เช็ก! 'สีปัสสาวะ' บ่งบอกโรค- สุขภาพได้
ใครเคยสังเกตสีปัสสาวะของตัวเองบ้าง? ว่าสีปัสสาวะเป็นสีอะไร เพราะการตรวจดูสีของปัสสาวะด้วยตัวเองเป็นครั้งเป็นคราวอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้
KEY
POINTS
- ระบบปัสสาวะ คือ ของเหลวที่ไตของเราขับของเสียออกมาจากสารอาหารที่รับประทานเข้าในแต่ละวัน ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนมาก
- สีปัสสาวะแต่ละสีที่มีความแตกต่างนั้นเป็นสัญญาณเตือนที่สามารถบ่งบอกโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว การดื่มน้ำในปริมาณมากหรือน้อยเกินไปย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ล้วนส่งผลกับร่างกาย
- ฉะนั้น ควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป และหมั่นสังเกตสีปัสสาวะทุกครั้งที่ทำการขับถ่าย
ใครเคยสังเกตสีปัสสาวะของตัวเองบ้าง? ว่าสีปัสสาวะเป็นสีอะไร เพราะการตรวจดูสีปัสสาวะด้วยตัวเองเป็นครั้งเป็นคราวอาจให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพได้ เนื่องจากสีของปัสสาวะแปรเปลี่ยนไปได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากอาหารที่รับประทาน ยา วิตามิน อาหารเสริม หรือปัญหาสุขภาพ
โดยทั่วไปแม้ไม่ใช่เรื่องที่น่าวิตกกังวล แต่บางครั้งอาจบ่งบอกถึงโรคร้ายที่แอบแฝงอยู่ในร่างกายของคุณได้ ฉะนั้น ทุกครั้งที่ปัสสาวะ ลองเช็กสีของปัสสาวะดู
สีปัสสาวะปกติของคนเราจะมีสีเหลืองอ่อนใส ไม่ขุ่น ถ้าคุณดื่มน้ำมากแต่ปัสสาวะยังเป็นสีเหลืองขุ่นหรือดื่มน้ำน้อยแต่ปัสสาวะเป็นสีขาวใส อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง:
ทำความรู้จักระบบปัสสาวะ
ระบบปัสสาวะ คือ ของเหลวที่ไตของเราขับของเสียออกมาจากสารอาหารที่รับประทานเข้าในแต่ละวัน ซึ่งประกอบไปด้วยน้ำเป็นส่วนมาก และยังมียูเรียซึ่งเป็นสารอินทรีย์ที่เหลือหลังจากร่างกายนำโปรตีนไปใช้แล้ว รวมถึงเกลือและสารเคมีที่เป็นของเสียอย่างยูโรบิลิน (Urobilin) โดยสารนี้จะทำให้เห็นถึงสีและกลิ่นของปัสสาวะ
ในแต่ละวันสีและกลิ่นปัสสาวะของเราจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอาหารที่เรากิน (โดยปกติแล้วสีของปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อน ไม่มีความขุ่นและไม่ตกตะกอน) อีกทั้งสีและกลิ่นของปัสสาวะที่ขับออกมานั้นยังสามารถบอกโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว
นพ.ณัฐวุฒิ สุมาลัย แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ กล่าวว่าสาเหตุของการปัสสาวะแล้วพบกันที่ปัจจัยอื่นๆ เช่น กลิ่นปริมาณหรือความเจ็บป่วยเป็นต้นเหตุที่กล่าวถึงเรื่องนี้ได้โดยสามารถสังเกตได้ดังนี้
กลิ่นปัสสาวะ : ปัสสาวะที่มีกลิ่นแรงหรือปกติอาจเกิดจากปัญหาของสุขภาพที่สำคัญ เช่น เกิดจากโรคทางเดินปัสสาวะหรืออาหารบางประเภท เช่น หน่อไม้ฝรั่ง แอสพารากัสหรือเป็นผลยารักษาโรคได้
ปริมาณปัสสาวะ : การปัสสาวะตามปกติ (polyuria) หรือปัสสาวะน้อยเกินไป (oliguria) อาจพบปัญหาทางสุขภาพ เช่น เด็กทารกหรือภาวะไตวาย
การปัสสาวะของปัสสาวะ : การปัสสาวะบ่อยเกินไป (ความถี่) บ่อยครั้งพอถึงการที่ระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ดูแลระบบ กินน้อยเกินไป
ปัสสาวะมีฟอง : ปัสสาวะที่มีฟองมากอาจเกิดจากโปรตีนในปัสสาวะซึ่งเป็นสาเหตุของโรคไต
