รู้จักประเภท ‘รถทัวร์’ เลือกนั่งไปเที่ยวยังไงไม่ให้สับสน

รู้จักประเภท ‘รถทัวร์’ เลือกนั่งไปเที่ยวยังไงไม่ให้สับสน

ชวนทำความรู้จัก "รถทัวร์" หรือรถบัสโดยสารสาธารณะในประเทศไทย ว่ามีกี่ประเภท? อะไรบ้าง? พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของ "รถทัวร์" ประเภทต่างๆ เพื่อช่วยให้คุณสามารถเลือกจองตั๋วรถได้อย่างตรงใจ

กางปฏิทินเห็นวันหยุดยาวทีไร กิจกรรมยอดฮิตของคนไทยคงหนีไม่พ้นการเดินทาง "ท่องเที่ยว" เปลี่ยนบรรยากาศ ไม่ว่าจะเที่ยวในกรุงเทพฯ หรือเที่ยวต่างจังหวัดก็ตาม โดยเฉพาะเดือนกรกฎาคมนี้ พบว่ามีวันหยุดนักขัตฤกษ์หลายวัน เช่น วันอาสาฬหบูชา วันเข้าพรรษา เมื่อพ่วงวันหยุดประจำสัปดาห์เข้าไปอีก ก็ทำให้ภายในเดือนกรกฎาคมมีวันหยุดยาวถึง 4 วัน คือวันที่ 4-7 กรกฎาคม 2563 (วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันหยุดชดเชยเพิ่มเติมตามมติ ครม.)

หลังจากรู้แล้วว่าเดือนนี้ได้หยุดยาว 4 วัน สำหรับคนที่ชอบเที่ยวขั้นตอนต่อไปก็คือ การเลือกสถานที่ท่องเที่ยวและวางแผนเดินทาง และเมื่อพูดถึงวิธี "การเดินทาง" หลายคนย่อมอยากได้การเดินทางที่สะดวกสบาย ปลอดภัย และราคาไม่แพงจนเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือมีรถแต่ไม่สะดวกขับรถด้วยตนเอง ยิ่งต้องวางแผนเรื่อง "การเดินทาง" ให้รัดกุม หนึ่งวิธีเดินทางที่สะดวกสบายและราคาประหยัดก็คือการใช้บริการ "รถทัวร์"

ปัจจุบันนี้การให้บริการ "รถทัวร์" เพื่อเดินทางข้ามจังหวัดในระยะไกลนั้นถูกพัฒนาการบริการดีขึ้นกว่าแต่ก่อน และยังคงมีราคาสบายกระเป๋า แถมมีผู้ให้บริการหลากหลายเจ้า แต่หลายคนก็มักพบปัญหากวนใจทุกครั้งก่อน "จองตั๋วรถทัวร์" เช่น เลือกซื้อตั๋วไม่ถูกเพราะสับสนประเภทของรถทัวร์ เป็นต้น วันนี้ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ เลยอยากชวนคุณไปรู้จัก "รถทัวร์" ประเภทต่างๆ  พร้อมเปรียบเทียบความแตกต่างของรถทัวร์แต่ละประเภท เอาไว้เป็นไกค์เพื่อให้จองตั๋วรถทัวร์ได้ง่ายขึ้น

159361043442

  • รถทัวร์มีกี่ประเภท? อะไรบ้าง?

ใครที่ยังสงสัยเกี่ยวกับการจองตั๋ว "รถทัวร์" ต้องเข้ามาอ่านตรงนี้ด่วนๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโทรจองกับบริษัทต่างๆ พนักงานจะพูดรัวเร็วและมักใช้ตัวย่อ จนบางทีคนฟังก็งงไปหมด ทั้งนี้ พ.ร.บ. การขนส่งในหมวดการขนส่งผู้โดยสารแบ่งประเภทรถออกเป็น 7 มาตรฐาน คือ

