ่งปันและค้นหาคอมมูนิตี้ที่ตรงกับความสนใจรวมทั้งด้านความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่ายกายและจิตใจ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

สุขภาพจิตในที่ทำงาน ความท้าทาย-โอกาสองค์กรยุคใหม่

Check List! นิสัย-พฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง ทำแล้วจิตป่วย

สุขภาวะจิตในคอมมูนิตี้

ชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy, Thailand กล่าวว่า การเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก TikTok จึงจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อประเด็นการสนทนาและสนับสนุนในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

นับจากศูนย์ความปลอดภัยไปจนถึง PSA ในแอป TikTok การเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านความเป็นอยู่ที่ดีที่เชื่อถือได้ 

ซึ่งที่ผ่านมา TikTok ได้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับผู้คนมากกว่า 500,000 คนในแต่ละเดือน เชื่อว่าความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์มีความสำคัญ โดยได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญ พันธมิตร และองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยภารกิจทางสังคมทั่วทุกมุมโลกเพื่อแบ่งปันข้อมูลที่เชื่อถือได้ และให้ผู้คนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านความเป็นอยู่ที่ดี อาทิ Well-being Guide และยังคงส่งเสริมให้เกิดคอมมูนิตี้ออนไลน์ที่มีสุขภาวะที่ดีอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ TikTok มีกระบวนการคัดเลือกครีเอเตอร์เข้าร่วมโครงการ Mindful Maker  โดยพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ความน่าเชื่อถือของครีเอเตอร์ผู้เชี่ยวชาญ คุณภาพของเนื้อหา ความสม่ำเสมอในการสร้างสรรค์ผลงาน และการมีส่วนร่วมกับชุมชน 

ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย  ผ่านชุมชน \"ออนไลน์\"

จัดเวิร์คช็อปให้แก่ครีเอเตอร์ เสริมความรู้สุขภาพจิต

เพื่อให้มั่นใจว่าครีเอเตอร์ที่ได้รับเลือกมีความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อผู้ใช้งานแพลตฟอร์ม ที่สำคัญคือเราต้องการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่าง generation จึงได้เฟ้นหาครีเอเตอร์มาจากหลากหลายประสบการณ์และช่วงวัยพื่อให้สามารถครอบคลุมการนำเสนอของเราได้เป็นอย่างดี 

และเมื่อถึงกระบวนการสร้างคอนเทนต์ ครีเอเตอร์จะได้รับการช่วยเหลือในการรีวิวและสนับสนุนเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและหน่วยงานไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลที่ถูกเผยแพร่มีความถูกต้อง และมีแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้

ในอนาคต เราจะมีการจัดเวิร์คช็อปให้แก่ครีเอเตอร์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต และสนับสนุนการทำคอนเทนต์ เพื่อให้เสริมพลังให้เหล่าครีเอเตอร์ได้มีความรู้และความสามารถในการสร้างคอนเทนต์และมีส่วนร่วมที่ดีกับคอมมูนิตี้อย่างยั่งยืน 

รวมทั้งพิจารณาจัดสรรทรัพยากรอย่างเหมาะสมเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์เนื้อหาที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ ในความร่วมมือระดับโลกของ TikTok และ WHO ทาง TikTok ได้ร่วมบริจาคเงินทุนแก่ Fides network คอมมูนิตี้ที่รวบรวมครีเอเตอร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วทุกมุมโลก เป็นจำนวน 3 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อสนับสนุนการสร้างคอนเทนต์ด้านสุขภาพจิตโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวอีกด้วย

ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย  ผ่านชุมชน \"ออนไลน์\"

สื่อในเชิงบวกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รองโฆษกกระทรวงสาธารณสุข และ TikTok Safety Advisory Councils กล่าวถึงการใช้สื่อโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยไว้ว่า การใช้สื่อในเชิงบวกและปลอดภัยสามารถส่งผลดีต่อสุขภาพจิตของคนทุกเพศทุกวัยอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กวัยรุ่น ที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับผลกระทบทางลบต่อจิตใจสูงกว่าวัยอื่น พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงควรดูแลการเลือกรับชมสื่อของเด็ก รวมถึงครีเอเตอร์ และผู้ผลิตสื่อทุกคนนั้นก็ควรให้ความสำคัญต่อการผลิตคอนเทนต์อย่างมีความรับผิดชอบ 

สำหรับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง TikTokมีศักยภาพที่จะเชื่อมต่อคนทั้งประเทศและสร้างประสบการณ์เชิงบวกแก่ผู้ใช้ได้ดี โดยการช่วยกันสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่จะช่วยสร้างการตระหนักรู้เรื่องการดูแลสุขภาพจิตด้วยตัวเอง ตลอดจนถึงการเอาใจใส่คนรอบข้างและคนที่เราพบเจอบนโลกออนไลน์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ให้เป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความสุขสำหรับทุกคน

ครีเอเตอร์ดูแลสุขภาพจิต พื้นที่ดิจิทัล

"แจน วรินรำไพ ไตรพัชรพัฒน์ (@janjanuary1)" ครีเอเตอร์ Mindful Makers กล่าวว่า การได้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ Mindful Makers จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ใช้ช่องทางของเราในการรณรงค์ให้ผู้ติดตามและผู้ใช้ทุกคนหันมาใส่ใจการดูแลสุขภาพจิตมากขึ้น จะสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพูดคุยเรื่องสุขภาพจิตอย่างเปิดเผย และเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ใช้ TikTok มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในคอมมูนิตี้โลกออนไลน์ที่มีแต่ความสุข

"หนึ่ง ปฐมาภรณ์ ตันจั่นพงศ์ (@this.is.neung)" อีกหนึ่งในตัวแทนครีเอเตอร์ในโครงการ Mindful Makers ผู้เชี่ยวชาญด้านการไลฟ์สตรีมมิ่ง กล่าวเสริมว่าปกติแล้วใช้ก็จะใช้ TikTok LIVE ในการแบ่งปันคอนเทนต์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิต สุขภาพ และการพัฒนาตนเองมาระยะหนึ่งแล้ว

โครงการนี้ก็หวังว่าจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ และอยากชวนทุกคนมาร่วมกันสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลตนเองและการดูแลสุขภาพอารมณ์ร่วมกัน มองว่าเราสามารถส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีขึ้นในชุมชนออนไลน์กันได้ ซึ่ง TikTok LIVE ไม่ใช่แค่แพลตฟอร์มสำหรับความบันเทิงแบบเรียลไทม์เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือที่มีอิทธิพลสำหรับการศึกษาและส่งเสริมกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงคุณค่าของสุขภาพจิตในพื้นที่ดิจิทัลได้

ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย  ผ่านชุมชน \"ออนไลน์\"

“สติ แอพ” ผุดม้านั่งมีหู

"พริมา พิสุทธิศรัณย์ Operations Advisor Sati App" กล่าวว่า ประเทศไทยมีคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต บริการสายด่วน 1323 ของกรมสุขภาพจิต ก็มีเจ้าหน้าที่ไม่มาก ขณะที่คนกำลังประสบปัญหาต้องการคนที่รับฟังแพลตฟอร์ม สติ แอพ จึงเข้ามาทำหน้าที่เป็น “ผู้ที่รับฟัง” ทำหน้าที่เสมือนระบบคัดกรอง ก่อนจะเข้าไปสู่กระบวนการรักษา

ดังนั้น ทุกภาคส่วนของสังคมไทยทั้งภาครัฐและเอกชนต้อง ร่วมมือกันสร้างสภาพแวดล้อม และระบบการทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพจิตที่ดี และลดความเสี่ยงด้านสุขภาพจิต อาทิ การให้สถานประกอบการจัดบริการสุขภาพจิตประจำปีแก่พนักงาน การยืดหยุ่นตารางเวลาการทำงาน การจัดบริการสุขภาพจิตทางไกล เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการบริการให้มากที่สุด

สำหรับ สติ แอพ ตั้งแต่เปิดบริการฟรีมา 5 ปี ผู้ใช้บริการสติ แอพ ประมาณ 30,000ราย มีอาสาสมัคร 700 กว่าคนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กทม. อนาคตอยากให้มีอาสาสมัครกระจายไปทั่วประเทศมากขึ้น เพื่อช่วยให้คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงมากขึ้น

สำหรับปีหน้า สติ แอพ จะร่วมกับกทม.และกรมสุขภาพจิต ทำโครงการ “ม้านั่งมีหู” ในสวนสาธารณะ นำร่องที่สวนเบญจกิตติ และสวนลุมพินี เปิดพื้นที่ให้ผู้คนที่มีปัญหาสุขภาพจิตสามารถพูดคุยกับอาสาสมัครที่จะเข้าไปให้บริการตามม้านั่งที่จะเอาไปวางไว้ในสวนสาธารณะ ซึ่งเป็นโมเดลที่มีการดำเนินมาแล้วที่ออสเตรเลีย และอังกฤษ

ดูแลสุขภาวะจิตคนไทย  ผ่านชุมชน \"ออนไลน์\"