ปัสสาวะใสหรือขุ่น : ปัสสาวะที่ขุ่นอาจส่งผลดีต่อสุขภาพหรือแบคทีเรียในปัสสาวะ
อาการเกิดขึ้นในขณะปัสสาวะ : อาการปวดหรือแสบร้อนในขณะที่มีอาการอาจเกิดจากโรคทางเดินอาหารหรือนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
12 สีปัสสาวะบอกอะไรคุณได้บ้าง
1 ปัสสาวะใส ไม่มีสี
แสดงว่าคุณดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปริมาณที่แนะนำให้ดื่มในแต่ละวัน ทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายต่ำเกินไป ในบางกรณีระดับเกลือแร่ที่ต่ำมากอาจทำให้เสียชีวิตได้ หากปัสสาวะของคุณใสเป็นบางครั้งบางคราวถือว่าเป็นเรื่องปกติ แต่หากปัสสาวะของคุณใสอยู่ตลอดเวลา คุณควรลดปริมาณการดื่มน้ำ นอกจากนี้ปัสสาวะใสยังบอกถึงโรคบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวาน การกินยาขับปัสสาวะ โรคไต เป็นต้น
2 ปัสสาวะสีขาวขุ่น
พบได้ในคนที่ดื่มนมปริมาณมากจนทำให้เกิดผลึกของฟอสเฟตหรือเกิดจากโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เช่น โรคกรวยอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากการมีน้ำเหลืองปนอยู่ในปัสสาวะหรือมีโปรตีนมากเกินไปร่างกาย
3 ปัสสาวะสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลืองทอง
หมายถึงระดับน้ำในร่างกายของคุณอยู่ในระดับปกติ คุณควรสังเกตว่าปัสสาวะสีที่ปกติของคุณเป็นอย่างไรเพื่อให้คุณบอกได้ว่าเมื่อใดที่สีปัสสาวะของคุณผิดปกติไป
4 ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม
เป็นสีปัสสาวะที่ปกติ แต่คุณควรดื่มน้ำให้มากขึ้น
5 ปัสสาวะสีเหลืองสด
ปัสสาวะเป็นสีเหลืองสดหรือสีนีออนเกิดจากการกินวิตามินและอาหารเสริม ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ แค่เป็นอาการที่บอกว่าคุณกินวิตามินมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ดังนั้น คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มกินวิตามินหรืออาหารเสริมใด ๆ
6 ปัสสาวะสีส้ม
ปัสสาวะสีส้มอาจหมายถึง ร่างกายขาดน้ำและอาจหมายถึงมีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดีหรือตับ รวมถึงอาจเกิดจากการกินแครอท การกินวิตามินบี 2 ในปริมาณมาก ยาบางชนิดที่ทำให้ปัสสาวะเป็นสีส้ม เช่น ยาซัลฟาซาลาซีน ยาฟีนาโซไพริดีน ยาไอโซไนอาซิด ยาระบายบางชนิด เป็นต้น
7 ปัสสาวะสีส้มเข้มหรือสีน้ำตาล
สาเหตุเกิดขึ้นได้จากการขาดน้ำอย่างรุนแรง เป็นดีซ่าน มีภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย (rhabdomyolysis) นอกจากนี้ยาบางชนิดยังทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลได้ เช่น ยาเมโทรนิดาโซลที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียหรือยาควีนินซึ่งใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย
8 ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มหรือดำ
อาจเกิดจากการกินถั่วบางชนิดในปริมาณมาก ผักรูบาร์บ ว่านหางจระเข้ หรือแสดงถึงโรคบางชนิด เช่น โรคตับ โรคมะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากผลข้างเคียงของยา เช่น ยาควีนินซึ่งใช้ป้องกันโรคมาลาเรีย ยาปฏิชีวนะเมโทรนิดาโซล
9 ปัสสาวะสีชมพูและสีแดง
ปัสสาวะสีชมพูไปจนถึงสีแดงอาจหมายถึงการมีเลือดเจือปนอยู่ในปัสสาวะหรือเป็นสัญญาณของโรคไต โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วในไต เนื้องอกหรือมะเร็งที่ไต กระเพาะปัสสาวะหรือต่อมลูกหมาก รวมถึงการกินอาหารบางชนิด เช่น บลูเบอร์รี่ รูบาร์บ บีทรูท หรือหลังการออกกำลังกายอย่างหนักทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ซึ่งไม่เป็นอันตรายใด ๆ
