ย้อนประวัติ 'หอกลอง' สมัยอยุธยา บทบาทหน้าที่สำคัญ ปัจจุบันอยู่ตรงไหน

ย้อนประวัติ 'หอกลอง' สมัยอยุธยา บทบาทหน้าที่สำคัญ ปัจจุบันอยู่ตรงไหน

ย้อนประวัติไปทำความรู้จักกับ 'หอกลอง' ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งฉากในละครพรหมลิขิต EP.11 ระหว่างที่พ่อริด (โป๊ป ธนวรรธน์) ได้พา พุดตาน (เบลล่า ราณี) ไปเดินเที่ยวตลาด และพ่อริดก็ได้พูดถึงหอกลอง และได้เล่าหน้าที่ของกลองแต่ละชั้นให้ฟัง 

ย้อนประวัติไปทำความรู้จักกับ 'หอกลอง' ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งฉากในละครพรหมลิขิต Ep.11 ทางช่อง 3 HD เมื่อคืนที่ผ่านมา ระหว่างที่พ่อริด (โป๊ป ธนวรรธน์) ได้พา พุดตาน (เบลล่า ราณี) ไปเดินเที่ยวตลาด และพ่อริดก็ได้พูดถึงหอกลอง และได้เล่าหน้าที่ของกลองแต่ละชั้นให้ฟัง 

สำหรับ หอกลอง ในสมัยอยุธยา ทำหน้าที่สำคัญในการส่งสัญญาณบอกแก่ผู้คนในพระนครถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น อยู่ในความดูแลของกรมพระนครบาล บริเวณตลาดหน้าคุกแถววัดเกตุ ลักษณะเป็นหอกลองสูง 3 ชั้น

หอกลอง ชั้นล่างสุด มีชื่อว่า พระทิวาราตรี เป็นกล่องใบใหญ่สุดในจำนวนกลอง 3 ใบ ใช้ตีเวลาย่ำเที่ยง ย่ำสันนิบาต เวลาย่ำรุ่ง (ตอนเช้า) ย่ำค่ำ (ตอนเย็น) เป็นการตีสัญญาณบอกเวลาเป็นประจำทุกวัน

หอกลอง ชั้นกลาง มีชื่อว่าพระมหาระงับดับเพลิง ตีเฉพาะเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ หากเกิดเพลิงไหม้นอกพระนครนับแต่ตลิ่งแม่น้ำออกไปด้านนอกคาดกลองเป็นสัญญาณ 3 ครั้ง แต่หากเพลิงนั้นเกิดไม่ในเกาะพระนคร อันเป็นที่มีสถานที่สำคัญทั้งพระราชวัง วัด ตลาด บ้านเรือนราษฎร จะเกิดเพลิงลุกลามไว้ทำให้ต้องคาดกองตลอดจนกว่าจะดับเพลิงได้

หอกลอง ชั้นบนสุด มีชื่อว่า พระมหาฤกษ์ หากได้ยินเสียงกลองใบนี้เป็นอันว่าคงต้องเตรียมตัวโดยเร่งด่วนเพราะจะคาดกองนี้ก็ต่อเมื่อมีศึกมาประชิดติดพระนครเท่านั้น

ซึ่ง หอกลอง ในสมัยนั้นนับว่าเป็นหอกระจายสัญญาณสำคัญของพระนคร และมีการดูแลเข้มงวด ในแต่ละวันเจ้าพนักงานพระนครบาลผู้ดูแลหอกลองจึงต้องเรียกเก็บเงินจากร้านค้าตลาดหน้าคุกเพื่อนำมาซื้อปลาย่างเลี้ยงแมวไว้คอยกัดหนู เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดจากหนูที่ชอบไปกัดหนังหน้ากลอง

ปัจจุบัน หอกลอง นั้นไม่หลงเหลืออยู่แล้ว มีการสันนิษฐานว่าน่าจะถูกเผาทำลายไปพร้อมกับสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และมีการสันนิษฐานอีกว่าปัจจุบันตำแหน่งหอกลองน่าจะอยู่บริเวณที่ตั้งวังช้างอยุธยา แล เพนียด ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปนั่งช้างเที่ยวกัน เป็นสถานที่ที่มีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวขี่ช้างชมโบราณสถานรอบๆเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

 

ภาพและข้อมูลประกอบจาก go.ayutthaya , ช่อง 3