ชวนเที่ยวฟรี!งาน ‘มหรสพสมโภช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ 11-15 ก.ค. 67
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 หลายหน่วยงานร่วมกันจัดงาน ‘มหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว’ วันที่ 11-15 ก.ค. 67
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นประธานแถลงข่าว งานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องแกลอรี หอศิลป์แห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
โดยมี ยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ลาลีวรรณ กาญจนจารี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม, พลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม, แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ ปลัดกรุงเทพมหานคร, พลโทธีรพงศ์ ปัทมสิงห์ ณ อยุธยา เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหาร, ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมงาน
มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม ชุด ปวงประชาสี่ภาครวมใจ แสงทองส่องไทย ทั่วหล้าเทิดไท้พระบารมี จากสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
การแสดงละครเพลง เทิดไท้ทศมินทรราชา โดย สุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2563 สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล - ขับร้อง), ภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ (สปาย โกลเด้นซอง), นภัสรัญน์ มิตรธีรโรจน์ (ตั๊ก นภัสกร), สรวีย์ ธนพูนหิรัญ (ผิงผิง)
การแสดงจำอวดหน้าม่าน โดย ศิลปินแสตมป์, นิทรรศการ งานมหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, การจัดแสดงผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT), การสาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ได้แก่ ล่าเตียง ขนมอาลัว, เครื่องประดับดินอบลวดลายไทย, เครื่องหอมและสมุนไพร, แกะสลักผักและผลไม้ และนวดประคบสมุนไพร
รัฐบาลโดยกระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดงาน มหรสพสมโภช เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ระหว่างวันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 ณ ท้องสนามหลวง มีกิจกรรมดังนี้
วันที่ 9 กรกฎาคม 2567
- เวลา 08.19 น. พิธีบวงสรวงเทพยดา
วันที่ 11 กรกฎาคม 2567
- เวลา 17.30-19.00 น. มีการเดินริ้วขบวนเฉลิมพระเกียรติฯ 26 ขบวน ประกอบด้วย ทหารบก, ทหารเรือ, ทหารอากาศ, ตำรวจ, ข้าราชการ, ผู้แทนภาคเอกชนและประชาชน กว่า 2,800 คน เริ่มจากสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลางไปยังท้องสนามหลวง
- เวลา 19.30 น. พิธีเปิดงาน โดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีและคณะรัฐมนตรี
ตลอดช่วง 5 วันของการจัดงาน มีกิจกรรม ดังนี้
1) นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ทศมินทรราชา 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ เผยแพร่พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
2) การจัดแสดงสวนแสงเฉลิมพระเกียรติ มหาทศมินทรราชา
การแสดงศิลปวัฒนธรรม และการแสดงดนตรีเฉลิมพระเกียรติ
แบ่งเป็น 2 เวที
เวทีกลาง (เวลา 18.30-22.00)
- วันที่ 11 กรกฎาคม 2567
การแสดงอากาศยานไร้คนขับ (โดรน) เฉลิมพระเกียรติ ชุด รวมใจภักดิ์ ถวายพระพร
การแสดงมหาดุริยางค์ไทยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
การแสดงโนรา ศิลปินแดนทักษิณเฉลิมพระเกียรติ
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2567
การแสดง นาฏะ ดนตรี คีตา
การแสดงโขน สมเด็จพระรามาครองเมือง
การแสดงพื้นบ้าน เรืองรองสุขเกษมทั่วถิ่นไทย
- วันที่ 13 กรกฎาคม 2567
การแสดงดนตรี เทิดไท้องค์ราชัน พระมิ่งขวัญ ปวงชนชาวไทย
การแสดงละครนอก ตอน ถวายลูกแก้วหน้าม้า
การแสดง มหานาฏกรรมรามายณะนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ โดย ไทยร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน 7 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์
- วันที่ 14 กรกฎาคม 2567
การแสดงดนตรี มหาดุริยางค์ 4 เหล่าทัพ
การแสดงดนตรี สดับคีตศิลป์ทศชาติชาดก (10 พระชาติชาดก เฉลิมพระเกียรติ)
การแสดงละครเพลง เทิดไท้ทศมินทรราชา
- วันที่ 15 กรกฎาคม 2567
การแสดง สิงโตบนเสาดอกเหมยเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาวชิราลงกรณ
การแสดง มังกรเบิกฟ้า 72 พรรษามหามงคล ใต้ร่มบรมโพธิสมภาร บริเวณหน้าเต็นท์นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ
การแสดงดนตรี แผ่นดินธรรมแผ่นดินไทยใต้ร่มพระบารมี รวม 5 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยรังสิต
การแสดงนาฏศิลป์โขนสดใต้ร่มพระบารมี ตอน ศึกทศกัณฐ์ยกรบ และตอน ยักษ์บรรลัยกัลป์ออกศึก
การแสดง ศิลปะร่วมสมัยเทิดไท้องค์ราชัน
การแสดงอากาศยานไร้คนขับ(โดรน)เฉลิมพระเกียรติ ชุด รวมใจภักดิ์ ถวายพระพร
-
เวทีย่อย
วันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 เวลา 16.30-18.30 น.
การแสดงพื้นบ้าน ของสมาคมศิลปินพื้นบ้าน
การแสดงรำวงพื้นบ้าน การแสดงของเด็กและเยาวชน
การแสดงจากศิลปินที่มีชื่อเสียง
ทุกวัน เวลา 15.00-18.00 น.
การแสดงว่าวเฉลิมพระเกียรติ เช่น ว่าจุฬา ว่าวสาย ว่าวสามเหลี่ยม รวมกว่า 100 ตัว โดย ปริญญา สุขชิต ซุปเปอร์เป็ด ผู้สืบสาน นักเล่นว่าวไทยระดับชาติ
ตลาดวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) ของดีสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร อาหารไทย อาหารถิ่น และผลิตภัณฑ์จากเครือข่ายวัฒนธรรมอื่น ๆ
สาธิตอาหารในรูปแบบตลาดย้อนยุค เช่น อาหารไทยโบราณ อาหารชาววัง อาหารพื้นถิ่น
สาธิตมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เช่น นวดไทย ลงรักปิดทอง ทำว่าวไทย กรองดอกไม้ แกะสลักผักผลไม้ เป็นต้น
เข้าชมฟรี!
การเดินทาง : องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดรถให้บริการรับ-ส่งประชาชนฟรี วันที่ 11-15 กรกฎาคม 2567 ตั้งแต่เวลา 12.00-22.00 น. ใน 5 เส้นทาง ได้แก่
1 อนุสาวรีย์ชัย-สนามหลวง
2 วงเวียนใหญ่-สนามหลวง
3 สายใต้ใหม่-สนามหลวง
4 หมอชิต-สนามหลวง
5 สนามหลวง -ท่าเตียน-ท่าช้าง
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม 1765
.
.
.
.