'ความเครียด' ภัยเงียบ กระตุ้นโรคเบาหวาน! วัยทำงานควรระวัง
เนื่องด้วยวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันเบาหวานโลก ปีนี้ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ “Diabetes and well-Being : สุขกาย สุขใจ โลกสดใส ใส่ใจเบาหวาน” องค์กรต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับโรคนี้
KEY
POINTS
- โรคเบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ มีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป หรือมีค่าน้ำตาลสะสมตั้งแต่6.5%
- ความเครียดสะสม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า และกว่า 30% ของผู้ป่วยมักประสบปัญหาสุขภาพจิต
- การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ทำให้ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคไตวาย หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระยะยาวลงอย่างมาก
เนื่องด้วยวันที่ 14 พฤศจิกายน เป็นวันเบาหวานโลก ปีนี้ได้กำหนดประเด็นรณรงค์ “Diabetes and well-Being : สุขกาย สุขใจ โลกสดใส ใส่ใจเบาหวาน” องค์กรต่างๆ จึงให้ความสำคัญกับโรคนี้
สำหรับประเทศไทยมีหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ร่วมกันรณรงค์สร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุข
สาเหตุส่วนใหญ่กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งกินอาหารไม่เหมาะสม และขาดการออกกำลังกาย กระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมให้คนไทยเน้นเรียนรู้การนับคาร์บ ปรับพฤติกรรมการกินด้วยหลัก “โปรตีนอย่าให้ขาด คาร์บอย่าให้เกิน เพิ่มเติมด้วยไขมันดี”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
การกินแบบนับคาร์บ่วยลดยา และหยุดยาเบาหวาน
ด้วยการคิดคำนวณพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน และกินอาหารแบบนับคาร์บ หรือคาร์โบไฮเดรต ที่มาจากกลุ่มข้าว แป้งและน้ำตาล ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ไม่ให้เกินร้อยละ 20 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการ ส่วนที่เหลือให้เพิ่มเติมด้วยกลุ่มโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม ถั่ว และไขมันดี เช่น น้ำมันงา น้ำมันถั่วเหลือง อะโวคาโด การกินแบบนับคาร์บนี้ดำเนินการมาแล้วในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในหลายพื้นที่ พบว่าได้ผลดีมาก ผู้ป่วยหลายรายสามารถลดยาหรือหยุดยาเบาหวานได้
ทั้งนี้ สถิติของกรมควบคุมโรคพบว่า ในปี 2565 มีคนไทยป่วยเบาหวานสะสมถึง 3.3 ล้านคน และมีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 3 แสนคน
นพ. ชาญวัฒน์ ชวนตันติกมล อายุรแพทย์ผู้ชำนาญการโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก รพ.วิมุต กล่าวว่าโรคเบาหวานคือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ มีระดับน้ำตาลในเลือดตั้งแต่ 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป หรือมีค่าน้ำตาลสะสมตั้งแต่6.5%
จากการตรวจอย่างน้อย 2 ค่า ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ บางคนอาจมีภาวะแทรกซ้อนของเบาหวาน เช่น สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด มีแผลที่เท้าเรื้อรัง มีอาการชาที่ปลายมือหรือปลายเท้า อ่อนเพลีย หรือผิวแห้งและคัน
เป็นเบาหวานเสี่ยงซึมเศร้ากว่าปกติ 2 เท่า
โรคเบาหวานและความเครียดมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง เพราะเมื่อเผชิญความเครียด หลายคนมักหันไปพึ่งของหวาน โดยไม่รู้ตัวว่าเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน และเมื่อป่วยเป็นเบาหวานแล้ว ภาระในการดูแลตัวเองยิ่งหนักขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร ออกกำลังกายตามตารางที่แพทย์แนะนำ หรือการกินยาอย่างเคร่งครัดเพื่อควบคุมโรค
ซึ่งอาจทำให้เกิดความเครียดสะสม ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า และกว่า 30% ของผู้ป่วยมักประสบปัญหาสุขภาพจิตที่อาจทำส่งผลให้ละเลยการดูแลตนเอง เช่น ขาดแรงจูงใจในการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย หรือลืมกินยาบ่อยครั้ง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเบาหวานกำเริบ รวมถึงอาจมีภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคไต หรือโรคหลอดเลือดสมอง กลายเป็นวงจรอันตรายที่ส่งผลร้ายต่อทั้งสุขภาพกายและจิตใจ
ถ้ายังอยากกินของหวานอยู่ ก็ควรจำกัดปริมาณน้ำตาลไม่ให้เกิน 6 ช้อนชาหรือ 24 กรัมต่อวัน และควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปีแม้จะอายุน้อยหรือยังไม่มีอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น กินของหวานเป็นประจำ มีประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คนในครอบครัวเป็นเบาหวาน มีน้ำหนักเกิน หรือมีโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะถ้าตรวจพบเร็วจะได้รักษาได้ทันเวลา
“ในยุคนี้ความเครียดเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเรียนและคนทำงาน แม้การกินของหวานจะเป็นตัวช่วยที่สะดวกที่สุด แต่ถ้ากินจนติดเป็นนิสัยก็อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ จึงอยากให้ทุกคนลองผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่า อาทิ เล่นกีฬา ไปเที่ยว หรือทำกิจกรรมที่ชอบ ส่วนของหวานก็ยังกินได้ แต่ก็ควรลดและกินในปริมาณที่พอดี ที่สำคัญอย่าลืมมาตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะได้ไม่ต้องกังวลว่าจะเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในอนาคต”
“เอ็นริโก้ คานัล บรูแลนด์” รองประธานกรรมการและผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ประเทศไทย จำกัด กล่าวโดยร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ริเริ่มโครงการ Affordability Project เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีโอกาสเข้าถึงการดูแลสุขภาพที่ดีอย่างเท่าเทียม ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565 – 2568
ปัจจุบันได้บรรลุเป้าหมายไปมากกว่า 70% โดยคัดกรองทั้งหมด 53,000 คน ใน 13 เขตสุขภาพ ครอบคลุมพื้นที่ 21 จังหวัด ฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยทั้งหมด 7,000 คน และผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและอยู่ในการควบคุมดูแลระดับน้ำตาลอย่างเข้มข้นจำนวน 7,000 คน
โดยโครงการดังกล่าว ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจคัดกรองและเข้าถึงการรักษาเท่านั้น แต่ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศได้อย่างมีนัยสำคัญ จากการศึกษาพบว่า การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ทำให้ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคไตวาย หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาวลงอย่างมาก