มาตรฐาน 1 รถปรับอากาศพิเศษ

มาตรฐาน 2 รถปรับอากาศ

มาตรฐาน 3 รถที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ

มาตรฐาน 4 รถสองชั้น

มาตรฐาน 5 รถพ่วง

มาตรฐาน 6 รถกึ่งพ่วง

มาตรฐาน 7 รถโดยสารเฉพาะกิจ

โดยมาตรฐานรถที่บริษัทขนส่งผู้โดยสารนิยมใช้กันมี 3 ประเภท คือ รถปรับอากาศพิเศษ, รถปรับอากาศ, รถสองชั้น

โดยมาตรฐานรถที่บริษัทขนส่งผู้โดยสารนิยมใช้ก็มีเพียง 3 ประเภท คือ มาตรฐาน 1 รถปรับอากาศพิเศษ มาตรฐาน 2 รถปรับอากาศ และมาตรฐาน 4 รถสองชั้น

  • มาตรฐาน 1 รถปรับอากาศพิเศษ หรือ รถ ม.1

เริ่มจาก "รถทัวร์" ที่เรียกว่ารถมาตรฐาน 1 หรือใช้ตัวย่อว่า ม.1 คือรถทัวร์โดยสารที่มีชั้นเดียว และมีจำนวนเบาะน้อยกว่ารถประเภทอื่นๆ ทำให้รถประเภทนี้มีพื้นที่และความเป็นส่วนตัวมากกว่า โดยรถ ม.1 ก็มีการแบ่งประเภทแยกย่อยออกไปอีก ได้แก่ 

.1 : รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีการกำหนดห้องผู้โดยสารเป็นสัดส่วนแยกจากห้องผู้ขับรถ มีทางขึ้นทางลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ ไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ มีที่เก็บสัมภาระไว้โดยเฉพาะ มีที่เตรียมอาหารและเครื่องดื่ม มีอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และมีห้องสุขภัณฑ์ มีที่วางแขนเฉพาะแยกแต่ละที่นั่ง ปรับเอนได้ 135 องศาฯ ระยะห่างระหว่างเบาะไม่น้อยกว่า 90 ซม. จัดที่นั่งแถวละไม่เกิน 3 ที่นั่ง

.1 : รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีการกำหนดห้องผู้โดยสารเป็นสัดส่วนแยกจากห้องผู้ขับรถ มีทางขึ้นทางลงด้านข้างหรือที่ด้านท้ายของรถ ไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ มีที่เก็บสัมภาระไว้โดยเฉพาะ มีที่เตรียมอาหารและเครื่องดื่ม มีอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และมีห้องสุขภัณฑ์ มีระยะห่างระหว่างเบาะไม่น้อยกว่า 75 ซม.

159361045715

  • มาตรฐาน 2 รถปรับอากาศ หรือ รถ .2

เป็น "รถทัวร์" โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งเกิน 30 ที่นั่ง มีชั้นเดียว ทางขึ้นลงด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ ส่วนพื้นที่สำหรับเก็บสัมภาระ ที่เตรียมอาหารเครื่องดื่ม และอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่มีห้องสุขภัณฑ์ ทั้งนี้ส่วนใหญ่แล้วรถประเภทนี้จะเป็นรถที่เราคุ้นเคยกันอย่างรถเมล์ต่างๆ ที่ใช้โดยสารในกรุงเทพฯ แต่ก็มีบางบริษัทที่เอามาใช้โดยสารข้ามจังหวัดเช่นกัน   โดยรถ ม.2 มีการแบ่งย่อยเป็นอีกหลายประเภท ดังนี้

.2 : มีเครื่องปรับอากาศ มากกว่า 30 ที่นั่ง มีที่เตรียมอาหาร ไม่มีที่ยืน

.2 : มีเครื่องปรับอากาศ มากกว่า 30 ที่นั่ง ไม่มีที่เตรียมอาหาร มีที่ยืน

.2 : มีเครื่องปรับอากาศ มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 21 ถึง 30 ที่นั่ง มีที่เตรียมอาหารหรือไม่ก็ได้ ไม่มีที่ยืน

