เล่าเรื่อง "เจ้าภาพซีเกมส์" ผ่าน "มาสคอต" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

เล่าเรื่อง "เจ้าภาพซีเกมส์" ผ่าน "มาสคอต" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

รู้จักประเทศเจ้าภาพซีเกมส์ผ่านสัญลักษณ์นำโชคหรือตัว “มาสคอต” ที่แต่ละประเทศเลือกมาช่วยสื่อสาร และชวนหาสาเหตุว่าทำไมซีเกมส์ 2 ครั้งหลังที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ต้องใช้ “แมว” เป็นมาสคอตประจำการแข่งขัน

มาสคอต (mascot) หรือสัญลักษณ์นำโชคอยู่คู่กับการแข่งขันกีฬามาทุกระดับ และซีเกมส์ครั้งที่ 31 ซึ่งประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพนี้ ตัวมาสคอตที่เจ้าภาพเลือกใช้คือ “ซาวลา” หรือ “วัวหวูกว่าง” ที่ถูกค้นพบเมื่อปี 1992 ที่บริเวณเทือกเขาอันนัม ประเทศเวียดนาม

ตามความหมายแล้ว ตัวมาสคอตคือสัญลักษณ์ที่เป็นตัวแทนของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทำหน้าที่หลักในการเป็นตัวแทนประชาสัมพันธ์ของการแข่งขันกีฬา และสำหรับกีฬาซีเกมส์หลายครั้งที่ผ่านมานั้น มาสคอต ส่วนใหญ่ที่ประเทศเจ้าภาพเลือกใช้มักจินตนาการมาจากสัตว์ซึ่งผสมคาแรกเตอร์เข้ากับความเป็นมนุษย์ ใช้บุคลิกลักษณะและการแสดงออกที่มีความสดใสร่าเริงเหมือนเด็ก โดยที่ไม่ลืมว่ามาสคอตจะแสดงถึงอัตลักษณ์ของประเทศนั้นๆ 

  •  “ซาวลา”สัตว์ที่ถูกถ่ายภาพได้เป็นครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม

เวียดนาม เจ้าภาพกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ซึ่งจัดขึ้นในปีนี้ ดีไซน์โลโก้การแข่งขันสื่อสารเป็นรูปอักษร V คล้ายนกพิราบกางปีก ซึ่งสื่อถึงความสงบสุข รวมทั้งเวียดนาม(Vietnam) และชัยชนะ(Victory)

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

สำหรับ มาสคอต พวกเขาเลือกใช้มีชื่อว่า  “ซาวลา” หรือ “วัวหวูกว่าง” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่แสดงถึงความหลากหลายทางชีวพันธุ์ของเทือกเขาอันนัม ที่ทอดยาวระหว่างชายแดนประเทศเวียดนามและลาว และมีรายงานว่าการค้นพบสัตว์ป่าหายากที่พบที่นี่เพียงที่เดียวเท่านั้น ไม่พบอื่นในโลก

ซาวลา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่หายากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีรูปร่างคล้ายแพะผสมกับเลียงผา จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับวัว มีถิ่นกำเนิดในเวียดนามตอนกลาง ลักษณะของวัวหวูกว่างนี้ จะมีเขา 2 เขา จึงทำให้มีผู้เรียกกวางชนิดนี้ว่า "เสา-หลา" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลาว ซึ่งออกเสียงคล้ายกับชื่อเดิม เนื่องจากลักษณะเขาคู่ที่ตั้งชั้น คล้ายกับ "เสา" ของ "หลา" อันเป็นอุปกรณ์ปั่นด้าย ที่ใช้กันมาแต่โบราณกาลในอนุภูมิภาค

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน ภาพซาวลา ที่มาของมาสคอตในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 31 ณ ประเทศเวียดนาม

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

ถึงเช่นนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เพราะเหตุใดจึงเรียกสัตว์ชนิดนี้ว่า “ซาว-ลา” และ ใครเป็นผู้ตั้งชื่อนี้ หากแต่ในภาษาเวียดนามความหมายของ ซาวลา แปลว่า ความหายาก และความสวยงามในภาษาเวียดนาม

