SMEs เอาตัวรอดได้อย่างไร ในช่วงโควิด-19
หลักการระดับย่อมว่าด้วยการเอาตัวรอดของธุรกิจ SMEs ในช่วงสถานการณ์โควิด-19
สถานการณ์ โควิด-19 ยาวนานนับเดือน ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อคนทุกกลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะผู้ประกอบการธุรกิจ SME ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย เป็นแหล่งการจ้างงานหลักของประเทศ
แม้ก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะมี มาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ส่วนหนึ่ง แต่การเดินตามนโยบายที่ภาครัฐจัดสรรมาให้อย่างเดียว คงไม่เพียงพอต่อการอยู่รอดแน่ๆ หากแต่ต้องเป็นฝั่งของบรรดาผู้ประกอบการ ธุรกิจ SME เอง ที่ต้องมีกลยุทธ์ปรับตัวให้ตัวเองยังอยู่ได้ หากอยากจะได้ไปต่อในสถานการณ์ โควิด-19 เช่นนี้
หารายได้ทดแทน
อย่าแปลกใจถ้าธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าจะกลายมาเป็นผู้ผลิตหน้ากากอนามัย โรงงานเครื่องสำอางจะเปลี่ยนไลน์การผลิต หรือร้านอาหารหรูที่เคยต้องต่อคิวยาวเหยียดจะมีโปรโมชั่นส่งให้ฟรีถึงบ้าน เพราะทั้งหมดที่ว่ามานี้คือการอธิบายรูปธรรมของการหารายได้ทดแทนโดยการปรับรูปแบบธุรกิจ ซึ่งเปรียบเสมือนเป็น ‘ท่าบังคับ’ ที่แต่ละธุรกิจต้องทำ
สำหรับธุรกิจ SMEs ที่สายป่านทางการเงินไม่ยาวเหมือนใครเขา การ ‘หาเงินสดหมุนเวียน’ คือสิ่งจำเป็นมากๆ และ ถึงวันนี้เราคงหมดเวลาที่จะเสียใจหรือรอมาตรการใดๆจากรัฐบาลอีกแล้ว แต่การสร้างบริการ หาตลาดและช่องทางการขายใหม่ต่างหากที่จะเป็นทางรอดเพื่อทดแทนรายได้เก่าที่ต้องชะงักไป และการหารายได้ทดแทนจะด้วยประเภทธุรกิจใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ ช่องทางใหม่ๆ คือสิ่งที่จำเป็นความอยู่รอดของธุรกิจในระยะสั้น แถมยังเป็นการสร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโตขึ้นในระยะยาวอีกด้วย
ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น
วินัยการเงินของ ธุรกิจ SMEs ในยามนี้ ไม่ต่างอะไรจากกับการบริหารเงินส่วนบุคคลช่วงโควิด-19
ผู้ประกอบการคงอย่ารอให้เลือดไหลหมดตัวถึงค่อยคิด เพราะวันนี้ธุรกิจต้องวิเคราะห์ต้นทุนเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้ยังรวมถึงการเลื่อนก่อหนี้ลงทุนทั้งระยะสั้น กลาง หรือยาวไว้ก่อน เพื่อไม่ให้ธุรกิจต้องมีภาระในวันที่อะไรก็ไม่แน่นอน แล้วค่อยมาคิดถึงการลงทุนหลังจากรอดวิกฤตินี้ไปได้
บริหารเงินสด
เงินสดคือสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจ SMEs และการบริหารกระแสเงินสดที่หมุนเวียนเข้าออกก็เป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจโดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ที่ไม่ปกติเช่นตอนนี้
เจ้าของธุรกิจต้องรู้ว่าธุรกิจมีเงินสดอยู่เท่าไร และถ้าคิดในสถานการณ์แย่ที่สุด (Worst Case) เรามีกำลังพอที่จะจ่ายเงินออกไปได้นานแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่า ค่าแรงพนักงาน วัตถุดิบ ฯลฯ เพื่อที่เราจะได้ทราบถึงจำนวนรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงจินตนาการถึงวันที่แย่ที่สุด เพื่อดูว่าเราจะพิจารณาจากนั้นต่อไปอย่างไรในอนาคต
จากนั้นก็ต้องถือเงินสดในจำนวนที่เหมาะสมซึ่งหมายถึงการมีเงินสดเพียงพอต่อการหมุนเวียนไม่น้อยจนติดขัดขาดสภาพคล่อง
สำหรับธุรกิจ SMEs ใด ที่มีกระแสเงินสดไม่เพียงพอหมุนเวียน จำเป็นต้องจัดหาเงินมาเติม เจรจากับคู่ค้าเพื่อลดการซื้อ-ขาย แบบสินเชื่อ หรืออาจจำเป็นต้องหาเงินทุนด้วยการกู้ยืมเงินจากสถาบันต่างๆ เช่น สินเชื่อ บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด
เงินสดในยามวิกฤติคือสิ่งจำเป็นมากสำหรับธุรกิจ SMEs เพราะไม่ใช่แค่การเตรียมสำรองไว้ในช่วงที่โควิด-19 ลากยาวเพียงเท่านั้น แต่เป็นการสำรองไว้ในสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ หลังจากนี้อีก ผู้ประกอบการจึงควรมีเงินสดหรือทรัพย์สินที่ซื้อง่ายขายคล่องสำรองเตรียมพร้อมไว้เสมอ เผื่อวันใดที่จำเป็นต้องใช้ประคับประคองให้ธุรกิจ
ทั้งหมดอาจไม่ใช่คัมภีร์ตายตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นหนึ่งในวิธีการประคองตัวในสถานการณ์เช่นนี้ และยังเป็นหนทางที่จะได้ไปต่อในวันที่สถานการณ์ดีขึ้น อย่าลืมว่าฟ้าหลังฝนสดใสเสมอ และกรุงเทพธุรกิจออนไลน์พร้อมเป็นกำลังใจให้
สนใจบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่างๆ คลิก
บัตรกดเงินสด คลิก
บัตรกดเงินสด KTC คลิก