‘Intersex’ หรือ ‘เพศกำกวม’ คืออะไร ? แตกต่างจาก ‘ทรานส์เจนเดอร์’ ตรงไหน ?

‘Intersex’ หรือ ‘เพศกำกวม’ คืออะไร ? แตกต่างจาก ‘ทรานส์เจนเดอร์’ ตรงไหน ?

“เพศกำกวม” (Intersex) จึงมีความแตกต่างจาก “คนข้ามเพศ” (Transgender) โดยข้อแตกต่างสำคัญคือ คนข้ามเพศมีเอกลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากที่มีตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่คนที่มีเพศกำกวมเกิดมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพตามกายวิภาคทางเพศหรือการสืบพันธุ์

KEY

POINTS

  • เพศกำกวม” (Intersex) เป็นคนที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพแตกต่างจากปรกติ จนไม่สามารถระบุเพศที่ชัดเจนได้ 
  • คนข้ามเพศ” (Transgender) หมายถึงผู้ที่ได้รับการแปลงเพศตามที่ต้องการซึ่งรู้สึกพึงพอใจกับอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender identity) ที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิดของตน
  • เพศกำกวม” แตกต่างจาก “คนข้ามเพศ” เพราะ คนข้ามเพศมีเอกลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากที่มีตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่คนที่มีเพศกำกวมเกิดมาพร้อมลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความทั่วไปของ “ผู้ชาย” หรือ “ผู้หญิง”

Intersex” กลายเป็นหนึ่งในคำที่พูดถึงในการแข่งขัน “โอลิมปิก 2024” หลังจากการขึ้นชกมวยสากลสมัครเล่นหญิงในรุ่นน้ำหนักไม่เกิน 66 กิโลกรัม ระหว่าง “อีมาน เคลิฟ” จากแอลจีเรีย กับ “แองเจลา คารินี” ทีมชาติอิตาลี โดยเคลิฟชกคู่ต่อสู้เข้าที่จมูกสองครั้ง ทำให้คารินีตัดสินใจถอนตัวตั้งแต่ยังไม่ครบนาทีของยกแรก ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่วโลก

หลายคนเข้าใจ เคลิฟเป็น “ทรานส์เจนเดอร์” (Transgender) หรือ “คนข้ามเพศ” เพราะเมื่อปี 2023 เคลิฟไม่ผ่านการทดสอบ “คุณสมบัติทางเพศ” ในปี 2023 ที่พบว่าเธอมีฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศชายอยู่ในระดับสูง และสหพันธ์มวยสมัครเล่นนานาชาติ (IBA) อ้างว่าจากการตรวจดีเอ็นเอ พบว่า โครโมโซมในลักษณะ XY ซึ่งเป็นโครโมโซมบ่งบอกว่าเป็นเพศชาย

คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) อธิบายว่าเป็น “การตัดสินใจดังกล่าว เป็นการทำโดยพลการ ดำเนินการโดยไม่มีขั้นตอนที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาว่า นักกีฬา (เคลิฟ) เคยแข่งขันในระดับสูงสุดมานานหลายปี” ซึ่งทำให้เธอสามารถเข้าแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนี้ได้

อย่างไรก็ตาม เคลิฟไม่ได้ระบุว่าตัวเองเป็นคนข้ามเพศ แต่เธอเป็น “ซิสเจนเดอร์” (Cisgender) คือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์ทางเพศตรงกับเพศแรกเกิด เพราะเธอถูกเลี้ยงดูมาเป็นเพศหญิงตั้งแต่แรกเกิด และมีอวัยวะเพศหญิงมาตั้งแต่กำเนิด ทุกวันนี้ก็ระบุได้ว่าเธอเป็น “ผู้หญิง” ทั้งในสูติบัตร บัตรประจำตัวประชาชน และพาสปอร์ต

ก่อนหน้านี้เคลิฟเคยเข้าแข่งขันการชกมวยในเวทีระดับโลกมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2018 รวมถึงโอลิมปิก 2020 แต่ก็ยังไม่เคยคว้าแชมป์รายการใด

‘Intersex’ หรือ ‘เพศกำกวม’ คืออะไร ? แตกต่างจาก ‘ทรานส์เจนเดอร์’ ตรงไหน ?

ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่า เคลิฟเกิดจากสภาวะที่เรียกว่าเพศกำกวม” (Intersex) เป็นคนที่เกิดมามีลักษณะทางกายภาพแตกต่างจากปรกติ จนไม่สามารถระบุเพศที่ชัดเจนได้ ซึ่งอาจมีอวัยวะเพศที่ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง อาจจะมีทั้ง 2 เพศอยู่ในที่เดียวกัน

โดยทั่วไปเพศกำกวมสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแท้ หมายถึง เด็กหรือบุคคลคนนั้นมีฮอร์โมนทั้ง 2 ประเภท หรือมีต่อมฮอร์โมนทั้ง 2 เพศ โดยมีทั้งรังไข่ และลูกอัณฑะในคน ๆ เดียวกัน