  • แมว ช้าง สัตว์สัญลักษณ์ของไทย

แมวและช้างเป็นสัญลักษณ์ที่อยู่คู่กับประเทศไทยมาช้านาน มาสคอต “ช้าง” เคยถูกในการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ในประเทศไทย เมื่อปี 1998 มีชื่อว่า “ช้างไชโย” และมีคำขวัญว่า Friendship beyond Frontiers หรือ มิตรภาพไร้พรมแดน

หากนับเฉพาะซีเกมส์ 2 ครั้งหลังสุดที่จัดขึ้นในประเทศไทยผู้จัดการแข่งขันก็เลือกใช้ “แมว” เป็นมาสคอตสัญลักษณ์ประจำการแข่งขัน

ครั้งแรกย้อนกลับไปในการแข่งขันซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปี 1995 ในครั้งนั้นประเทศไทยต้องการเจ้าภาพที่ไม่ใช่กรุงเทพฯ จึงเลือก จ.เชียงใหม่ เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน โดยมีสนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ถูกใช้เป็นสนามหลักในการแข่งขัน และมีการกระจายสนามแข่งขันกีฬาทั่วจังหวัดเชียงใหม่ เช่น โรงแรมโลตัส ปางสวนแก้ว เป็นสถานที่แข่งขัน บิลเลียดและสนุกเกอร์

เมื่อการแข่งขันจัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ มาสคอตที่ผู้จัดงานเลือกคือ แมววิเชียรมาศ แมวไทยโบราณ ซึ่งตามความเชื่อคนไทยคือสัตว์นำโชค และมักเลี้ยงกันในวังมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีมูลค่าสูง โดยแมววิเชียรมาศที่ถูกเลือกมานั้นได้ถือ ร่มบ่อสร้าง ซึ่งเป็นอาชีพหัตถกรรมของชาวบ้านในอำเภอสันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งได้กลายเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของเชียงใหม่และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มาสคอตซีเกมส์ในครั้งนั้น จึงเป็นแมววิเชียรมาศถือร่วมบ่อสร้าง ซึ่งมีชื่อว่า "สวัสดี" (Sawasdee) ซึ่งสื่อสารถึงความเป็นไทยและอัตลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ไปพร้อมๆกัน

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

แมวสวัสดี ที่เป็นมาสคอตซีเกมส์ ที่จ.เชียงใหม่ และถูกเป็นคาแรกเตอร์ในการผลิตของที่ระลึก

ขณะที่ซีเกมส์ครั้งที่ 24 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพอีกครั้งเมื่อปี 2007 ได้จัดขึ้นที่จ.นครราชสีมา และผู้จัดการแข่งขันก็เลือกแมวเป็นมาสคอตอีกครั้ง แต่หนนี้เป็นคิวของ “แมวสีสวาด” มีถิ่นกำเนิดที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมาซึ่งมีชื่อว่า “แคน” โดยอากัปกิริยากำลังเป่าแคน มีผ้าขาวม้าสีสันสดใสแบบชาวอีสานคาดที่พุง แสดงออกถึงประเทศไทยและความเป็นคนอีสานในเวลาเดียวกัน

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

เจ้า "แคน" แมวสีสวาด มาสคอตในการแข่งขันซีเกมส์ ที่จ.นครราชสีมา เมื่อปี 2007

 

  • มาเลเซียและสิงคโปร์

เมื่อครั้งที่ซีเกมส์จัดที่ประเทศมาเลเซีย 2017 มีการนำสัตว์ประจำชาติมาเลเซีย คือ เสือโคร่งมลายู มาเป็นมาสคอต

เสือโคร่งมาลายูนั้นอธิบายความเป็นประเทศมาเลเซียได้เป็นอย่างดี เพราะมีถิ่นฐานอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของคาบสมุทรมลายู โดยเสือโคร่งนั้นได้รับการยกย่องอย่างสูงยิ่ง ดังปรากฏอยู่บนตราแผ่นดินของมาเลเซีย เพื่อแสดงถึงกำลังและความกล้าหาญของชาวมาเลเซีย

