4 ไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัล คุกคาม "สุขภาพ" คนรุ่นใหม่แบบไม่รู้ตัว
แพทย์เตือน 4 ไลฟ์สไตล์ยุค "ดิจิทัล" ที่คุกคาม "สุขภาพ" คนรุ่นใหม่แบบไม่รู้ตัว แนะปรับพฤติกรรม-เติมสารอาหารเพื่อการฟื้นฟู เพราะการมีสุขภาพแข็งแรงไม่ได้จำกัดเพียงว่าไม่มีโรค แต่หมายถึงร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง
ใน ยุคดิจิทัลไลเซชั่น ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นเครื่องมือต่างๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งส่งผลให้ ไลฟ์สไตล์ และ พฤติกรรมในการดำรงชีวิต อาจเปลี่ยนแปลงไปบ้าง หากเราไม่ได้ตระหนัก หรือรู้เท่าทันพฤติกรรมเหล่านั้น ก็อาจจะกลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อ สุขภาพ ในระยะยาวโดยที่เราไม่รู้ตัว
พญ.อาคิรา ลิ้มสุวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Antiaging and Regenerative Medicine) จาก "เพจเกเรรักสุขภาพ by หมอจ๋า" รับคำเชิญ “ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย” ร่วมบอกเล่า ปัญหาสุขภาพ ที่อาจกำลังกวนใจคนในยุคปัจจุบัน พร้อมแนะนำทิปส์ดีๆ ในการดูแลและ ฟื้นฟูสุขภาพ ให้กลับมาแข็งแรงสมบูรณ์
พญ. อาคิรา ลิ้มสุวัฒน์ ให้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ปัญหาสุขภาพ ที่คนในปัจจุบันมักละเลยว่า โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่ได้แสดงออกในวัยชราอีกต่อไป เพราะการมีสุขภาพแข็งแรงไม่ได้จำกัดเพียงว่าไม่มีโรค แต่หมายถึงร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง คล่องแคล่ว มีกำลัง รวมไปถึงสุขภาพจิตที่ดี
ในปัจจุบัน เราจึงพบเห็น ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่มากมาย โดยที่ยังไม่ตรวจพบโรคประจำตัวต่างๆ ด้วยซ้ำ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่นั้นอาจจะมาจาก พฤติกรรมส่วนตัว ที่เราทำกันโดยไม่รู้ตัว
มาดูกันว่าจากเช็คลิสต์ พฤติกรรมเสี่ยง อะไรบ้างที่ "คนรุ่นใหม่" กำลังเผชิญอยู่
พฤติกรรมที่ 1 : ขยับร่ายกายน้อยลง : ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่คอยอำนวยความสะดวกสบายต่างๆ เช่น บริการส่งอาหารหรือสินค้าถึงที่ ทำให้การเคลื่อนไหวลดลง การทำงานหรือเรียนจากที่บ้านเป็นเวลานานๆ ทำให้ชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้นหรือผิดเวลามากขึ้น กระทบต่อการนอนหลับไม่เป็นเวลา ซึ่งส่งผลให้ร่างกายล้า สมองล้า
ดังนั้นควรพยายามเพิ่มการขยับตัวเคลื่อนไหวระหว่างวัน และสามารถเสริมด้วยอาหารเสริมประเภทซุปไก่สกัดที่เสริมความสดชื่นให้กับสมองและคลายความเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี หรือเครื่องดื่มโสมสกัดเข้มข้นที่อุดมไปด้วย วิตามินบี ช่วยบำรุงระบบประสาทและสมอง
พฤติกรรมที่ 2 : จ้องหน้าจอมากขึ้น : การใช้สายตากับโทรศัพท์หรือหน้าจอคอมพ์มากขึ้น ไม่ว่าจะจากการทำงาน การดูซีรีส์ ก็สามารถทำให้ สายตาอ่อนล้า ควรพักสายตาจากหน้าจอทุก ๆ ชั่วโมงเป็นเวลาสั้น ๆ สัก 3-5 นาที และสามารถเสริมด้วย เครื่องดื่มผลไม้สกัดเข้มข้น ช่วยบำรุงดวงตา ผิว และเสริมภูมิคุ้มกัน อาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มี วิตามินเอ วิตามินอี ซี และ ซิงก์
พฤติกรรมที่ 3 : เครียดสะสม : ในทุกวันนี้ที่ทุกคนต่างต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ไม่ว่าจะเป็นจากสถานการณ์โรคระบาด รวมไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ก็มีส่วนที่ส่งผลให้คนรุ่นใหม่มี ภาวะเครียด มีปัญหาสุขภาพจิต ได้มากขึ้นไม่น้อยเลยทีเดียว
ควรมองหา กิจกรรมพักผ่อนหย่อนใจ และมอบ รางวัลเล็กๆ น้อยๆ ให้กับตัวเองด้วยการพาตัวเองออกมาจากชีวิตประจำวัน อาทิ การไปท่องเที่ยวพักผ่อน รวมถึงการเข้าพบพูดคุยปรึกษากับจิตแพทย์ก็เป็นเรื่องที่ปกติ และสามารถเสริมด้วยรังนกแท้ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วย superfood อย่าง "นานะ" (NANA) และคุณประโยชน์ของ กรดอะมิโน 16 ชนิด พร้อมทั้งกรดไซอะลิค (Sialic Acid) ที่มีประโยชน์ และยังมีคุณสมบัติ antiaging บำรุงผิวพรรณ
พฤติกรรมที่ 4 : ปล่อยปละละเลยการดูแลตนเอง : เมื่อใช้ร่ายกายอย่างหนักโดยไม่ได้พักอย่างเพียงพอ ร่างกายของคนเราก็อาจจะเสื่อมลง ความเหนื่อยล้าและความเครียดที่สะสมไว้ ก็จะแสดงออกมาทางภายนอกให้เห็นผ่านผิวพรรณที่ไม่เปล่งปลั่ง ใต้ตา และใบหน้าดูอิดโรยสุขภาพไม่ดี
ควรเสริมด้วยอาหารหรือเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วย วิตามิน และ ไฟโตนิวเทรียนท์ หรือผลิตภัณฑ์ที่ช่วยบำรุงและซ่อมแซมสุขภาพผิว เลือกที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีประโยชน์
พญ.อาคิรา ลิ้มสุวัฒน์ จาก "เพจเกเรรักสุขภาพ by หมอจ๋า"
การแก้ปัญหาสุขภาพนั้นสามารถแก้ได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งทริคง่ายๆ ที่ใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย คือ 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย และ อารมณ์ การใส่ใจพฤติกรรมสุขภาพทั้งสามอย่างนี้ เป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
แต่ละคนสามารถเลือกรูปแบบที่เหมาะกับตัวเราเอง และสามารถทำได้จริงกับชีวิตประจำวันของเรา แต่ในความเป็นจริงนั้น การเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนตัวอาจจะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ถึงเปลี่ยนได้ก็ไม่สามารถทำได้ดี 100% หลายคนจึงมองหาทางเลือกเสริมที่จะมาช่วยบรรเทาหรือเสริมสุขภาพ ซึ่งก็คือการเสริมสารอาหารต่างๆ ที่มีหน้าที่ในการฟื้นฟูระบบต่างๆของร่างกายนั่นเอง ซึ่งเป็นการช่วยเสริมความมั่นใจในเรื่องของสุขภาพอีกด้วย
* * * * * *
หมายเหตุ : สนับสนุนข้อมูลโดย “ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย” ผู้ทำธุรกิจด้านอาหารเสริมสุขภาพโดยทำการตลาดภายใต้เครื่องหมายการค้า BRAND’S®