เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

การใช้ชีวิตในสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เลวร้ายไม่แน่นอน จำเป็นต้องหาที่พึ่ง ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ ‘พระพิฆเนศ’ คือ หนึ่งในเทพที่หลายคนศรัทธา

พระพิฆเนศ เป็นใคร ทำไมถึงเป็นที่รู้จักนับถือกันมากมาย ไม่เฉพาะประเทศอินเดีย ต้นกำเนิดของเทพองค์นี้ เท่านั้น

ผศ. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  กล่าวในงานเสวนา คเณศที่เรารู้จัก : จากพิฆเนศวร สู่ กาเนชา ที่จัดโดย นิตยสารสารคดี ณ มันมัน ศรีนครินทร์ วันที่ 7 มิถุนายน 2567 ว่า

"พระพิฆเนศวร เป็นเทพเจ้าที่มีหลายบทบาท ในประเทศอินเดียดั้งเดิมเป็นเทพแห่งอุปสรรค และเป็นเทพแห่งการเริ่มต้น

นักวิชาการบางส่วนสันนิษฐานว่า พระพิฆเนศวรไปจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปมีชื่อเสียงที่อินเดีย แต่ยังไม่ได้ข้อยุติ คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลี้ยงช้าง มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ 3,000 กว่าปี

 

พออพยพไปอยู่อินเดีย ก็เอาเทคโนโลยี เอาช้างไปอินเดียด้วย กลายเป็นคนพื้นเมืองที่นั่น เมื่อพวกอารยันเข้ามาก็มองว่า พระพิฆเนศวร เป็นเทพของคนพื้นเมือง ชนชั้นต่ำกว่า"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • พระพิฆเนศ ในตำนาน

ในตำนาน คัมภีร์ปูราณะ กล่าวไว้ว่า มีเทวาลัยองค์หนึ่งที่โสมนาถ พระศิวะได้ไปตั้งศิวลึงค์ไว้ ใครไปไหว้ บาปจะหมดไป แล้วได้ขึ้นสวรรค์

"พวกคนชั่วก็พากันไปโสมนาถ พระอินทร์ก็บ่นว่า ทำไมสวรรค์คนเต็มไปหมด พอรู้เรื่องเทวาลัย ก็ไปฟ้องพระศิวะ

พระศิวะก็แบ่งใจออกมากลายเป็นบุตร คือ พระคเณศ แล้วสั่งให้ไปเฝ้าโสมนาถไว้ ใม่ให้คนชั่วเข้าไปไหว้ได้ ท่านจึงเป็นเทพแห่งอุปสรรค

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

ส่วนในด้านจิตวิเคราะห์ ไมเคิล ไรท์ นักคิด นักเขียน กล่าวว่า พระพิฆเนศมีความก้ำกึ่ง ตัวเป็นคน หัวเป็นช้าง เด็กก็ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ก็ไม่เชิง และตำแหน่งของเขามักอยู่ที่ประตู ทวารบาล

คนเราถ้าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ก็ต้องก้าวข้ามกึ่งกลางนี้ไป นี่คือเทพของระหว่างกลาง ก่อนจะเป็นคนโดยสมบูรณ์

ขณะเดียวกันก็มีรูปลักษณ์ เป็นมิตร ตะมุตะมิ ในภาษาอินเดียใต้มีคำเรียกพระพิฆเนศวรว่า ปิลไลยาร์ แปลว่า ลูกช้าง"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • พระพิฆเนศ ในอดีตมีความเป็นช้างมากกว่าในปัจจุบัน

ยุคต้นศตวรรษที่ 9 ในอินเดีย พระคเณศ หรือ พระพิฆเนศ ยังมีความเป็นช้างอยู่มาก ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ อาศัยอยู่ในป่า น่ากลัว แต่ลูกของมันกลับน่ารัก

"เดิมบทบาทเทพแห่งศิลปะในอินเดียเป็นของ พระสุรัสวดี เทวีแห่งศิลปะ เทวีแห่งการเรียน เทวีแห่งดนตรี ส่วน พระคเณศเป็นเทพแห่งการเริ่มต้น เป็นผู้ขจัดอุปสรรค เขาเลยไหว้ด้วยกัน

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

ในเมืองไทย สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์แรก ๆ ที่ได้ไปเรียนเมืองนอก ตอนนั้นเมืองนอกสนใจเรื่องภารตะวิทยามาก

พระองค์ได้เรียนสันสกฤต วรรณกรรมอินเดียต่าง ๆ จริง ๆ เรารู้จักพระคเณศมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว เป็นเทพแห่งช้าง เกี่ยวข้องกับการจับช้าง

รัชกาลที่ 6 ท่านโปรดพระคเณศ ตรากรมศิลป์ ตราวิทยาลัยนาฏศิลป์ จึงเป็นพระคเณศ มาจากตราวรรณคดีสโมสร มีรูปเทวกรรมเป็นพระคเณศ"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • การสร้างเทวรูปของอินเดีย ต้องตรงเป๊ะตามตำรา

คนอินเดียเวลาสร้างเทวรูป จะซีเรียสเรื่องสัดส่วน มีตำราเป็นขนบบอกไว้ว่า เทพที่เป็นผู้ใหญ่สูงเท่าไร เทพเป็นสัตว์หรือเป็นเด็กสูงเท่าไร

พระคเณศสูงแค่ครึ่งหนึ่ง เพราะเป็นภาวะเด็ก สูงไม่เท่าผู้ใหญ่เต็มตัว เตี้ยกว่าเด็กโต ขนาดหนุมานยังสูงกว่า