.2 : มีเครื่องปรับอากาศ มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 21 ถึง 30 ที่นั่ง ไม่มีที่เตรียมอาหาร มีที่ยืน

.2 : รถตู้ มีที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง ไม่มีที่ยืน

  • มาตรฐาน 4 รถสองชั้น หรือ รถม.4

เป็น "รถทัวร์" ขนส่งมวลชนสาธาระแบบ 2 ชั้น แบ่งเป็น

.4 : รถสองชั้นปรับอากาศพิเศษ ซึ่งมีรูปแบบและการจัดวางที่นั่งของผู้โดยสารที่ให้ความสะดวกสบาย  ไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ มีที่เก็บสัมภาระไว้โดยเฉพาะ มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม มีอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และมีห้องสุขภัณฑ์ ระยะห่างระหว่างเบาะไม่น้อยกว่า 90 ซม. จัดที่นั่งแถวละไม่เกิน 3 ที่นั่ง

.4 : รถสองชั้นปรับอากาศ ไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ มีที่เก็บสัมภาระไว้โดยเฉพาะ มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม มีอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์ และมีห้องสุขภัณฑ์ ระยะห่างระหว่างเบาะไม่น้อยกว่า 75 ซม.

.4 : รถสองชั้นปรับอากาศ ไม่กำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ แต่ไม่มีห้องสุขภัณฑ์ ส่วนที่เก็บสัมภาระ ที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้

.4 : รถสองชั้นปรับอากาศ ซึ่งชั้นล่างกำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีเครื่องปรับอากาศ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์ สำหรับที่เก็บสัมภาระและอุปกรณ์ให้เสียงและประชาสัมพันธ์นั้น จะมีหรือไม่ก็ได้

.4 : รถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารที่มีจำนวนที่นั่งตั้งแต่ 13 - 24 ที่นั่ง มีทางขึ้นลงด้านข้างหรือด้านท้ายของรถ จะกำหนดที่สำหรับผู้โดยสารยืนหรือไม่ก็ได้ และจะมีที่เก็บสัมภาระด้วยหรือไม่ก็ได้

.4 : รถสองชั้นที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่กำหนดให้มีที่สำหรับผู้โดยสารยืน มีที่เก็บสัมภาระ แต่ไม่มีที่สำหรับเตรียมอาหารและเครื่องดื่ม และห้องสุขภัณฑ์

กล่าวโดยสรุป ก็คือ

รถ .1 เป็นรถทัวร์ชั้นเดียว มีจำนวนเบาะน้อยกว่ารถประเภทอื่นๆ ทำให้รถประเภทนี้มีพื้นที่และความเป็นส่วนตัวมากกว่า

รถ .2 เป็นรถทัวร์ชั้นเดียว ส่วนใหญ่แล้วนิยมนำไปโดยสารระยะใกล้ เช่น รถเมล์ในกรุงเทพฯ

รถ .4 เป็นรถทัวร์สองชั้น ให้ความสะดวกสบายใกล้เคียงกับรถ .1 ต่างกันที่จำนวนชั้น

  • บริษัทขนส่งยอดฮิต มีรถประเภทอะไรบ้าง?

บริษัทขนส่งผู้โดยสารส่วนใหญ่นั้นมักจะตั้งชื่อรถให้มีความโดดเด่นเฉพาะตัว รวมถึงการจัดประเภทรถตามนโยบายของแต่ละที่ เราจึงรวบรวมรถของ 3 บริษัทยอดฮิตมาให้พิจารณากันว่ามีบริการ "รถทัวร์" ประเภทไหนบ้าง? โดยเรียงลำดับจากความนั่งสบายมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด

1. สมบัติทัวร์

ประเภท Supreme = ม.4 ก

ประเภท Super = ม.1

ประเภท Star = ม.4 ข

2. นครชัยแอร์

Gold Class (VIP) = ม.1 ก

First Class = ม.1 ข

3. บขส. 999

ม.1 (ก) vip

ม.4 (ก) vip

ม.4 (พ)

ม.1 (ข)

ม.4 (ข)

ม.4 (ค)

ม.2