อีกประเภทเทียมมีฮอร์โมนหรือต่อมฮอร์โมนประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น ประเภทหญิงก็ประเภทหญิง ประเภทชายก็ประเภทชายอย่างเดียว แต่ลักษณะของอวัยวะเพศที่ปรากฏนั้นไม่ สามารถบอกได้ว่าเป็นเพศใด

จากข้อมูลของสถาบันจีโนมมนุษย์แห่งชาติของสหรัฐ ระบุว่า เพศของบุคคลถูกกำหนดโดยโครโมโซมเพศ ซึ่ง เพศชายจะมีโครโมโซม X และ Y ส่วนเพศหญิงจะมีมีโครโมโซม XX บนพื้นฐานนี้เองที่สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ดังนั้นคนเพศกำกวมอาจมีโครโมโซมเพศหญิงแต่ไม่ชัดเจนกับอวัยวะเพศที่ปรากฏของผู้ชาย หรือโครโมโซมของผู้ชายแต่ไม่ชัดเจนกับอวัยวะเพศที่ปรากฏของผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม ในกรณีของคนเพศกำกวม โครโมโซมสามารถผสมกันได้หลายวิธี ซึ่งอาจไม่สามารถสังเกตได้จนกว่าจะเข้าวัยแรกรุ่น แต่บางคนก็ไปปรากฏช่วงบั้นปลายของชีวิต และบางส่วนไม่เคยถูกค้นพบเลย ดังนั้นการอธิบายแนวคิดนี้จึงเป็นเรื่องยากและซับซ้อน

‘Intersex’ หรือ ‘เพศกำกวม’ คืออะไร ? แตกต่างจาก ‘ทรานส์เจนเดอร์’ ตรงไหน ?

ตามที่ สมาคมเพศกำกวมแห่งอเมริกาเหนือ เขียนไว้เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วว่า “ธรรมชาติไม่ได้เป็นคนตัดสินว่าจะสิ้นสุดการเป็นผู้ชายเมื่อไหร่ และจะเริ่มเข้าสู่เพศกำกวมเมื่อใด หรือเพศกำกวมจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ และจะเริ่มเป็นผู้หญิงเมื่อใด มนุษย์เป็นผู้ตัดสินใจ

​​ในกรณีส่วนใหญ่ ลักษณะเหล่านี้จะไม่เป็นอันตรายโดยสิ้นเชิง และคนเพศกํากวมสามารถมีชีวิตที่มีความสุข มีสุขภาพดีได้โดยแทบไม่มีการแทรกแซงทางการแพทย์เลยหรือแทบไม่มีเลย แต่ก็มีพ่อแม่บางคนเลือกที่จะ “แก้ไข” ทารกที่มีเพศกํากวมด้วยการผ่าตัด เพื่อเปลี่ยนขนาดหรือรูปลักษณ์ของอวัยวะเพศก่อนที่เด็กจะโตพอที่จะยินยอม

การผ่าตัดเหล่านี้อาจทำให้ผู้เข้ารับการผ่าตัดสูญเสียความรู้สึกทางเพศ ในขณะที่การนำอัณฑะและรังไข่ออก ส่งผลให้เกิดการทำหมันโดยไม่สมัครใจ ซึ่งอาจต้องได้รับการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต กลุ่มเพศกำกวมเรียกร้องให้ยุติปฏิบัติการเหล่านี้มานานแล้ว โดยชี้ว่าปฏิบัติการเหล่านี้มีอัตราภาวะแทรกซ้อนสูง และอาจนำไปสู่ปัญหาทางร่างกายและจิตใจอันเจ็บปวดในชีวิตบั้นปลายได้

ดังนั้น “เพศกำกวม” (Intersex) จึงมีความแตกต่างจาก “คนข้ามเพศ” (Transgender) โดยข้อแตกต่างสำคัญคือ คนข้ามเพศมีเอกลักษณ์ทางเพศที่แตกต่างจากที่มีตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่คนที่มีเพศกำกวมเกิดมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพตามกายวิภาคทางเพศหรือการสืบพันธุ์ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สอดคล้องกับคำจำกัดความทั่วไปของ “ผู้ชาย” หรือ “ผู้หญิง”

คนข้ามเพศ หมายถึงผู้ที่ได้รับการแปลงเพศตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นบุคคลที่รู้สึกพึงพอใจกับอัตลักษณ์ทางเพศ (Gender identity) ที่ตรงข้ามกับเพศกำเนิดของตน ซึ่งมักจะหมายถึงผู้ที่ได้รับการแปลงเพศที่ตัวเองต้องการแล้ว ซึ่งเเบ่งออกเป็น “Male to female Transgender” (MtF) คือ ผู้หญิงที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศชายเรียบร้อยแล้วหรือเรียกว่า “ผู้หญิงข้ามเพศ” (transwoman) อีกทั้งยังมี “Female to Male Transgender” (FtM) คือ ผู้ชายที่ได้รับการแปลงเพศมาจากเพศหญิงเรียบร้อยแล้วหรือเรียกว่า “ผู้ชายข้ามเพศ” (transman)


ที่มา: asThe Pink NewsWired