10 ปัสสาวะสีเขียว
ผักแอสพารากัสอาจทำให้ปัสสาวะมีสีเขียวและมีกลิ่น ยาบางชนิดและสีผสมอาหารสีเขียวอาจทำให้ปัสสาวะเป็นสีเขียวได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะได้
11 ปัสสาวะสีฟ้า
อาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมเมตาบอลิกที่หายากซึ่งทำให้เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดสูงผิดปกติ (familial hypercalcemia หรือ blue diaper syndrome) หรือเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้ว เกิดจากยาหรือสีผสมอาหารสีน้ำเงิน เช่น ยาแก้ปวดอินโดเมทาซิน ยารักษาอาการซึมเศร้าอะมิทริปไทลีนและยายับยั้งการหลั่งกรดไซเมทิดีนและยาระงับความรู้สึกโปรโพฟอลเป็นต้น
12 ปัสสาวะสีม่วง
ปัสสาวะสีม่วงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า อาการปัสสาวะในถุงเป็นสีม่วง (purple urine bag syndrome) ซึ่งพบได้ไม่บ่อยในผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะที่มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเป็นสีม่วง
เมื่อไรที่ควรพบแพทย์
โดยส่วนใหญ่แล้ว ปัสสาวะที่มีสีเปลี่ยนไปไม่ได้เป็นเรื่องร้ายแรงต่อสุขภาพจนต้องรู้สึกวิตกกังวล แต่คุณควรรีบไปพบแพทย์หากพบว่าปัสสาวะของคุณมีความผิดปกติดังนี้
- หากปัสสาวะของคุณมีสีชมพูหรือสีแดงเพราะมีเลือดออกปนกับปัสสาวะ
- ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีส้ม ผิวหนังและดวงตาเป็นสีเหลือง อุจจาระมีสีซีด อาจเกิดจากตับทำงานบกพร่อง
- ปัสสาวะมีสีที่แปลกไปอย่างไม่มีสาเหตุติดต่อกันนานหลายวัน
จะเห็นได้ว่าสีปัสสาวะแต่ละสีที่มีความแตกต่างนั้นเป็นสัญญาณเตือนที่สามารถบ่งบอกโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว การดื่มน้ำในปริมาณมากหรือน้อยเกินไปย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ล้วนส่งผลกับร่างกายได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น จึงควรให้ความสำคัญกับการดื่มน้ำให้เพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป และหมั่นสังเกตสีปัสสาวะทุกครั้งที่ทำการขับถ่าย จะช่วยให้ประเมินได้ว่าระบบขับถ่ายและร่างกายของเรานั้นยังอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ ซึ่งหากใครพบเจอสีปัสสาวะที่แตกต่างไปจากปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย อย่าปล่อยเรื้อรัง เพราะอาจนำไปสู่โรคร้ายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตได้
การสังเกตลักษณะนี้สามารถช่วยให้เราทราบถึงความเข้มข้นของเนื้อหากับร่างกายของเราได้เบื้องต้นหากพบการวิจัยที่ควรทราบเพื่อดำเนินการและการรักษาที่เหมาะสม
คุณควรพิจารณาสีหรือลักษณะอื่นๆ ของปัสสาวะเป็นระยะๆ หรือเป็นเวลานานไม่หายบ้างบางครั้งพบแพทย์เพื่อปรึกษาและตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุว่าทำไมเนื่องจากการพบโรคที่เป็นอันตรายตั้งแต่เนิ่นๆไปจนถึงสามารถรับมือได้โดยตรง แนวทางการรักษาที่เหมาะกับตนเองได้ดีที่สุด
อ้างอิง: ศูนย์โรคไต โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ,โรงพยาบาลวิมุต ,โรงพยาบาลเปาโล