ในส่วนของรายละเอียด วัสดุและรูปแบบ ถ้าเป็นเทวสถาน ดีที่สุดต้องเป็นหิน เพราะทนที่สุด เก่าแก่ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง และเกิดจากธรรมชาติ

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

รองลงมาคือ โลหะ ซึ่งแบ่งเกรดออกไปอีก เป็น สำริด ทองแดง ทองคำ เงิน ทองเหลือง ไม้

เทวรูป แบ่งเป็นประเภท คือ แบบเคลื่อนที่ได้ และแบบที่เคลื่อนที่ไม่ได้ อยู่กับที่

ความสูงของเทวรูป ก็ต้องไม่สูงใหญ่เกินหนึ่งศอกของเจ้าของ หรือถ้าเป็นลอยองค์ก็นับตั้งแต่หนึ่งองคุลีของเจ้าของขึ้นไป

นอกจากนี้ยังมีขนบอีกเยอะ เช่น เทวรูปที่ทำพิธีแล้วนำมาบูชาอยู่ในเรือนเดียวกัน ห้ามมีจำนวน 3 องค์ จะทำให้เกิดรังควาน เกิดความไม่สงบที่บ้าน

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

แต่มีจำนวนมากกว่า น้อยกว่าได้

พราหมณ์ในเมืองไทยส่วนใหญ่เวลาไปปลุกเสกเทวรูป มักจะปลุกเสกไว้ 50% เพราะไม่รู้ว่าในบ้านมี 3 องค์ไหม หากปลุกเสกเต็ม 100 เดี๋ยวตีกัน ยุ่งเกิน

ปัจจุบันมีการทำอาร์ตทอยเป็นรูปพระพิฆเนศออกมามากมาย หากผู้สร้างมีความรู้เรื่องการสร้างเทวรูปของอินเดียก็จะเป็นสิ่งที่ดี

มีการแยก พระพิฆเนศวร ที่เป็นงานศิลปะ อาร์ตทอย กับงานเทวรูปเคารพบูชา ออกจากกันอย่างชัดเจน

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

Cr. Kanok Shokjaratkul

  • เช่าพระพิฆเนศ ที่ไหนดี

ผศ. คมกฤช ตอบว่า เอาที่ชอบ เอาที่พอใจ

"ถ้าซีเรียสเรื่องพิธีกรรม ผ่านปลุกเสก ก็ซื้อจากหน่วยงานรัฐ เช่น กรมศิลปากร วิทยาลัยนาฏศิลป์ คณะอักษรศาสตร์ โบสถ์พราหมณ์ เทพมณเฑียร วัดแขก สีลม พวกนี้เขาทำพิธี เป็นเทวรูปไปเลย

แต่ถ้าคิดว่าไม่สวยไม่อยากได้ ก็ไปหามา แล้วไปที่เทพมณเฑียร โบสถ์พราหมณ์ ฮินดูสมาส ให้เขาทำพิธีให้ แล้วคุณก็ทำบุญกับเขา อันนี้กรณีที่อยากเอาไปบูชาจริง ๆ แล้วทำจริง ๆ เพิ่มความสบายใจ"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย

  • อยากไปไหว้พระพิฆเนศ ประเทศอินเดีย ต้องไปที่ไหน

ต้องไปที่เมือง ปูเน่ มีพระพิฆเนศ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นหิน 8 องค์

ปูเน่ ตั้งอยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย ไปลงมุมไบ แล้วนั่งรถไปอีกชั่วโมงกว่า ๆ จากนั้นออกไปตามบ้านนอก จะมีวัดอยู่ 8 วัด ตั้งอยู่ตามอำเภอต่าง ๆ"

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย Cr. Kanok Shokjaratkul

  • คนไทยปัจจุบันเปิดกว้าง นับถือทุกสิ่งศักดิ์สิทธิ์

จะว่าไปแล้ว คนไทยไม่ได้นับถือพุทธศาสนาอย่างเดียว

"ผมมีความพึงพอใจมากที่เป็น ผี พราหมณ์ พุทธ ผมรู้สึกว่าผมเป็นมิตรกับทุกคน ไม่กีดกันใครออก

ผมไปวัดพุทธผมกราบด้วยความเคารพนอบน้อมอย่างถึงที่สุด ผมไปฝั่งฮินดูเทพเจ้าทั้งหลายก็เป็นมิตรกันเรารักกัน

ผมไปศาลผีประเพณีชาวบ้านไหว้ผีปู่ตายาย ผมเคารพเขาในฐานะบรรพชน ผมไหว้เจ้าไหว้อากงอาม่าผม ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร

เปิดที่มา ‘พระพิฆเนศ’ ก่อนจะเป็น ‘กาเนชา’ อาร์ตทอย Cr. Kanok Shokjaratkul

เรื่องพวกนี้อยู่ที่เรา ใครจะนับถืออะไรแล้วแต่เขา ตราบใดที่มันไม่ไปละเมิดกฎหมาย ไม่ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพคนอื่น 

สุดท้ายสังคมก็จะเติบโตไปเอง ผมเป็นอาจารย์ พอสำรวจนักศึกษาว่า ใครนับถือศาสนาอะไร ส่วนใหญ่ไม่นับถือศาสนาอะไรแล้ว มันเป็นเรื่องความลื่นไหลของวัฒนธรรมต่าง ๆ

นี่คือสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ ดูความเปลี่ยนแปลงไป อย่ากังวล"