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

คาแรกเตอร์มาสคอตที่นำมาจากเสือโคร่งมาลายู

เหตุนี้เสือคือสัญลักษณ์ของประเทศมาเลเซียในวงการกีฬา   แบบที่เราคุ้นชินกันมาตลอดกับคำว่า “เสือเหลืองมาเลเซีย” ซึ่งในการแข่งขันซีเกมส์เมื่อปี 2017 ประเทศมาเลยเซียก็เลือกมาสคอตเป็น เสือโคร่งมลายู มีชื่อว่า Rimau ตัวอักษรของ Rimau มาจาก Respect (ความเคารพ), Integrity (ความมั่งคง), Move (ความปราดเปรียว), Attitude (ความมีทัศนคติ) and Unity (ความเอกภาพ)โดยความหมายทั้งหมดเมื่อรวมกันจะสื่อว่า Rimau เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์ที่มีน้ำใจ และมีความเป็นกัน

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

มาสคอตซีเกมส์เมื่อปี 2015 ที่ประเทศสิงคโปร์

ขณะที่เมื่อครั้งประเทศสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ พวกเขาได้เลือก "เจ้านีล่า" หรือ สิงโต ซึ่งถือเป็นสัตว์ประจำชาติ และเป็นชื่อผู้ค้นพบประเทศสิงคโปร์ คือ "เจ้าชาย ซาง นิล่า อุตมะ" ตามบันทึกของชาวมาเลเซีย ส่วนลักษณ์ของเจ้าสิงโตนีล่า ที่มาพร้อมกับแผงขนคอสีแดงเพลิง สื่อถึงความคลั่งไคล้ในเกมกีฬา และรูปหน้าเป็นรูปหัวใจที่สื่อถึงมิตรภาพ ซึ่งมาพร้อมกับความกระหายในการแข่งขันและความรักในเกมกีฬา

  • "ปามี่" ความเป็นหนึ่งเดียวที่ฟิลิปปินส์

มาสคอตประจำการแข่งขัน ไม่จำเป็นที่ต้องมาจากสัตว์เท่านั้น เพราะซีเกมส์ครั้งที่ผ่านมา คือเมื่อปี 2019 ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้จัดไม่ได้เลือกใช้สัตว์เป็นตัวนำ แต่เลือก มาสคอตที่ชื่อ“ปามี่” ซึ่งเป็นดีไซน์เรียบๆที่ สื่อความหมายถึง “ครอบครัว”

ลักษณะของมาสคอต ปามี่ นี้มีลักษณะเป็นวงกลมมารวมกัน ประกอบด้วย 4 สี ได้แก่ ขาว น้ำเงิน แดง เหลือง ซึ่งเป็นสีบนธงชาติฟิลิปปินส์นั่นเองสอดคล้องกับคำขวัญประจำการแข่งขันซีเกมส์ 2019 คือ We Win As One สื่อความหมายถึง “ชัยชนะของทุกชาติรวมกันเป็นหนึ่ง”

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน ปามี่ มาสคอตซีเกมส์เมื่อปี 2019 

ทั้งหมดคือตัวอย่างมาสคอตที่สะท้อนอัตลักษณ์ของประเทศเจ้าภาพ และการมีมาสคอตไม่เพียงแต่ทำให้การแข่งขันมีเสน่ห์ ชวนติดตามเพียงเท่านั้น แต่มาสคอตยังสามารถเข้าไปเชื่อมโยง ลดความตึงเครียดในการแข่งขันได้ ทั้งนี้เพื่อให้การแข่งขัน กีฬาซีเกมส์ เป็นอีกเวทีที่จะช่วยเพิ่มความแน่นแฟ้นให้กับประเทศสมาชิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

"จำปา" และ "จำปี" สัตว์นำโชค เมื่อซีเกมส์ ปี 2009 จัดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว 

เล่าเรื่อง \"เจ้าภาพซีเกมส์\" ผ่าน \"มาสคอต\" ตัวนำโชค ประจำการแข่งขัน

มาสคอต นกฮูก ในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่เมียร์มาร์ เพศผู้ ชื่อ "อู ชิ่ว ยู" และ เพศเมีย ชื่อ "ดอว์ โม"

อ้างอิง ค้นพบซาวลา “ยูนิคอร์นแห่งเอเซีย” อีกครั้ง ในรอบ 15 ปี ที่ประเทศเวียดนาม

เมอร์ไลออน